Beauty Brands x Twitter บทสนทนาสร้างพลัง-เสริมแกร่งแบรนด์สินค้า

ทวิตเตอร์เป็นแพลตฟอร์มที่ถูกขับเคลื่อนโดยผู้ใช้งานที่มีความสนใจเรื่องเดียวกันจนกลายเป็นสังคมหลากหลายกลุ่มทั่วโลก และกลุ่มที่กำลังเติบโตอย่างมากคือ “กลุ่มความงาม” ซึ่งจากผลการศึกษาของทวิตเตอร์พบว่าผู้ใช้ทวิตเตอร์กว่า 46% มีความสนใจและติดตามผลิตภัณฑ์ด้านความสวยความงามบนแพลตฟอร์มไม่ว่าจะเป็นสกินแคร์ เครื่องสำอาง น้ำหอม และอื่นๆ อีกมากมาย

 

ทั้งนี้ด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคคนไทยที่เปิดใจรับผลิตภัณฑ์และสไตล์ใหม่ๆ จากต่างประเทศและยังคงชอบที่จะทดลองสินค้าแบรนด์ไทยเช่นกัน จึงทำให้เกิดบทสนทนาบนทวิตเตอร์เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากโดยเป็นการแบ่งปันเคล็ดลับและคำแนะนำให้กับผู้ใช้คนอื่นๆว่า ผลิตภัณฑ์อะไรที่กำลังมาแรง
เป็นต้น



ขณะที่รายงานของ Statista ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิคส์ด้านการตลาดและผู้บริโภคของอุตสาหกรรมทั่วโลก เผยว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดความงามมีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตของกลุ่มนี้เฉลี่ยต่อปีถึง 4.4% ภายในช่วงปี 2562-2566 จึงไม่น่าแปลกใจที่ทวิตเตอร์เป็นแหล่งร่วมของผู้บริโภคจำนวนมากสนใจเรื่องความงาม


พร้อมกันนี้ ทวิตเตอร์ยังเป็นแพลตฟอร์มที่มีข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากผู้บริโภคสินค้าความงามของแบรนด์ต่างๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นความคิดเห็นหลังจากใช้งาน หรือกระแสตอบรับเกี่ยวกับสินค้านั้นๆ ซึ่งทำให้แบรนด์สามารถรับรู้ได้ถึงเทรนด์ที่กำลังเกิดขึ้นหรือแม้กระทั่งเข้าไปมีส่วนร่วมในบทสนทนาแบบเรียลไทม์



แพร โตเจริญทรัพย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์ลอรีอัล ปารีส บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ทวิตเตอร์เป็นส่วนสำคัญในกลยุทธ์ของแบรนด์ เพราะสามารถเรียนรู้ถึงข้อมูลเชิงลึกจากผู้บริโภคหลากหลายกลุ่มบนทวิตเตอร์ที่พูดคุยเกี่ยวกับสินค้าและแคมเปญต่างๆ อีกทั้งยังสามารถเข้าร่วมบทสนทนา มีปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภคและสังคมในวงกว้างได้เช่นกัน สิ่งเหล่านี้นับเป็นการลงทุนในระยะยาวที่ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์และรับรู้ถึงการตอบรับของผู้บริโภคโดยตรงอีกด้วย”


อย่างไรก็ตาม หลายแบรนด์จึงพยายามเชื่อมต่อกับผู้ที่มีอิทธิพลหรืออินฟลูเอนเซอร์ในการขับเคลื่อนบทสนทนาเกี่ยวกับความสวยความงามบนทวิตเตอร์ให้เกิดขึ้นทุกวัน และมีจำนวนทวีตที่เพิ่มขึ้นกว่า 25% เมื่อเทียบกับปีต่อปี ดังนั้นทวิตเตอร์จึงเป็นแพลตฟอร์มที่แบรนด์ต่างๆ หันมาให้ความสนใจในการเข้ามามีส่วนร่วม รวมถึงการเรียนรู้ถึงพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภค



เครดิตทวีตจาก https://twitter.com/onthebest___/status/1143815709618663424

 

