Search Results for: ม.มหิดล

ม.มหิดล พร้อมแสดงศักยภาพผลิตสารเสริมโภชนาการน้ำนมแม่ ดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด

ม.มหิดลพร้อมแสดงศักยภาพผลิตสารเสริมโภชนาการน้ำนมแม่ ดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด เด็กที่คลอดก่อนกำหนดจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตสู่ภาวะที่สมบูรณ์ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้พัฒนาเทคโนโลยีอาหารทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง ที่โรงงานอาหารผลิตทางการแพทย์ต้นแบบ ศาลายา เพื่อคนไทยได้มีสารเสริมโภชนาการน้ำนมแม่ (Human Milk Fortifier) ที่สามารถผลิตขึ้นได้เองในประเทศ รองศาสตราจารย์ ดร.ชลัท ศานติวรางคณา ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยถึงก้าวสำคัญของโรงงานผลิตอาหารต้นแบบมาตรฐาน จีเอ็มพี ของสถาบันฯ ซึ่งพร้อมจะดำเนินการผลิตสารเสริมโภชนาการน้ำนมแม่ชนิดเหลว (Human Milk Fortifier) จากองค์ความรู้ และประสบการณ์ในอดีต ที่มีการพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์ดังกล่าวชนิดผง ร่วมกับทางคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และทดสอบใช้ในทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักตัวต่ำ ซึ่งพบว่าได้ผลเป็นอย่างดี เทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์นำเข้า โดยมีราคาถูกกว่ามาก ผลิตภัณฑ์เสริมโภชนาการน้ำนมแม่ชนิดเหลวที่จะสร้างสรรค์ และพัฒนาต่อยอดจากชนิดผงนี้ มีข้อดีในแง่ความสะดวกในการผสมกับน้ำนมแม่ และช่วยเพิ่มความปลอดภัยด้านจุลินทรีย์ เนื่องจากการทำให้ผลิตภัณฑ์ผงปลอดเชื้อทำได้ยากกว่ามาก ทารกที่คลอดก่อนกำหนดต้องการสารอาหารสำหรับการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพื่อเร่งให้ร่างกายและสมองมีพัฒนาการเทียบเท่ากับเด็กคลอดครบกำหนด โดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกแรกคลอดที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 1,500 กรัม จำเป็นต้องเสริมสารอาหารในน้ำนมแม่ เพื่อให้ได้รับสารอาหารพอเพียง เสริมกับประโยชน์จากน้ำนมจากแม่ที่มีสารภูมิต้านทานโรค สารลดการอักเสบ สารกระตุ้นการเจริญเติบโตต่างๆ การจะก้าวขึ้นสู่แถวหน้าของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม …

Read More »

ธนชาตประกันภัย สนับสนุนทุนการศึกษาสร้างนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ม.มหิดล

นายพีระพัฒน์ เมฆสิงห์วี  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ธนชาตประกันภัย และนายคงศักดิ์ หาญแสวงสิน ประธานเจ้าหน้าที่สายงานผลิตภัณฑ์ประกันภัย ร่วมมอบทุนการศึกษา จำนวน 1 ทุน รวมเป็นเงินกว่า 380,000 บาท สนับสนุนโครงการผลิตบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประกันภัย(นานาชาติ) ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยามหิดล เพื่อส่งเสริมศักยภาพของเยาวชนไทยในการพัฒนาทักษะทั้งด้านคณิตศาสตร์ สถิติศาสตร์ และการเงินที่เกี่ยวของกับธุรกิจประกันภัย โดยปีนี้ผู้ที่ได้รับทุน ได้แก่ นางสาวเบญชญา บุญฤทธิ์ ซึ่งเมื่อจบการศึกษาระดับปริญญาตรี จะได้รับโอกาสในการทำงานร่วมกับบริษัทฯ ในตำแหน่งนักคณิตศาสตร์ประกันภัย (Actuary) ซึ่งเป็นนักวิเคราะห์ความเสี่ยง ที่มีความเชี่ยวชาญในการประเมินผลกระทบด้านการรับประกันภัยและการเงินในสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต สร้างประโยชน์สูงสุดให้กับองค์กรและอุตสาหกรรมประกันภัยของไทย ทั้งนี้ “โครงการผลิตบัณฑิตนักคณิตศาสตร์ประกันภัย” เป็นความร่วมมือระหว่าง บมจ.ธนชาตประกันภัย กับ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประกันภัย(นานาชาติ) ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยามหิดล จัดทำโปรแกรมการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ได้รับทุนเลือกมากถึง 3 โปรแกรม พร้อมมีเงินสนับสนุนกรณีสอบผ่านหลักสูตร “Casualty Science” รวมเป็นเงินสูงสุดกว่า 2.3 …

Read More »

บ้านปู และคณะสิ่งแวดล้อมฯ ม.มหิดล เชิญชวนน้องมัธยมฯ ปลายทั่วประเทศร่วมเข้าค่าย “เพาเวอร์กรีน” ครั้งที่ 16 กับหัวข้อ “ECO Living & Learning – เปลี่ยนปรับสู่กรีนไลฟ์สไตล์ ตอบรับ New Normal” สร้างประสบการณ์เรียนรู้ออนไลน์แบบไร้ขีดจำกัด ยกห้องทดลองไปหาน้องๆ ถึงที่บ้าน สมัครได้จนถึง 30 ก.ย.นี้

