D&B Supplier Verification คู่มือล้วงลึกอาเซียน

การบริหารจัดการซัพพลายเชน เป็นแง่มุมที่สำคัญสำหรับธุรกิจที่ลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียน ล่าสุด D&B เปิดบริการ Supplier Verification Program เพื่อให้คุณสามารถตรวจสอบซัพพลายเออร์แบบล้วงลึก ด้วยฐานข้อมูลธุรกิจกว่า 600,000 บริษัท

ปลายปี 2558 นี้ ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีของนักธุรกิจไทยที่จะเปิดโอกาสรับการลงทุนจากต่างประเทศ หรือหากเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพ ก็อาจจะขยายการลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียนได้เลย ซึ่งไม่ว่าจะเปิดรับการลงทุน หรือขยายการลงทุนไปต่างประเทศนั้น มีประเด็นทางธุรกิจหลายประเด็นที่ต้องคำนึงถึง หนึ่งในนั้นคือ การบริหารจัดการซัพพลายเชน (Supply Chain Management)

การบริหารจัดการซัพพลายเชน เป็นประเด็นสำคัญที่ธุรกิจระหว่างประเทศให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศ เช่น Apple, GM ที่เข้ามาลงทุนในเมืองไทย ก็ต้องการซัพพลายเออร์ที่มีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะรองรับธุรกิจขนาดใหญ่ได้ หรือแม้แต่ธุรกิจค้าปลีกของไทยที่ขยายการลงทุนไปในอาเซียน ก็ต้องการซัพพลายเออร์ที่แข็งแกร่ง และพร้อมที่จะรองรับธุรกิจ

การรู้จักและเข้าใจซัพพลายเออร์อย่างลึกซึ้ง จึงมีความสำคัญอย่างมากต่อธุรกิจ

ศิริพรรณ ณ จตุรัส ผู้จัดการฝ่ายขายธุรกิจ บริษัท ดีแอนด์บี ประเทศไทย จำกัด ให้ข้อมูลว่า การตรวจสอบซัพพลายเออร์ในซัพพลายเชน เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเศรษฐกิจปัจจุบัน เปิดกว้างในการลงทุนระหว่างประเทศมากขึ้น นักธุรกิจจึงจำเป็นต้องรู้จักซัพพลายเออร์ในแต่ละประเทศที่จะเข้าไปลงทุน ซึ่งการหาข้อมูลของซัพพลายเออร์แต่ละรายเป็นเรื่องที่ยากมาก หากไม่มีบริการจากภาครัฐและเอกชนสนับสนุน

ที่ผ่านมา มีกรณีศึกษาหลายกรณีที่นักธุรกิจได้รับความเสียหายจากซัพพลายเออร์ เช่น กรณีของซัพพลายเออร์จำหน่ายเหล็กรายหนึ่ง ที่มีปัญหาขาดสภาพคล่องในองค์กร แต่ยังมีการรับออเดอร์จากลูกค้าอย่างต่อเนื่อง สุดท้ายไม่มีการผลิต และไม่ส่งมอบเหล็กให้กับลูกค้า หรือบริษัทค้าปลีกยักษ์ใหญ่จากยุโรป ที่มีการลงทุนทั้งในไทยและอาเซียน ก็มีการตรวจสอบซัพพลายเออร์อย่างละเอียด เพื่อให้มั่นใจว่า ซัพพลายเออร์ทุกรายมีความสามารถทำธุรกิจได้จริง เนื่องจากเคยมีกรณีซัพพลายเออร์ที่ยุโรปมีปัญหา ส่งสินค้าไม่ได้ตามกำหนดเวลา

ขณะเดียวกัน บริษัทยักษ์ใหญ่ที่เข้ามาลงทุนหลายราย เช่น Apple หรือ GM ก็ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบความมั่นคงของซัพพลายเออร์เช่นเดียวกัน ซัพพลายเออร์ที่คะแนนไม่ดี หรือต่ำกว่ามาตรฐาน จะไม่ได้รับการพิจารณา

กรณีศึกษาเหล่านี้ ทำให้ธุรกิจของไทย ทั้งที่เป็นซัพพลายเออร์ และที่ต้องเลือกใช้ซัพพลายเออร์ ตื่นตัวมากขึ้น

ศิริพรรณ ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบัน D&B มีบริการใหม่ Supplier Verification Program หรือบริการตรวจสอบซัพพลายเออร์ เพื่อช่วยลูกค้าในการวิเคราะห์ซัพพลายเออร์ และแจ้งผลออกมาเป็นคะแนน FS Score (Financial Strength Score) ซึ่งสามารถนำมาใช้วิเคราะห์ว่า ซัพพลายเออร์มีสถานะอย่างไร ในอีก 12 เดือนข้างหน้าสถานะของซัพพลายเออร์จะเป็นอย่างไร ธุรกิจยังดีหรือไม่ จะมีปัญหาในการผลิตหรือไม่