เครดิตทวีตจาก: https://twitter.com/songnnn/status/1143936656686215169


แบรนด์ต่างๆ มักจะร่วมมือกับอินฟลูเอนเซอร์ในการเข้าถึงกลุ่มสังคมความงามบนทวิตเตอร์ เช่น L’Oreal Paris TH (@LOrealParisTH) ที่ทำงานร่วมกับอินฟลูเอนเซอร์ด้านความงามและเน็ตไอดอล โดยมีการรีวิวสินค้าและทำวิดีโอการใช้สินค้า แต่ถ้าหากแบรนด์ต้องการสร้างความฮือฮามากขึ้นก็ใช้พลังของดาราดัง เช่น ชมพู่ อารยา เป็นต้น



เครดิตทวีตจาก: https://twitter.com/LOrealParisTH/status/1120273280508645376

บทสนทนาด้านความงามที่เกิดขึ้นบนทวิตเตอร์ประเทศไทยนั้นไม่ได้จำกัดว่า ผลิตภัณฑ์นั้นจะมาจากแบรนด์เล็กหรือใหญ่ แบรนด์จากต่างชาติหรือในไทย ทั้งนี้ 3 เทรนด์ด้านความงามที่แบรนด์ได้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคที่ชื่นชอบความงามบนแพลตฟอร์มทวิตเตอร์


  1. พลังของผู้คน: การใช้ประโยชน์จากพลังของการมีส่วนร่วมกับบทสนทนาบนทวิตเตอร์

ผู้ใช้ทวิตเตอร์เป็นผู้กำหนดสิ่งที่เกิดขึ้นบนทวิตเตอร์ ซึ่งนี่คือสิ่งที่ทำให้ทวิตเตอร์มีเอกลักษณ์และน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ต่างๆ และการรีวิวสินค้า การขอคำแนะนำในการใช้ผลิตภัณฑ์ การมองหาเทรนด์สีใหม่ล่าสุด กลุ่มผู้ที่ชื่นชอบความงามนั้นจะมีความชื่นชอบและหลงไหลไปกับเทรนด์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นบนทวิตเตอร์

เครดิตทวีตจาก: https://twitter.com/Kaimook41435896/status/1147525986793086976?s=19

เครดิตทวีตจาก: https://twitter.com/Ppeenon/status/1145980715047088128

การบอกเล่าถึงแบรนด์และผลิตภัณฑ์นั้นมีความสำคัญ แต่การที่ผู้บริโภคได้บอกเล่าเรื่องผลิตภัณฑ์ต่อไปยังกลุ่มเพื่อนนั้นมีพลังมากกว่า ผู้บริโภครีวิวผลิตภัณฑ์บนทวิตเตอร์กลายเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศไทย จากการติดแฮชเท็ก #ไว้รีวิวห้ามขายของโว้ยย ในการรีวิวการใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งรีวิวเหล่านี้เกิดจากผู้ใช้สินค้าตัวจริงเสียงจริงและไม่มีสปอนเซอร์หรือมีการว่าจ้างให้รีวิวแต่อย่างใด

เครดิตทวีตจาก: https://twitter.com/iluvctnw/status/1146770941763964928

แบรนด์ต่างๆ ไม่ได้เพียงแค่อ่านข้อความรีวิวเท่านั้นแต่พร้อมเข้าร่วมในบทสนทนา และหลายๆ ครั้งยังได้รีทวีตข้อความหรือรีวิวของผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์อีกด้วย

เครดิตทวีตจาก: https://twitter.com/KaofangArea/status/1139148449012523008



  1. ทุกคนแตกต่างกัน : สร้างการมีส่วนร่วมและเรียนรู้

นักการตลาดที่เก่งจะรับฟังเสียงของผู้บริโภค โดยจะเข้าไปมีส่วนร่วมในบทสนาและเรียนรู้เพิ่มเติมว่า ผู้บริโภคต้องการอะไร และทวิตเตอร์คือแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์เหล่านี้ได้ดี ซึ่งทำให้แบรนด์ต่างๆ สามารถเข้าไปร่วมและกลมกลืนไปกับบทสนทนาของกลุ่มผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์ด้านความงาม



