ปัจจุบันเราคงเห็นการ Collaboration ของหลาย ๆ แบรนด์มากขึ้น ตัวอย่างล่าสุด CARNIVAL® x Bar B Q Plaza ที่ธุรกิจต่างวงการ มาร่วมมือกันเพื่อขยายฐานลูกค้าเจาะกลุ่ม GEN Z หรือ Omega x Swatch ที่แบรนด์ธุรกิจเดียวกัน Collaboration กัน ด้วยฐานลูกค้าที่ต่างกันทำให้สร้างสรรค์นาฬิกาหรูในราคาที่เข้าถึงได้จนสามารถสร้างกระแสตอบรับได้ดี
ทั้งนี้ หากเราทำธุรกิจมาถึงจุดหนึ่งแล้ว การตลาดแบบร่วมมือกันก็ถือเป็นการตลาดที่สามารถขยายฐานลูกค้าได้ดี เพราะด้วยแนวคิดที่ว่า 2 หัวดีกว่าหัวเดียว ซึ่งการร่วมมือกันส่วนใหญ่แล้วจะต้องมีแนวคิดธุรกิจที่ไปในทางเดียวกัน แม้สายธุรกิจจะแตกต่างกันสุดขั้ว ถือเป็นการสร้างพันธมิตรใหม่ ๆ ให้กับองค์กร
โดย Collaboration Marketing จะมีการตกลงที่เท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการลงทุนที่จะวินวินทั้ง 2 ฝ่าย หรือเป็นการตกลงที่น่าพึงพอใจ เช่น ฝ่ายหนึ่งอาจใช้งบประมาณไปกับการผลิตสินค้าที่มากกว่า แต่อีกฝ่ายอาจสนับสนุนวางแผนโปรโมตที่มากกว่าก็ย่อมได้
โดย 3 กลยุทธ์ Collaboration ที่นิยมใช้กัน มีดังนี้
1. กำหนดเป้าหมายร่วมกัน
หากเราจะร่วมงานกับแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งเป้าหมายที่เห็นพ้องกันเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อที่จะให้การทำการจลาดไปในทิศทางเดียวกันและเกิดความขัดแย้งทางธุรกิจที่น้อยที่สุด อาทิ เป้าหมายยอดขอยของแคมเปญนี้, การเข้าถึงแคมเปญนี้, ราคาและอื่น ๆ
ทั้งนี้ เราใช้เป้าหมายเหล่านั้นเพื่อวัดผลความสำเร็จในการร่วมมือ เพราะแน่นอนว่าหากตกลงกันไม่เคลียร์การเป็นพันธมิตรกับแบรนด์อาจจบลงด้วยความยุ่งเหยิงและอาจสร้างความเสียหายได้ ซึ่งถ้าหากการทำงานร่วมกันเป็น Team Workได้ดีจะช่วยขยายฐานลูกค้าใหม่ เพิ่มการรับรู้ถึงแบรนด์ และเพิ่มรายได้ พร้อมกับการเป็นที่รู้จักสังคมมากขึ้นนั่นเอง
2.ใช้ฐานลูกค้าทั้งสองแบรนด์ในการเข้าถึงแคมเปญ
แน่นอนว่าทั้ง 2 ล้วนมีฐานลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายเป็นของตัวเองอยู่แล้ว เราเพียงแค่สร้างส่วนร่วมกับกลุ่มลูกค้ามากขึ้น พร้อมนำเสนอแคมเปญให้ทั้งสองกลุ่มเป้าหมายได้เข้าใจ และทางแบรนด์นำเสนอความน่าสนใจและคอนเทนต์ต่าง ๆ จนเกิดการพูดถึงแบบปากต่อปาก หรือเป็นที่พูดถึงทางโซเชียลมีเดีย วิธีนี้จะช่วยให้เราสามารถขยายฐานลูกค้าของทั้ง 2 มารวมกันและเพิ่มความน่าสนใจให้กับธุรกิจ
3.สร้างจุดแข็งที่เห็นได้ชัดของการร่วมมือในครั้งนี้
แต่ละแบรนด์ล้วนมีจุดเด่นและจุดด้อยที่ต่างกันไป หากมาร่วมมือในแคมเปญเดียวกันแล้วก็ควรที่จะเติมเต็มส่วนที่ขาดของกันและกันให้แคมเปญเหล่านั้น มีคุณภาพ และถือเป็นส่วนหนึ่งในวิธีสร้างการรับรู้ต่อกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ และยังคงฐานลูกค้าเดิมที่มีไว้ได้อีกด้วย
อย่างไรก็ดี การตลาดแบบ Collaboration Marketing ในปัจจุบันก็มีให้เราเห็นมากมายซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ล้วนมีกระแสตอบรับที่ดีจนสินค้านั้น ๆ ได้ถูกซื้อมาขายต่อไปในราคาสูง ตัวอย่าง Omega x Swatch ที่ราคาเปิดตัวเริ่มต้น 8,300 บาทแต่ราคาขายต่อสูงถึง 30,000 บาท หรือแบรนด์หรูอย่าง Dior X Nike air force 1 ที่ราคาเปิดตัวประมาณ 63,000 บาทแต่ปัจจุบันราคาไปไกลถึง200,000บาทขึ้นไปนั่นเอง
และถ้าถามว่าการตลาด Collaboration Marketing ของเราจะประสบความสำเร็จแค่ไหน การที่สินค้าเราถูกซื้อไปเก็งกำไร ก็คงเป็นอีกหนึ่งตัวชี้วัด…
ที่มา : canto, foundationinc, widen
เขียนและเรียบเรียง : อโญศิริ สุระตโก
Line Business+ ได้ที่ : https://lin.ee/pbIHCuS
IG ได้ที่ : https://www.instagram.com/businessplus.thailand/
#Businessplus #Business+ #นิตยสารBusinessplus #Collaboration #Marketing #คอลแลบบอเรชัน #คอลแลบ