Digital marketing

จับกระแส Trend Digital marketing ในไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กระแสเร่ืองของปัจจุบัน Trend Digital marketing ยังคงแข่งขันกันอย่างดุเดือด ธุรกิจทั่วโลก แม้แต่ในไทย และอาเซียน ก็จำเป็นต้องปรับตัวด้วยเช่นกัน…


highlight

  • เทรนด์การตลาดดิิจิทัลในประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีแนวโน้มที่จะเติบโตเพิ่มขึ้นในทุกช่องทาง โดยเฉพาะการโฆษณาผ่านช่องทางมือถือ ที่พบว่า มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นกว่า 51% จากมูลค่าโฆษณาดิจิทัลในประเทศไทยทั้งหมด

จับกระแส Trend Digital marketing ไทย -อาเซียน

ในเกมการแข่งขันของโลกธุรกิจทุกวันนี้ ปฏิเสธไม่ได้ ได้ก้าวสู่ยุคของการใช้ “ข้อมูล” (Data) เพื่อดำเนินธุรกิจอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งการที่โลกเข้ายุคของการใช้ข้อมูลมากขึ้นส่งผลทำให้วิธีกามรดำเนินธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

โดยเปลี่ยนไปใช้ช่องทางโซเชียลมีเดีย และแฟลตฟอร์มต่าง ๆ ในการดำเนินกลยุทธ์ มากขึ้น เพื่อสื่อสารกับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย และใช้เพื่อปรับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ ให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล 

เมื่อพิจารณาจากแนวโน้มดังกล่าวจะเห็นว่าผุ้ประกอบธุรกิจทั่วโลกได้ เร่งปรับตัวเป็นอย่างมาก เพื่อสื่อสารกับผู้โภค ในขณะที่ประเทศไทย และประเทศในแถบภูมิภาคเอเซีย เองก็แทบไม่ต่างกัน 

ซึงจากการเปิดเผยผลการสำรวจที่ทาง ฮีโร่ลีดส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการด้านการตลาดดิจิทัลด้วยข้อมูลเชิงลึกแถวหน้าของประเทศไทย ได้เปิดเผยล่าสุด พบว่า เทรนด์การตลาดดิิจิทัลในประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

Digital marketing

มีแนวโน้มที่จะเติบโตเพิ่มขึ้นในทุกช่องทาง โดยเฉพาะการโฆษณาผ่านช่องทางมือถือ ที่พบว่า มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นกว่า 51% จากมูลค่าโฆษณาดิจิทัลในประเทศไทยทั้งหมด โดยมีน้ำหนักไปในเรื่องของ การชำระเงินผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์

ที่กำลังจะพลิกโฉมหน้าประเทศไทยไปสู่ “สังคมไร้เงินสด” (Cashless Society) รวมถึงการนำเทคโนโลยี “ปัญญาประดิษฐ์” (AI) มาใช้ที่จะช่วยให้ธุรกิจเข้าใจผู้บริโภคมากขึ้น และสามารถปรับปรุงการให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น อาทิ

เทรนด์การใช้งาน “แมชชีนเลิร์นนิ่ง” (Machine Learning) ที่จะถูกรวมเข้ากับแพลตฟอร์มต่างๆ ที่ลูกค้าใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น แอปพลิเคชันสนทนาออนไลน์ (Chat App) หรือผู้ช่วยดิจิทัล (Digital Assistant) 

Digital marketing

นอกจากนี้ ยังพบว่าที่ธุรกิจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายของตนเอง ด้วยการทำ “คอนเทนต์มาร์เก็ตติ้ง” (Content Marketing) เพราะจะช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้แบรนด์เป็นผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมนั้น ๆ