ยูนิลีเวอร์ บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกได้จัดแคมเปญให้กับ Sunsilk Thailand (@SunsilkThailand) เพื่อจะได้เข้าใจถึงความต้องการของผู้บริโภคในเชิงลึก​ โดยการทำแบบสอบถามผู้ใช้งานทวิตเตอร์มีความคิดเห็นเกี่ยวกับกลิ่นแชมพู 3 กลิ่นใหม่ของซันซิลว่าควรจะเป็นกลิ่นอะไร ทั้งนี้ผู้ที่ตอบแบบสอบถามมีโอกาสในการร่วมชิงโชคจับรางวัลเพื่อเดินทางไปท่องเที่ยวที่บาหลีฟรี

เครดิตทวีตจาก: https://twitter.com/SunsilkThailand/status/1081958576833343488



ไม่ว่าจะเป็นแฟนฟุตบอล แฟนเกมส์ แฟนละคร ไปจนถึงผู้ที่มีความสนใจในเรื่องความงาม ทวิตเตอร์จึงเป็นแพลตฟอร์มที่แบรนด์มากมาให้ความสนใจและศึกษาข้อมูลเชิงลึกที่ได้รับโดยตรงจากผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑจริง

เครดิตทวีตจาก: https://twitter.com/bowty__np/status/1115921127832834053

เครดิตทวีตจาก: https://twitter.com/NUT26721/status/1143485388851310592



  1. ตรงประเด็น: ความเกี่ยวข้องและเฉพาะเจาะจง

เรื่องที่กำลังเกิดขึ้นรอบตัวเราก็เป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นบนทวิตเตอร์เช่นเดียวกัน แม้การเข้าไปสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้ใช้งานจะมีความสำคัญ แต่หัวข้อบทสนทนาก็สำคัญเช่นกัน โดยผู้ใช้งานจะมองหาแบรนด์ที่เข้าใจในความต้องการและเข้าถึงอารมณ์ในขณะนั้น ซึ่งแบรนด์ใดที่สามารถเขาได้ถูกที่ถูกเวลา คือแบรนด์ที่สามารถสร้างความเชื่อมโยงกับผู้บริโภคอย่างแท้จริง


การเข้าไปเกาะติดสถานการณ์และการเข้าใจในความต้องการของผู้บริโภคได้ถูกช่วงเวลาสามารถช่วยให้แบรนด์ได้รับผลประโยชน์อย่างมากมาย เช่น ในระหว่างมีนาคม 2562 ประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงในช่วงหน้าร้อน และ Clear TH (@clear_th) ก็ไม่รีรอที่จะออกแคมเปญของเดือนนั้นบนทวิตเตอร์เพื่อโปรโมทแชมพูขจัดรังแค ไอซ์คูล เมนทอล (สำหรับผู้หญิง) และแชมพูขจัดรังแค คูลสปอร์ต เมนทอล (สำหรับผู้ชาย) ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์ของ Clear TH กลายเป็นหัวข้อการสนทนาที่ถูกแชร์ออกไปอย่างรวดเร็ว

เครดิตทวีตจาก: https://twitter.com/clear_th/status/1106747018876092417

 

เครดิตทวีตจาก: https://twitter.com/p_patchada/status/1103532379598073857

 

เครดิตทวีตจาก: https://twitter.com/PlobJai/status/1109357583213555712

 

แพลตฟอร์มทวิตเตอร์ที่มีความสนใจที่หลากหลายนี้ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถติดตามบทสนทนา ผู้คน และแบรนด์ต่างๆ ที่ตนเองให้ความสนใจมากที่สุดได้ ด้วยการค้นหาแฮชแท็กที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อเรื่องนั้นๆ และผู้ใช้งานสามารถเห็นทวีตข้อความต่างๆ ได้แม้ว่าจะไม่ได้ติดตามบัญชีผู้ใช้งานนั้นอยู่ก็ตาม นอกจากนี้การแสดงออกถึงความชื่นชอบต่อผลิตภัณฑ์และแบรนด์โปรดของตัวเอง ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ผู้ชื่นชอบผลิตภัณฑ์ด้านความงามได้เข้ามาร่วมทวิตเตอร์ ซึ่งแบรนด์ต่ารับรู้เรื่องนี้เป็นอย่างดี จึงหันมาใช้งานบนทวิตเตอร์มากขึ้น

