“หากมองย้อนกลับไปเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว ใครจะรู้ว่าเราจะมีโทรศัพท์มือถือใช้ และเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว ใครจะรู้ว่าโทรศัพท์มือถือที่หน้าจอเป็นระบบจอสัมผัส (Touch Screen) จะมีจริง และวันนี้ใครจะคิดว่ามันจะพัฒนามาได้ไกลขนาดนี้…สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นผลลัพธ์ของ ‘นวัตกรรม’ ทั้งสิ้น”
“เมื่อตลาดตอบรับกับ iPhone อย่างเกินความคาดหมาย ด้วยการถือกำเนิดของหน้าจอที่เป็นระบบสัมผัส (Touch Screen) ที่ทำให้จอมีขนาดใหญ่กว่าโทรศัพท์มือถือระบบกดปุ่ม นอกจากนั้นระบบปฏิบัติการ iOS และ Android ก็ทำให้เกิดแอพพลิเคชัน (Application) มากมาย ส่งผลให้ลูกค้าสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้เกินกว่าที่จะเป็นเพียงแค่โทรศัพท์มือถือ
เรื่องเหล่านี้ คือผลจากการมองเห็นโอกาส รวมถึงความสามารถ ความร่วมมือกันทั้งภายใน ภายนอกองค์กร และการมองเห็นช่องทางในการก่อประโยชน์ให้กับองค์กรแล้วนำมาใช้เป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมขึ้น”
ภาพของการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน เรื่องนวัตกรรมได้กลายมาเป็นปัจจัยชี้ชะตาอนาคตขององค์กรว่าจะอยู่หรือจะไป เนื่องมาจากสภาพการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ความต้องการของลูกค้าในตลาดที่พัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง ประกอบกับการที่สินค้าและการบริการทุกอย่างมีวงจรชีวิตของมันและในวันหนึ่งมันก็จะหมดอายุลง
ด้วยเหตุผลดังกล่าวดิฉันเชื่อว่า หลากหลายองค์กรต่างพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นในองค์กร
อย่างไรก็ตาม ดังเช่นที่ดิฉันเคยกล่าวไว้ในบทความที่ผ่านๆ มา ดิฉันอยากย้ำว่าการมีความคิดสร้างสรรค์นั้นเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อองค์กร แต่การมีความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้หมายความว่า องค์กรของคุณมีนวัตกรรม เพราะนวัตกรรมที่แท้จริงคือ กระบวนการในการสรรสร้าง พัฒนา และสร้างมูลค่าในเชิงพาณิชย์ให้กับความคิด หรือไอเดียทีมีคุณค่า
นั่นหมายความว่า ไอเดียจะเป็นเพียงแค่ความคิดทั่วๆ ไป และยังจะไม่ได้กลายเป็นนวัตกรรม ตราบใดที่มันไม่ได้สร้างคุณค่าให้องค์กร และยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนมาเป็นเม็ดเงินได้ …
อริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทที่ปรึกษา เอพีเอ็ม กรุ๊ป
—– ติดตามบทความทั้งหมดได้ที่ นิตยสาร Business+ January 2015 Issue 311 —-