ผ่าแนวคิด “แรงงานระยะสั้น” (Micro Workers) รูปแบบแรงงานยุคใหม่ ที่ธุรกิจต้องสนใจ

ในยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วรูปแบบของการทำงานไม่ได้จำกัดอยู่แค่บริษัทฯ  อีกต่อไป ซึ่งในอนาคตจะได้เห็นแรงงาน (Micro Workers) ที่ทำงานได้ ขอแค่เพียงมี อินเทอร์เน็ต (Internet) คอมพิวเตอร์ (Computer) หรือ laptop ก็ทำงานได้ เพิ่มมากขึ้น…


highlight

  • ในอนาคตตลาดแรงงานจะปรับไปสู่งานในรูปแบบของ งานพาร์ทไทม์ ฟรีแลนซ์ หรืองานเอาท์ซอร์สต่าง ๆ มากขึ้น โดยใช้เทคโนโลยี และเครื่องมือต่างๆ เช่น Social Media, Virtual Reality หรือ Augmented Reality เข้ามาเสริมให้เกิดรูปแบบการทำงาน
  • ผู้ประกอบธุรกิจจำเป็นต้องให้ความสนใจในเทรนด์นี้ เนื่องจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วทำเกิดวงจรเทคโนโลยี (Technology Cycle) ที่สั้นลง อีกทั้งคนเจเนอเรชันซี (Generation Z) จะให้ความสำคัญกับเวลาส่วนตัวมากกว่าความก้าวหน้าในบริษัท ทำให้ตลาดงานเป็นสิ่งคาดเดาไม่ได้

Micro Workers จะเปลี่ยนวิถีชีวิตดิจิทัลในการทำงาน 

เรากำลังอยู่ในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และส่งผลต่อสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการใช้ชีวิต หรือรูปแบบการทำงาน ทั้งหมดเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายในการตอบสนองต่อความต้องการของตลาด และภาวะการแข่งขันทางเศรษฐกิจ

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเกิดขึ้นของนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ไม่ได้มาจาก บริษัทฯ ยักษ์ใหญ่ ของโลก แต่เกิดขึ้นจากกลุ่มคนที่มีแนวคิด และมองเห็นโอกาสในการหยิบเอาความต้องการของตลาด มาบวกกับเทคโนโลยี และพัฒนาต่อยอดสู่ธุรกิจรูปแบบใหม่ ๆ

อาทิ บริการรับสั่ง และส่งอาหาร หรือบริการแนะนำ และจองร้านอาหารดัง เป็นต้น ซึ่งหากมองในแง่มุมของเศรษฐกิจ การเกิดขึ้นของนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ช่วยสร้างการเจริญเติบโต และจะกลายเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศได้ในอนาคต

แต่การเปลี่ยนแปลงนี้ก็สร้างผลกระทบต่อรูปแบบในการดำเนินธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรม ด้วยเช่นกัน และทำให้ธุรกิจหลายแห่งจำเป็นต้องปิดตัวลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จะจะทำให้เกิดอัตราการว่างงานเพิ่มมากขึ้น และจะยิ่งชัดเจนมาขึ้นเม่ื่อเทคโนโลยี

อย่างปัญญาประดิษฐ์ (AI) รุกคืบไปทำงานในส่วนงานในหลาย ๆ ด้าน  ซึ่งจากการเปิดเผยจากสถาบันระหว่างประเทศแมคเคนซี ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษา ได้ออกมาเผยผลสำรวจว่า ผลกระทบจากหุ่นยนต์ และคอมพิวเตอร์ 

ภายในปี พ.ศ.2573 หรืออีก 12 ปีจากนี้ การพัฒนาของระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถเรียนรู้ได้จะส่งผลทำให้มีคนตกงานทั่วโลก 800 ล้านตำแหน่ง โดยคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 1 ใน 5 ของตลาดแรงงานโลก!

Micro Workers

สถาการณ์เช่นนี้ทำให้คาดว่าในอนาคตตลาดแรงงานจะปรับไปสู่งานในรูปแบบของ งานพาร์ทไทม์ ฟรีแลนซ์ หรืองานเอาท์ซอร์สต่าง ๆ มากขึ้น แต่ถึงจะเป็นเช่นนั้นก็ไม่ได้หมายความบุคคลในกลุ่มดังกล่าวจะเป็นบุคคลที่ด้อยความสามารถในการทำงาน

เพราะมีประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญ อยู่แล้วเป็นทุนเดิม แต่เพียงรูปแบบที่จะเห็นนับจากนี้คือรูปแบบการทำงานเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยเปลี่ยนไปทำงานลักษณะการทำงานระยะสั้น (Micro Work)

กล่าวคือเมื่อเสร็จจากงาน ๆ หนึ่งแล้วก็สามารถเริ่มทำงานใหม่ หรือทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน โดยใช้เทคโนโลยี และเครื่องมือต่างๆ เช่น Social Media, Virtual Reality หรือ Augmented Reality เข้ามาเสริมให้เกิดรูปแบบการทำงานที่ง่ายขึ้น