โดยคอนเทนต์อาจมาในรูปแบบของ Video หรือ Podcast ที่จะสามารถดึงความสนใจของผู้บริโภคได้ดี ทั้งนี้ อุตสาหกรรมเกม แอนิเมชัน และการเรียนการสอนออนไลน์ (e-Learning) จะเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่น่าจับตา จากอัตราเติบโตในปี 2018 ที่สูงกว่าปี 2017 เกือบ 12%

เลยทีเดียว ซึ่งหากพิจารณาจากแนวโน้มประชากรอินเตอร์เน็ตโลก ที่ทาง Bond Internet Report 2019 ได้ออกมาเปิดเผยก่อนหน้า ก็ถือว่าน่าสนใจไม่น้อย เพราะมีการระบุว่าประชากรอินเตอร์เน็ตโลกในปัจจุบันมีมากว่า 3.8 พันล้านคน  เลยทีเดียว

และยังมาจากประเทศแถบเอเชียแปซิฟิกถึง 53% โดย 3 ประเทศแรกที่มีประชากรอินเตอร์เน็ตมากที่สุด ได้แก่ จีน อินเดีย และสหรัฐฯ ขณะที่ประเทศในแถบเออีซี (AEC) เองก็มีแนวโน้มใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้นด้วยเช่น โดยอินโดนีเซีย คือ ประเทศที่เติบโตติดอันดับ

ของประเทศที่มีแนวโน้มการใช้อินเตอร์เน็ตมากที่สุด ขณะที่เมื่อพิจารณาถึงแฟลตฟอร์มที่ได้รับความนิยม ก็จะพบว่า แพลตฟอร์ม อย่าง Youtube, Instagram และFacebook กลายเป็นเป็นแพลตฟอร์มที่คนทั่วโลกใช้มากถึง 27%, 19%  และ 30% ตามลำดับ

ขณะที่พฤติกรรมในการรับชมของผู้บริโภค ก็เปลี่ยนแปลงจากที่เคยรับชมข่าวสาร ก็เน้นหนักไปในการเลือกรับชม Clip VDO สั้น ๆ มากกว่า ที่จะชมแบบยาว ๆ ซึ่งปัจจุบันมี Instagram และ Facebook เป็น 2 ผู้ให้บริการหลักในการปั่นกระแสการรับชมวีดีโอแบบสั้นนี้

โดยมี WhatsApp Status สอดแทรก และไล่บี้ตามมาติด ๆ ซึ่งกระแสดังกล่าวน่าจะเห็นมากขึ้นจากผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นในอนาคต ดังนั้นวันนี้คงไม่กล่าวเกินจริงเกินไปนักว่าการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัล

โจทย์ที่ต้องตีให้แตก คือ “การสร้างความมีส่วนร่วมระหว่างผู้บริโภคกับแบรนด์” แต่ต้องเป็นในรูปแบบที่ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป และต้องแตกต่างจากสิ่งที่คู่แข่งทำใด้ เพราะหากไม่ต่างผู้บริโภคก็ไม่ตาม เพราะไปดู่ที่ไหนก็เหมือนกัน

ดังนั้นการทำคอนเท้นส์วันนี้ ผู้ประกอบธุรกิจไม่จำเป็นต้องคิดเพื่อสร้างผลกระทบในวงกว้าง อย่างที่เคยทำในอดีต แต่ต้องเปลี่ยนรูปแบบในการทำการสื่อสารที่เจาะจงเฉพาะกลุ่มไปเลย กล่าวสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์โดยตรง

ทำให้เป้าหมายทราบว่าคอนเทนส์ที่จะสื่อสารนัั้นตอบโจทย์ปัญหา หรือช่วยอะไรแก่พวกเค้าเหล่านั้นได้ หากถามว่าทำไมถึงเป็นเช่นนี้ ตัวอย่างที่ชัดเจนมากที่สุดคือ การสร้างเพจ ของแบรนด์ในแพลตฟอร์มอย่างเฟสบุ๊ก น่าจะเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนมากที่สุด