ทวิตเตอร์เป็นแพลตฟอร์มที่ถูกขับเคลื่อนโดยผู้ใช้งานที่มีความสนใจเรื่องเดียวกันจนกลายเป็นสังคมหลากหลายกลุ่มทั่วโลก และกลุ่มที่กำลังเติบโตอย่างมากคือ “กลุ่มความงาม” ซึ่งจากผลการศึกษาของทวิตเตอร์พบว่าผู้ใช้ทวิตเตอร์กว่า 46% มีความสนใจและติดตามผลิตภัณฑ์ด้านความสวยความงามบนแพลตฟอร์มไม่ว่าจะเป็นสกินแคร์ เครื่องสำอาง น้ำหอม และอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งนี้ด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคคนไทยที่เปิดใจรับผลิตภัณฑ์และสไตล์ใหม่ๆ จากต่างประเทศและยังคงชอบที่จะทดลองสินค้าแบรนด์ไทยเช่นกัน จึงทำให้เกิดบทสนทนาบนทวิตเตอร์เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากโดยเป็นการแบ่งปันเคล็ดลับและคำแนะนำให้กับผู้ใช้คนอื่นๆว่า ผลิตภัณฑ์อะไรที่กำลังมาแรง
เป็นต้น



ขณะที่รายงานของ Statista ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิคส์ด้านการตลาดและผู้บริโภคของอุตสาหกรรมทั่วโลก เผยว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดความงามมีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตของกลุ่มนี้เฉลี่ยต่อปีถึง 4.4% ภายในช่วงปี 2562-2566 จึงไม่น่าแปลกใจที่ทวิตเตอร์เป็นแหล่งร่วมของผู้บริโภคจำนวนมากสนใจเรื่องความงาม


พร้อมกันนี้ ทวิตเตอร์ยังเป็นแพลตฟอร์มที่มีข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากผู้บริโภคสินค้าความงามของแบรนด์ต่างๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นความคิดเห็นหลังจากใช้งาน หรือกระแสตอบรับเกี่ยวกับสินค้านั้นๆ ซึ่งทำให้แบรนด์สามารถรับรู้ได้ถึงเทรนด์ที่กำลังเกิดขึ้นหรือแม้กระทั่งเข้าไปมีส่วนร่วมในบทสนทนาแบบเรียลไทม์

แพร โตเจริญทรัพย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์ลอรีอัล ปารีส บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ทวิตเตอร์เป็นส่วนสำคัญในกลยุทธ์ของแบรนด์ เพราะสามารถเรียนรู้ถึงข้อมูลเชิงลึกจากผู้บริโภคหลากหลายกลุ่มบนทวิตเตอร์ที่พูดคุยเกี่ยวกับสินค้าและแคมเปญต่างๆ อีกทั้งยังสามารถเข้าร่วมบทสนทนา มีปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภคและสังคมในวงกว้างได้เช่นกัน สิ่งเหล่านี้นับเป็นการลงทุนในระยะยาวที่ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์และรับรู้ถึงการตอบรับของผู้บริโภคโดยตรงอีกด้วย”


อย่างไรก็ตาม หลายแบรนด์จึงพยายามเชื่อมต่อกับผู้ที่มีอิทธิพลหรืออินฟลูเอนเซอร์ในการขับเคลื่อนบทสนทนาเกี่ยวกับความสวยความงามบนทวิตเตอร์ให้เกิดขึ้นทุกวัน และมีจำนวนทวีตที่เพิ่มขึ้นกว่า 25% เมื่อเทียบกับปีต่อปี ดังนั้นทวิตเตอร์จึงเป็นแพลตฟอร์มที่แบรนด์ต่างๆ หันมาให้ความสนใจในการเข้ามามีส่วนร่วม รวมถึงการเรียนรู้ถึงพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภค



เครดิตทวีตจาก https://twitter.com/onthebest___/status/1143815709618663424

เครดิตทวีตจาก: https://twitter.com/songnnn/status/1143936656686215169


แบรนด์ต่างๆ มักจะร่วมมือกับอินฟลูเอนเซอร์ในการเข้าถึงกลุ่มสังคมความงามบนทวิตเตอร์ เช่น L’Oreal Paris TH (@LOrealParisTH) ที่ทำงานร่วมกับอินฟลูเอนเซอร์ด้านความงามและเน็ตไอดอล โดยมีการรีวิวสินค้าและทำวิดีโอการใช้สินค้า แต่ถ้าหากแบรนด์ต้องการสร้างความฮือฮามากขึ้นก็ใช้พลังของดาราดัง เช่น ชมพู่ อารยา เป็นต้น



เครดิตทวีตจาก: https://twitter.com/LOrealParisTH/status/1120273280508645376

บทสนทนาด้านความงามที่เกิดขึ้นบนทวิตเตอร์ประเทศไทยนั้นไม่ได้จำกัดว่า ผลิตภัณฑ์นั้นจะมาจากแบรนด์เล็กหรือใหญ่ แบรนด์จากต่างชาติหรือในไทย ทั้งนี้ 3 เทรนด์ด้านความงามที่แบรนด์ได้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคที่ชื่นชอบความงามบนแพลตฟอร์มทวิตเตอร์


  1. พลังของผู้คน: การใช้ประโยชน์จากพลังของการมีส่วนร่วมกับบทสนทนาบนทวิตเตอร์

ผู้ใช้ทวิตเตอร์เป็นผู้กำหนดสิ่งที่เกิดขึ้นบนทวิตเตอร์ ซึ่งนี่คือสิ่งที่ทำให้ทวิตเตอร์มีเอกลักษณ์และน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ต่างๆ และการรีวิวสินค้า การขอคำแนะนำในการใช้ผลิตภัณฑ์ การมองหาเทรนด์สีใหม่ล่าสุด กลุ่มผู้ที่ชื่นชอบความงามนั้นจะมีความชื่นชอบและหลงไหลไปกับเทรนด์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นบนทวิตเตอร์

เครดิตทวีตจาก: https://twitter.com/Kaimook41435896/status/1147525986793086976?s=19

เครดิตทวีตจาก: https://twitter.com/Ppeenon/status/1145980715047088128

การบอกเล่าถึงแบรนด์และผลิตภัณฑ์นั้นมีความสำคัญ แต่การที่ผู้บริโภคได้บอกเล่าเรื่องผลิตภัณฑ์ต่อไปยังกลุ่มเพื่อนนั้นมีพลังมากกว่า ผู้บริโภครีวิวผลิตภัณฑ์บนทวิตเตอร์กลายเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศไทย จากการติดแฮชเท็ก #ไว้รีวิวห้ามขายของโว้ยย ในการรีวิวการใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งรีวิวเหล่านี้เกิดจากผู้ใช้สินค้าตัวจริงเสียงจริงและไม่มีสปอนเซอร์หรือมีการว่าจ้างให้รีวิวแต่อย่างใด

เครดิตทวีตจาก: https://twitter.com/iluvctnw/status/1146770941763964928

แบรนด์ต่างๆ ไม่ได้เพียงแค่อ่านข้อความรีวิวเท่านั้นแต่พร้อมเข้าร่วมในบทสนทนา และหลายๆ ครั้งยังได้รีทวีตข้อความหรือรีวิวของผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์อีกด้วย

เครดิตทวีตจาก: https://twitter.com/KaofangArea/status/1139148449012523008



  1. ทุกคนแตกต่างกัน : สร้างการมีส่วนร่วมและเรียนรู้

นักการตลาดที่เก่งจะรับฟังเสียงของผู้บริโภค โดยจะเข้าไปมีส่วนร่วมในบทสนาและเรียนรู้เพิ่มเติมว่า ผู้บริโภคต้องการอะไร และทวิตเตอร์คือแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์เหล่านี้ได้ดี ซึ่งทำให้แบรนด์ต่างๆ สามารถเข้าไปร่วมและกลมกลืนไปกับบทสนทนาของกลุ่มผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์ด้านความงาม