และหากมองในแง่ของผู้ว่าจ้าง หรือเจ้าของกิจการ ก็สามารถมองหาผู้ที่มีทักษะการทำงานเฉพาะด้านและตรงกับโจทย์ความต้องการองค์กร โดยสามารถจ้างงานผ่านออนไลน์ หรือออนดีมานด์จากแหล่งงานทั่วโลกได้

ความเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยรูปแบบการทำงานประเภทงานชั่วคราว” หรือ “เทรนด์รับงานอิสระ” (Gig Economy) 

Micro Workers

ซึ่งแนวโน้มนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด หากย้อนไปในปี 2005 เจฟฟ เบโซส์ (Jeff Bezos) ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Amazon.com คือหนึ่งในตัวอย่าง ที่ใช้ความต้องการของตลาด ด้วยการใช้แนวคิดเช่นเดียวกับเทคโนโลยี “เอไอ” หรือ ปัญญาประดิษฐ์

ที่ใช้หลายอัลกอลิทึ่มเรียนรู้ทำให้งานสำเร็จ มาสร้างแพลตฟอร์มที่สามารถช่วยให้คนหารายได้ยามว่าง และทำได้ง่าย ๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต ในชื่อ “อะแมซอน มะแคนนิเคิล เทิค” หรือ เอ็มเทิค (Amazon Mechanical Turk : MTurk)

ซึ่งเป้นการการกระจายปัญหา หรือความต้องการไปยังกลุ่มคน และทำให้เกิดการทำงานในระยะที่สั้นลง แต่มีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น ที่เรียกว่า “คราวด์ซอสซิ่ง ไมโครเวิร์ค” (Crowdsourced Microwork) เพราะเป็นการแบ่งงานให้คน หลายพันคนช่วยกันทำ

แม้ว่าจะไม่มีตัวเลขอย่างเป็นทางการสำหรับจำนวนผู้ร่วมงานใน MTurk แต่คาดว่ามีผู้ใช้งานมากถึง 2,500 คน ในทุก ๆ เดือน เป็นอย่างน้อย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐอเมริกา และอินเดีย

โดยจากเปิดเผยของธนาคารโลก ในรายงาน World Bank Report ปี  2015 (The global opportunity in online outsourcing) ระบุว่ามีคนลงทะเบียนเป็น Micro Worker กับ MTurk ถึง 500,000 คน แล้วทั่วโลก!

ซึ่งหากให้สรุป ก็ต้องบอกว่า Mechanical Turk คือ Platform สำหรับงานที่ทำโดยแลกกับเงินตอบแทนเล็กน้อย (Micro task) ที่บริษัทจะเลือกใช้ในส่วนงานที่คอมพิวเตอร์ หรือ AI ไม่สามารถทำได้ แต่เป็นงานที่ทำได้ง่ายสำหรับมนุษย์ เพียงแต่อาจจะต้องใช้เวลานาน

ซึ่งลักษณะงาน ที่สามารถนำมาจ้าง ฟรีแลนซ์ หรือเอาท์ซอร์ส ยกตัวอย่างเช่น งานคัดแยกเอกสารหรือรูปภาพ, งานตรวจสอบความถูกต้องหรือเปรียบเทียบ ข้อมูล เอกสาร รูปภาพ, 
งานจัดระเบียบฐานข้อมูล (Clean Data), งานตอบแบบสอบถาม (Survey)

การทำวิจัยค้นหา และเก็บข้อมูล (เช่นหาชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์) และอาจรวมไปถึงใช้ในงานพัฒนา “เอไอ” ที่ต้องใช้ข้อมูลจำนวนมหาศาลในการพัฒนาตัวเอง เป็นต้น

Micro Workers

 

ทำไมธุรกิจจะต้องให้ความสำคัญ?

แล้วทำไมผู้ประกอบธุรกิจจำเป็นต้องให้ความสนใจในเทรนด์นี้ นั่นก็เพราะเรากำลังอยู่ในยุคที่เทคโนโลยีสมัยใหม่ ถูกนำมาปรับใช้ทำธุรกิจ เพื่อให้ก้าวทันการแข่งขัน แต่เทคโนโลยีเองก็เปลี่ยนแปลงรวดเร็วมีวงจรเทคโนโลยี (Technology Cycle) ที่สั้นลง

กล่าวคือหนึ่งเทคโนโลยีที่องค์ธุรกิจเลือกใช้อาจดีเพียงแค่ในระยะเวลา 2-3 ปี เท่านั้น เช่น ในปีแรกที่ใช้เทคโนโลยีในวงการการเงิน หรือธนาคาร ที่เริ่มจากใช้เว็บในการให้บริการลูกค้า แต่เมื่อตลาดสมาร์ทโฟนเติบโต และฉลาดมากขึ้น