Supplier Verification Program จะจัดพิมพ์รายงานออกมาเป็น Business Information Report เพื่อรายงานสถานภาพรวมธุรกิจของลูกค้า เช่น สถานะของลูกค้า งบการเงินเป็นอย่างไร เครดิตการกู้ยืมเงินเป็นอย่างไร เครดิตทางการค้าเป็นอย่างไร การบริหารจัดการเป็นอย่างไร รวมถึงการสรุปและประเมินความเสี่ยงออกมาเป็นคะแนนว่ามีคะแนนเท่าไร เหมาะสมจะทำธุรกิจด้วยหรือไม่

ศิริพรรณ ให้ข้อมูลว่า Supplier Verification Program จะช่วยลูกค้าในการลดเวลาในการตรวจสอบและวิเคราะห์ความเสี่ยงของคู่ค้า เช่น การระบุความมีตัวตนของคู่ค้า ลดขั้นตอนในการตรวจสอบงบการเงินและกรรมการ รวมถึงลดต้นทุนในการตรวจสอบและลดเอกสาร

ส่วนในกรณีที่ต้องการข้อมูลเชิงลึกนั้น D&B ยังบริการเสริมในการตรวจสอบข้อมูล ทั้งกรรมการ ผู้บริหาร และผู้ถือหุ้น ให้กับธุรกิจ ซึ่งข้อมูลส่วนนี้อาจจะหาได้ไม่ยากในประเทศไทย แต่เป็นข้อมูลที่หาได้ยากสำหรับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน

Supplier Verification Program จะช่วยให้ลูกค้าตรวจสอบซัพพลายเออร์ในอาเซียน กว่า 600,000 บริษัทได้อย่างละเอียดว่า แต่ละรายมีสถานะเป็นอย่างไร มีคะแนนความน่าเชื่อถือที่เท่าไร ขณะเดียวกัน บริษัทจากต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในไทยและอาเซียน ก็จะใช้ Supplier Verification Program ตรวจสอบซัพพลายเออร์เช่นกัน ซัพพลายเออร์ของไทย จึงจำเป็นต้องมี DUNS Number ไว้สำหรับดีลธุรกิจกับบริษัทยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศด้วย ซึ่ง DUNS Number นี้ สามารถขอได้จาก บริษัท ดีแอนด์บี ประเทศไทย จำกัด

ศิริพรรณ ให้ข้อมูลว่า นอกเหนือจาก DUNS Number แล้ว ปัจจุบัน หลายธุรกิจให้ความสำคัญกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น จึงมีการร้องขอในการตรวจสอบข้อมูลของคณะกรรมการและผู้บริหารว่า มีชื่อหรือนามสกุลที่มีผลประโยชน์ขัดแย้งกับธุรกิจของลูกค้าหรือไม่ เช่น เกี่ยวข้องกับฝ่ายจัดซื้อของลูกค้า หรือมีรายชื่อที่เกี่ยวข้องกับนักการเมืองในประเทศนั้น ๆ หรือไม่ ซึ่งบริษัท ดีแอนด์บี ก็มีบริการนี้รองรับเช่นกัน

นอกจากนี้ ดีแอนด์บี ยังมีแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ในปีหน้า โดยจะเพิ่มฟังก์ชันและข้อมูลที่ครบถ้วนมากขึ้น ทั้งข้อมูลการค้นหาจาก Google ข้อมูล Blacklist ข้อมูลกฎระเบียบต่างๆ เช่น Anti-Corruption และข้อมูลคดีความต่างๆ พร้อมทั้งรายงานผลเป็น FS Score และส่วนที่คาดการณ์ธุรกิจในอีก 12 เดือนข้างหน้า ซึ่งในรายงานนี้ จะช่วยให้ลูกค้าเห็นภาพรวมของซัพพลายเออร์ เพื่อช่วยในการวางแผนและตัดสินใจได้ดีขึ้น

การลงทุนธุรกิจในต่างประเทศ เปรียบเสมือนกับคนตาบอดข้ามถนน ที่ต้องการพลเมืองดีช่วยประคับประคองให้ข้ามถนนได้ตลอดรอดฝั่ง ธุรกิจก็เช่นกัน ต้องการคู่คิดที่ช่วยดูแล ช่วยทำความเข้าใจกับตลาดและคู่ค้าในซัพพลายเชน ดีแอนด์บี จึงเป็นโซลูชันที่นักธุรกิจพลาดไม่ได้

ผู้เขียน : ศรันย์ทัศน์ ตั้งคุณานนท์

คลิกอ่านบทความทั้งหมดได้ที่ นิตยสาร Business+ November 2015 Issue 321