‘อิหร่าน’ บุกเบิกเกษตรข้ามพรมแดน รักษาความมั่นคงทางอาหาร สู้ความแห้งแล้ง

วิกฤตขาดแคลนอาหารของโลกทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นจากสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน เพราะนอกจาก 2 ประเทศนี้จะมีบทบาทอย่างมากกับอุตสาหกรรมพลังงานโลกแล้ว ยังเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรรายใหญ่ของโลก (หลัก ๆ คือ ข้าวสาลี น้ำมันดอกทานตะวัน และปุ๋ย) ดังนั้นการสู้รบที่เกิดขึ้น ทำให้การเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยวผลผลิตต่าง ๆ เช่น ข้าวสาลีและข้าวโพดทำได้ยากขึ้นจึงเกิดผลกระทบต่อการผลิตอาหารทั่วโลก

นี่เป็นหนึ่งในแรงกระตุ้นที่ทำให้ความขาดแคลนรุนแรงขึ้น จนว่ากันว่า อาจนำไปสู่การเกิดวิกฤติที่เรียกว่า The Great (Food) Shortage หรือภาวะขาดแคลนอาหารครั้งใหญ่ของโลก

และเมื่อย้อนกลับไปดูวิกฤตขาดแคลนอาหาร ‘Business+’ พบข้อมูลว่าจริง ๆ แล้วโลกของเราได้เผชิญกับภาวะขาดแคลนมาโดยตลอด และชัดเจนในปี 2564 จากการรายงานของสหประชาชาติ (UN) พบว่ามีจำนวนผู้คนที่อดอยากในแต่ละวันพุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์

โดยสาเหตุหลัก ๆ มาจากภาวะโลกร้อนทำให้สภาพอากาศในหลายประเทศแปรปรวนอย่างหนัก ดังนั้นการเพาะปลูกพืชทางเศรษฐกิจในหลาย ๆ ประเทศจึงเกิดความเสียหายที่ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำลง

และยิ่งไปกว่านั้นคือ UN เตือนว่าในปี 2565 ตัวเลขความขาดแคลนนี้จะพุ่งแตะสถิติใหม่
เพราะความขัดแย้งจากสงครามจะทำให้การส่งออกสินค้าหยุดชะงักและส่งผลให้ราคาอาหารแพงขึ้น (ผู้คนเข้าถึงอาหารได้น้อยลง)

เมื่อประสบกับปัญหาขาดแคลนอาหาร เป็นสาเหตุที่ทำให้หลายๆ ประเทศต้องหาแนวทางที่จะรักษาความมั่นคงด้านอาหารให้กับคนในประเทศ โดยเฉพาะในช่วงที่ผลผลิตทางการเกษตรในประเทศขาดแคลนตามฤดูกาล นั่นทำให้รัฐบาลเลือกที่จะทำการเกษตรข้ามพรมแดนในต่างประเทศ

อิหร่านเป็นหนึ่งในประเทศที่เริ่มขาดแคลนสินค้าเกษตรและอาหารที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่นข้าว ข้าวสาลี พืชน้ำมัน อย่างชัดเจน และรัฐบาลได้เลือกใช้วิธีแก้ไขความขาดแคลนอาหารในประเทศ ด้วยการเช่าพื้นที่ของต่างประเทศ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ และสภาพอากาศเหมาะสมมากกว่า ซึ่งเราเรียกโครงการนี้ว่า “การเกษตรข้ามพรมแดนในต่างประเทศ”

โดยโครงการนี้เกิดขึ้นเพื่อความมั่นคงทางอาหารของอิหร่าน ด้วยพื้นที่ทางการเกษตรที่ไม่เหมาะสมและปริมาณน้ำฝนที่ลดน้อยลงทุกๆ ปีในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา

เพราะอิหร่านเป็นประเทศที่มีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนแห้งด้วยปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีเพียง 250 มิลิเมตร มีพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเกษตรเพียง 50 ล้านเฮ็กตาร์ ทำให้ปัจจุบันมีพื้นที่ที่สามารถเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรได้จริงเพียง 112,500,000 ไร่ ให้ผลผลิตทางการเกษตรรวมประมาณ 133 ล้านตัน ซึ่งไม่พียงพอต่อความต้องการ

ดังนั้น ในปีงบประมาณที่ผ่านมา (มีนาคม 2564-มีนาคม 2565) อิหร่านจึงมีความจำเป็นต้องน้าเข้าสินค้าเกษตรที่จำเป็นพื้นฐานปริมาณสูงถึง 30 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.9 หมื่นล้านเหรียญฯ โดยสินค้าที่น้าเข้าหลักประกอบด้วย ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวบาร์เล่ พืชน้้ามัน น้้ามันพืช และถั่วเหลือง ซึ่งเป็นมูลค่าที่ค่อนข้างสูงหากเปรียบเทียบกับยอดรวมของการนำเข้าทั้งปีที่ประมาณ 5.2 หมื่นล้านเหรียญฯ