ก็ทำให้ต้องพัฒนาช่องทางที่เป็นแอพพลิเคชั่นของตนเองขึ้นมาเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า ซึ่งในอนาคตก็ไม่มีใครทราบได้ว่าจะเกิดความปั่นป่วน หรือหยุดชะงักของธุรกิจจากความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี (Digital Disruptive) ใหม่ ๆ หรือไม่

นั่นหมายถึงมีโอกาสอย่างมากที่ธุรกิจในอุตสาหกรรมต่าง ๆ จะไม่สามารถลงทุนทางเทคโนโลยีได้ทันต่อความเปลี่ยนแปลง ซึ่งเรื่องดังกล่าวจะส่งผลต่อเรื่องของงบการลงทุนเพื่อพัฒนาธุรกิจในระยะยาวอีกด้วย

ซึ่งการให้ความสนใจในเทรนด์นี้นอกเหนือไปจากเรื่องของการช่วยลดต้นทุนที่ธุรกิจจะต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่รวดเร็วแล้ว ยังเป็นการช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถรับมือกับปัญหาเรื่องของ สมองไหล หรือการย้ายงานของพนักงาน ภายในองค์กร

ที่นับวันนั้นมีระยะเวลาที่สั้นลงเดียวเช่นกัน โดยจากเดิมที่พนักงาน หรือบุคลากร ขององค์กรต่าง ๆ จะค่อย ๆ สร้างความก้าวหน้าในอาชีพการงาน แต่กลายเป็นเลือกที่จะเปลี่ยนงานบ่อย ๆ เนื่องจากคาดหวังความสำเร็จในชีวิตที่รวดเร็ว มากกว่านั่งรอโอกาส 

ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญโลกแตกของผู้ประกอบการที่ไม่สามารถสร้างคนได้ทันต่อการภาวะการแข่งขันที่รุนแรง ขณะที่คนในกลุ่มของมิลเลนเนียล และคนเจเนอเรชันซี (generation Z) ที่จะเป็นแรงงานยุคใหม่ของโลกการทำงาน ในอีก 20-30 ปีข้างหน้า

Micro Workers

จะให้ความสำคัญกับเวลาส่วนตัวมากกว่าความก้าวหน้าในบริษัท ทำให้ตลาดงานเป็นสิ่งคาดเดาไม่ได้ หรือในสภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา ที่องค์กรส่วนใหญ่เลือกที่จะใช้วิธีแก้ปัญหา ด้วยการลดจำนวนพนักงานประจำ เพื่อลดค่าใช้จ่าย

การจ้างคนมาทำงานแทนแบบออนดีมานด์ (On-Demand) ด้วยการใช้บริการจากเหล่า Micro task จะทำให้ สามารถเข้าถึงบรรดาผู้เชี่ยวชาญได้จากทั่วโลกอีกด้วย ซึ่งจากงานวิจัย From Workforce to Workfit

ของ Kelly Services บริษัทฯ ชั้นนำในการจัดหางาน และเป็นบริษัทติดอันดับ Fortune 500 ระบุว่า 43% ของบริษัทที่ใช้บริการจากกลุ่ม Micro task หรือ Gig worker สามารถลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับแรงงานได้ถึง 20% ซึ่งถูกการจ้างพนักงานประจำถึง 30-40% 

อย่างไรก็ตาม ระบบนี้ก็มีด้านลบ เรื่องหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ Micro task หรือ Gig worker จะไม่ซึบซับรูปแบบแนวคิดขององค์กร ซึ่งเมื่อไม่มีแนวทางสภาพแวดล้อมแบบองค์กร ก็จะไม่มีความเป็นทีม รวมไปถึงไม่ได้รับการสนับสนุนจากทีมด้วยนั่นเอง 

Micro Workers

ขณะที่ในมุมของตัว Micro task หรือ Gig worker ก็จำเป็นต้องรับเอาความเสี่ยงด้วยเช่นกัน เนื่องจากไม่มีการกำกับดูแล หรือมีผู้กำหนดนโยบายที่ชัดเจน ทำให้ไม่มีเรื่องของวันลา ประกันสุขภาพ และแผนการออมเงินสำหรับเกษียณอายุ 

อีกทั้งผู้ให้บริการ Crowdsourced Platform หลายราย ก็เก็บค่านายหน้า หรือค่าธรรมเนียมจากนายจ้าง และ Micro task ทำให้รายได้ที่ควรจะได้นั้นถูกหันตามกลไกเงื่อนไขที่ทางผู้ให้บริการกำหนดนั่นเอง

แต่หากภาครัฐ หรือมีหน่วยงานที่สามารถกำหนดกฎระเบียบขึ้นเพื่อคุ้มครอง Micro task ก็จะทำให้มีความมั่นคง และสเถียรภาพทางการเงินมากขึ้น เพราะแนวโน้ม “แรงงานระยะสั้น” ยังคงจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง และเข้ายึดครองแวดวงการทำงานในอีกไม่กี่ 10 ปีข้างหน้า

*ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก : getlinks.co, BBC

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่

ประกันภัยไทยวิวัฒน์