เพราะเป็นการสร้างชุมชนสังคม (Community) ที่รวมกลุ่มเป้าหมายที่สนใจเรื่องนั้นเข้าไว้ด้วยกัน และด้วยฟังก์ชั่นที่มี เฟชบุ๊ก ทำให้แบรนด์สามารถสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าได้โดยตรง  ซึงสิ่งนี้ไปกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความรู้สึกของความมีส่วนร่วม (Engagement) 

ระหว่างกัน ร่วมไปถึงระหว่างแบรนด์ กับกลุ่มเป้าหมายได้ ซึ่งจะเป็นช่องทางสำคัญของแบรนด์ในการการสร้างประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง (Experience Always on) ให้แก่กลุ่มเป้าหมายได้

ซึ่งเมื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อแบรนด์ก็จะส่งผลต่อเกิดการบอกต่อและทำให้มีคนติดตามแบรนด์มากขึ้น โดยตรงจุดนี้ที่แบรนด์นั้นสามารถนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่าง “เอไอ” เข้ามาเสริมในการแง่มุมของการบริการลูกค้าได้ ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าแบรนด์ใส่ใจ

คาร์โร ฮีโรว์ด ผู้ก่อตั้ง และผู้บริหาร บริษัทฮีโร่ลีดส์ ประเทศไทย กล่าวว่า วันนี้เทรนด์ของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย แม้ว่าเศรษฐกิจโดยรวมยังอยู่ในภาวะชะลอตัว

แต่โลกดิจิทัลนั้นกลับเติบโตอย่างรวดเร็ว และไม่หยุดยั้ง และไม่ใช่แค่การตั้งรับกับการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น การกำหนดทิศทางของธุรกิจ และการรู้จักใช้ประโยชน์จากสื่อ และเครื่องมือดิจิทัลได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมก็มีความสำคัญเช่นกัน 

7 เทรนด์ของการตลาดดิจิทัล 2019

Video Content เพื่อการทำการตลาดออนไลน์ : เทรนด์การใช้ VDO จะก้าวเข้ามามีบทบาทในการสื่อสารกับลูกค้ามากขึ้น เนื่องจากผู้ผู้บริโภคในปัจจุบันไม่ใช้เวลาในการดู คอนเทนส์นาน ๆ ดังนั้น การใช้วีดีโอเพื่อถ่ายทอดเรื่องราว หรือเนื้อหาที่ต้องการสื่อสาร

หรือโปรโมทสินค้าจะทำให้ผู้ชมสื่อสามารถเข้าใจเนื้อหาได้รวดเร็วกว่า และสามารถจดจำได้มากกว่าการดูคอนเทนส์ ในรูปแบบตัวอักษรหรือภาพนิ่ง

อีกทั้งการทำ Video Marketing บนช่องทางออนไลน์ยังสามารถทำได้หลายรูปแบบ ทั้งบน Social Media และบน Search Engine ซึ่งจะช่วยเพิ่มการเข้าถึงผู้ชมได้

การค้นหาด้วยเสียง (Voice Search) : ปัจจุบันเทรนด์ของการค้นหาด้วยเสียงเริ่มเป็นที่ต้องการในหมู่ของผู้บริโภคยุคดิจิทัล เนื่องจากมีการพัฒนาให้ “เอไอ” สามารถ สืบค้นหาเสียงได้แม่นยำกว่าเดิม ดังนั้นเราจึงเห็นผู้นำทางด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยี

ออกมาเปิดตัวระบบการค้นหาด้วยเสียงมากขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา อาทิ Alexa และ Google Home ที่กำลังเริ่มได้รับความนิยมในอเมริกา

Digital marketing

การสร้างความเป็นส่วนตัว (Personalization) : หลังจากที่มีระเบียบการคุ้มครองข้อมูลทั่วไป (GDPR) ออกมาประเด็นเรื่องของคุ้มครองข้อมูลของผู้บริโภค จึงกลายเป็นหนึ่งในเทรนด์ที่นักการตลาดจำเป็นต้องให้ความสำคัญ