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการหาทางออกให้กับปัญหาการขาดแคลนสินค้าและผลผลิตทางการเกษตรที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชากรจำนวนกว่า 85 ล้านคน การเช่าพื้นที่เพาะปลูกสินค้าเกษตรแปลงใหญ่ในต่างประเทศผ่านโครงการเกษตรข้ามพรมแดน หรือ Cross Country Cultivation Projects จึงเป็นโครงการที่รัฐบาลให้ความสำคัญและให้การส่งเสริมและสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพื่อวัตถุประสงค์ในการแสวงหาแหล่งผลิตสินค้าเกษตรและอาหารทดแทนผลผลิตภายในประเทศที่ประสบภาวะความแห้งแล้งและผลผลิตลดลง

โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่มาตรการคว่ำบาตรและปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนได้ส่งผลให้อิหร่านขาดแคลนสินค้าเกษตรและอาหาร ส่งผลให้ราคาในประเทศพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ซึ่งน้าไปสู่ปัญหาสังคมที่ตามมารวมถึงการประท้วงด้านราคาในหลายๆ เมืองทั่วประเทศ

เมื่อเร็วๆ นี้รัฐบาลอิหร่านได้ประกาศความสำเร็จในการเจรจาเช่าพื้นที่เพาะปลูกสินค้าเกษตรกับประเทศเวเนซุเอล่าที่นำไปสู่การส่งมอบพื้นที่เปล่าจ้านวน 1 ล้านเฮกตาร์ให้กับอิหร่านในการด้าเนินโครงการดังกล่าว รวมถึงพื้นที่ขนาด 1 แสนเฮกตาร์ที่ได้รับมอบจากรัสเซียไปแล้วก่อนหน้านั้น ในทางปฎิบัติ รัฐบาลอิหร่านจะไม่เป็นผู้ด้าเนินการเองแต่จะ
มอบพื้นที่เหล่านี้ให้กับภาคเอกชนที่มีความชำนาญด้านการเกษตรทำการเพาะปลูกสินค้าเกษตรในที่ดินที่ได้รับมอบหมายนั้นๆ โดยจะสนับสนุนเงินกู้เครื่องจักรและเทคโนโลยีทางการเกษตรปุ๋ย และอัตราแลกเปลี่ยนอนุเคราะห์

พร้อมรับซื้อผลผลิตจากภาคเอกชนรายนั้นๆ แทนการนำเข้าจากแหล่งอื่นนอกจากการเพาะปลูกสินค้าเกษตรแล้ว รัฐบาลอิหร่านยังส่งเสริมให้มีการเลี้ยงสัตว์ด้วยในประเทศที่ภูมิประเทศเอื้ออำนวยและมีศักยภาพ เช่น บราซิล เป็นต้น

ที่ผ่านมามีภาคเอกชนอิหร่านเข้าร่วมและดำเนินโครงการในต่างประเทศแล้วรวม 7 บริษัทขนาดใหญ่ ได้รับจัดสรรพื้นที่รายละประมาณ 50,000-1,000,000 เฮกตาร์ โดยประเทศที่มีการด้าเนินกิจกรรมไปแล้วได้แก่ คาซักสถาน ทาจิกีสถาน จอร์เจีย ยูเครน (ข้าวสาลี ข้าวโพดและพืชน้้ามัน) กาน่า และอาเซอร์ไบจัน เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม โครงการเกษตรข้ามพรมแดนอาจมีปัญหาในบางประเทศ โดยเฉพาะหากเป็นประเทศที่อยู่ไกล จะทำให้เกิดต้นทุนที่สูงขึ้น (บางครั้งอาจสูงกว่าการนำเข้าเสียอีก) การเข้าไปเพาะปลูกด้วยพื้นที่น้อยๆ อาจไม่คุ้มค่า โดยเฉพาะในช่วงที่ค่าขนส่งพุ่งสูงขึ้นทั่วโลก

นอกจากนี้ในทางปฎิบัติโดยทั่วๆ ไปพบว่ายังมีปัญหาอยู่มากเนื่องจากประเทศที่เราเลือกเข้าไปลงทุนมีระยะทางไกลทำให้ค่าขนส่งเพิ่มขึ้น และประเทศทั้ง 2 ยังต้องรักษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นอย่างดี

นอกจากนี้หากเลือกประเทศที่มีการทำการเกษตรแปลงใหญ่อยู่แล้ว เช่น บราซิล การเข้าไปเพาะปลูกพืชเกษตรและเลี้ยงสัตว์ อาจทำให้ผู้ผลิตในประเทศมองว่าเป็นการเข้าไปแข่งขันกับผู้ประกอบการท้องถิ่น ดังนั้น ความจำเป็นในการนำเข้าสินค้าเหล่านี้ของอิหร่านในอนาคตจึงยังจะคงมีต่อไปเพราะนอกจากราคาถูกแล้วยังมีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่าการทำการเกษตรข้ามพรมแดนนั่นเอง

เขียนเรียบเรียง : พรรณรุ้ง คุ้มพงษ์พันธ์

ที่มา : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเตหะราน

ติดตาม Business+ ได้ที่ : https://www.thebusinessplus.com/
Line Business+ ได้ที่ : https://lin.ee/pbIHCuS
IG ได้ที่ : https://www.instagram.com/businessplus.newgen2021/

#Businessplus #Business+ #นิตยสารBusinessplus #อิหร่าน #ข้าว #ขาดแคลนอาหาร