ยูนิลีเวอร์ บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกได้จัดแคมเปญให้กับ Sunsilk Thailand (@SunsilkThailand) เพื่อจะได้เข้าใจถึงความต้องการของผู้บริโภคในเชิงลึก​ โดยการทำแบบสอบถามผู้ใช้งานทวิตเตอร์มีความคิดเห็นเกี่ยวกับกลิ่นแชมพู 3 กลิ่นใหม่ของซันซิลว่าควรจะเป็นกลิ่นอะไร ทั้งนี้ผู้ที่ตอบแบบสอบถามมีโอกาสในการร่วมชิงโชคจับรางวัลเพื่อเดินทางไปท่องเที่ยวที่บาหลีฟรี

เครดิตทวีตจาก: https://twitter.com/SunsilkThailand/status/1081958576833343488



ไม่ว่าจะเป็นแฟนฟุตบอล แฟนเกมส์ แฟนละคร ไปจนถึงผู้ที่มีความสนใจในเรื่องความงาม ทวิตเตอร์จึงเป็นแพลตฟอร์มที่แบรนด์มากมาให้ความสนใจและศึกษาข้อมูลเชิงลึกที่ได้รับโดยตรงจากผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑจริง

เครดิตทวีตจาก: https://twitter.com/bowty__np/status/1115921127832834053

เครดิตทวีตจาก: https://twitter.com/NUT26721/status/1143485388851310592



  1. ตรงประเด็น: ความเกี่ยวข้องและเฉพาะเจาะจง

เรื่องที่กำลังเกิดขึ้นรอบตัวเราก็เป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นบนทวิตเตอร์เช่นเดียวกัน แม้การเข้าไปสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้ใช้งานจะมีความสำคัญ แต่หัวข้อบทสนทนาก็สำคัญเช่นกัน โดยผู้ใช้งานจะมองหาแบรนด์ที่เข้าใจในความต้องการและเข้าถึงอารมณ์ในขณะนั้น ซึ่งแบรนด์ใดที่สามารถเขาได้ถูกที่ถูกเวลา คือแบรนด์ที่สามารถสร้างความเชื่อมโยงกับผู้บริโภคอย่างแท้จริง


การเข้าไปเกาะติดสถานการณ์และการเข้าใจในความต้องการของผู้บริโภคได้ถูกช่วงเวลาสามารถช่วยให้แบรนด์ได้รับผลประโยชน์อย่างมากมาย เช่น ในระหว่างมีนาคม 2562 ประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงในช่วงหน้าร้อน และ Clear TH (@clear_th) ก็ไม่รีรอที่จะออกแคมเปญของเดือนนั้นบนทวิตเตอร์เพื่อโปรโมทแชมพูขจัดรังแค ไอซ์คูล เมนทอล (สำหรับผู้หญิง) และแชมพูขจัดรังแค คูลสปอร์ต เมนทอล (สำหรับผู้ชาย) ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์ของ Clear TH กลายเป็นหัวข้อการสนทนาที่ถูกแชร์ออกไปอย่างรวดเร็ว

เครดิตทวีตจาก: https://twitter.com/clear_th/status/1106747018876092417

เครดิตทวีตจาก: https://twitter.com/p_patchada/status/1103532379598073857

เครดิตทวีตจาก: https://twitter.com/PlobJai/status/1109357583213555712

แพลตฟอร์มทวิตเตอร์ที่มีความสนใจที่หลากหลายนี้ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถติดตามบทสนทนา ผู้คน และแบรนด์ต่างๆ ที่ตนเองให้ความสนใจมากที่สุดได้ ด้วยการค้นหาแฮชแท็กที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อเรื่องนั้นๆ และผู้ใช้งานสามารถเห็นทวีตข้อความต่างๆ ได้แม้ว่าจะไม่ได้ติดตามบัญชีผู้ใช้งานนั้นอยู่ก็ตาม นอกจากนี้การแสดงออกถึงความชื่นชอบต่อผลิตภัณฑ์และแบรนด์โปรดของตัวเอง ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ผู้ชื่นชอบผลิตภัณฑ์ด้านความงามได้เข้ามาร่วมทวิตเตอร์ ซึ่งแบรนด์ต่ารับรู้เรื่องนี้เป็นอย่างดี จึงหันมาใช้งานบนทวิตเตอร์มากขึ้น