ให้กับทุก ๆ รูปแบบและช่องทางการตลาดออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการทำคอนเทนต์ อีเมล รวมไปถึงการใช้เครื่องมือ แชทแอพฯ (Chat App) ต่าง ๆ เพื่อสร้างความรู้สึกเชื่อมั่นต่อแบรนด์ ให้แก่ผู้บริโภค และช่วยสร้างความสัมพันธ์ รวมถึงเข้าใจในพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น 

การใช้แชทบอท (Chatbot) : เทรนด์ในการใช้ แชทบอท ที่เริ่มมีให้เห็นมากขึ้น จะยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นกว่าอดีต เนื่องจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป และไม่ชอบรอ ของผู้บริโภค

ทำให้การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationship Management หรือ CRM) ต้องเป็นไปด้วยความรวดเร็ว แบบเรียลไทม์ มากขึ้น โดยแบรนด์ต่าง ๆ สามารถติดตั้ง แชทบอท ในเว็บไซต์, แอพพลิเคชั่น รวมทั้ง โซเชียล มีเดีย เพื่อตอบคำถามได้

อีกทั้งสามารถใช้เป็นที่รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ของลูกค้า เพื่อนำมาใช้ในการวางกลยุทธ์การตลาดในช่องทางต่าง ๆ ได้ในอนาคตอีกด้วย

การค้นหาด้วยภาพ (Visual Search) : แม้ว่าเทรนด์การค้นหาด้วยภาพ ในปัจจุบันยังอยู่ในช่วงพัฒนา แต่ในอนาคตจะค่อย ๆ ได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะภาพมักสื่อสารได้ดีกว่าข้อความ โดยแนวโน้มนี้เริ่มเห็นมากขึ้น อาทิ Google ก็เร่งทำการทดลองใช้เทคโนโลยี

Google Lens ที่สามารถจดจำวัตถุและสถานที่สำคัญต่าง ๆ ด้วยระบบ เอไอ ซึ่งในอนาคตเมื่อเทคโนโลยีนี้ถูกนำมาใช้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างแพร่หลายมากขึ้นในอนาคต ก็จะทำให้การค้นหาด้วยภาพได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมากด้วย

การทำการตลาดออนไลน์ผ่านกลุ่มคนที่มีอิทธิพลในโลกออนไลน์ (Influencer Marketing) : ปัจจุบันเรื่องของการทำการตลาดตลาดผ่านกลุ่มคนที่มีอิทธิพลในโลกออนไลน์ ยังคงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับนักการตลาด 

เนื่องจากกลุ่มคนดังกล่าวยังสามารถช่วยให้แบรนด์เข้าถึงกลุ่มผู้ชมได้กว้างกว่า และยังตอบโจทย์ในการดึดดูดผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มได้มากกว่าแบรนด์สื่อสารเอง เนื่องจากผู้บริฦโภคยังคงเชื่อถือในตัวบุคคลที่กล้าวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ

Digital marketing

การใช้ช่องทางแบบไมโครโมเม้นต์ (Micro-Moment) : เทรนด์การใช้ช่องทางการสื่อสารผ่านอุปกรณ์พกพา อาทิ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต นี้เกิดขึ้นจากการที่เทคโนโลยีการสือสารที่รวดเร็ว ทำให้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้จาก ทุกที่ทุกเวลา

เพียงแค่ก้มหน้าดูโทรศัพท์แล้วตัดสินใจ จะกลายเป็นช่องทางการสื่อสารที่สำคัญของแบรนด์ ซึ่งหากแบรนด์สามารถสื่อสารคอนเทนต์ที่น่าสนใจมากพอบนแฟลตฟอร์มอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็เกิดความต้องการอยากได้ อยากทดลอง และตัดสินใจซื้อได้ทันที 

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com, www.pixabay.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่  www.facebook.com/businessplusonline

ประกันภัยไทยวิวัฒน์