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ ร่วมกับคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอเชิญชวนเยาวชนหัวใจสีเขียวที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ไม่จำกัดแผนการเรียน) ทั่วประเทศ สมัครเข้าร่วมค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Power Green Camp) ครั้งที่ 16 ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ ภายใต้หัวข้อ “ECO Living & Learning – เปลี่ยนปรับสู่กรีนไลฟ์สไตล์ ตอบรับ New Normal” เปิดโอกาสให้เยาวชนได้เรียนรู้แนวทางการใช้ชีวิตประจำวันอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในหัวข้อการเรียนรู้ที่หลากหลาย และสามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในสถานการณ์ปัจจุบันที่ทุกคนใช้เวลากับการทำกิจกรรมภายในบ้านมากขึ้น ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผสมผสานทั้งภาคทฤษฎี และการลงมือปฏิบัติจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งอุปกรณ์ชุดทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ค่ายฯ จัดส่งให้ถึงบ้าน เสริมสร้างพลังแห่งการเรียนรู้แบบไร้ขีดจำกัด ภายใต้แนวคิดของค่ายฯ “วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม – เรียนรู้สู่การปฏิบัติ” เยาวชนที่ได้รับการคัดเลือกทั้ง 40 คน จะได้เข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้แบบออนไลน์ที่จัดขึ้นในช่วงวันหยุดและช่วงสุดสัปดาห์ระหว่างวันที่ 16 ตุลาคม ถึง 21 พฤศจิกายนนี้ โดยเริ่มต้นตั้งแต่การปูพื้นฐานนักวิทย์กับกิจกรรม Transformative Learning …

Read More »

ม.มหิดล วิจัยนวัตกรรมรากฟันเทียมเซรามิกเพื่อคุณภาพชีวิตคนไทย ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพิ่มความแม่นยำในการฝังรากฟันเทียม

การทำรากฟันเทียม เป็นวิธีการทดแทนฟันที่สูญเสียไป ซึ่งเกิดขึ้นได้ในหลายกรณี โดยทันตแพทย์จะพิจารณาทำรากฟันเทียมให้เฉพาะผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป หรือหยุดการเจริญเติบโตแล้วเท่านั้น ในปัจจุบัน “ไทเทเนียม” เป็นวัสดุที่ถูกนำมาใช้ในการผลิตรากฟันเทียม  ซึ่งอาจจะมีข้อจำกัดในผู้ที่แพ้โลหะ แต่ปัจจุบันได้พบว่า “เซรามิก” ได้กลายเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่สามารถนำมาใช้ทดแทนไทเทเนียม โดยให้ความแข็งแรงที่ใกล้เคียงกัน และอาจจะทำให้สวยงามได้ดีกว่า เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีสีคล้ายฟันธรรมชาติ   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เรืออากาศโท ทันตแพทย์ชัชชัย คุณาวิศรุต ภาควิชาทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำรากฟันเทียมเปิดเผยว่า รากฟันเทียมมีบทบาทมากในการให้การรักษาผู้ป่วยทางทันตกรรม เนื่องจากเมื่อผู้ป่วยสูญเสียฟันไปแล้ว ประสิทธิภาพในการบดเคี้ยว การพูดคุย การยิ้ม ตลอดจนการใช้งานต่างๆ ก็จะลดลงตามไปด้วยอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งรากฟันเทียมจะช่วยทดแทนฟันที่สูญเสียไป จากเดิมที่ฟันเหลือน้อยซี่ ให้มีฟันเพิ่มขึ้น แน่นขึ้น ใช้เคี้ยวอาหารได้มากขึ้น ทำให้ผู้ที่ไม่มั่นใจในบุคลิกภาพเนื่องจากการสูญเสียฟัน เมื่อได้มาทำรากฟันเทียม จะพบว่ามีคุณภาพชีวิตดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อุปสรรคที่พบในผู้ป่วยที่เข้ารับการทำรากฟันเทียมส่วนใหญ่เป็นเรื่องของความกลัว เพราะว่าในการทำรากฟันเทียม ทันตแพทย์ต้องฝังรากฟันเทียมลงไปในกระดูกที่อยู่ในช่องปากของผู้ป่วย ทำให้บางรายกลัวว่าจะเจ็บ หรือปวดระบมหลังทำ แต่กระบวนการ หรือวิธีการทำรากฟันเทียมปัจจุบันพัฒนาขึ้นจนทำให้แผลที่เกิดขึ้นเล็กมาก และในระหว่างทำก็มีการฉีดยาชา …

Read More »

ม.มหิดล ได้ที่ 1 ของไทย ในภาพรวม (Overall Ranking) และด้านวิจัย (Research Pillar) จากผลการจัดอันดับ Times Higher Education World University Rankings 2021

เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการประกาศผลการจัดอันดับ Times Higher Education World University Rankings 2021 จากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลกกว่า 1,500 แห่ง จาก 93 ประเทศ โดยมหาวิทยาลัยมหิดลได้รับคะแนนรวมดีที่สุด เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย ทั้งในภาพรวม (Overall Ranking) และทางด้านการวิจัย (Research Pillar) ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า Times Higher Education (THE) สถาบันจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกจากประเทศสหราชอาณาจักร จัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกต่อเนื่องเป็นปีที่ 17 นับตั้งแต่ปี 2004 โดยพิจารณาจากตัวชี้วัดคุณภาพ 5 ด้าน คือ การเรียนการสอน (Teaching) ร้อยละ 30, การวิจัย (Research) …

Read More »

นักศึกษา ป.โท สถาบันวิจัยภาษาฯ ม.มหิดล วิจัยส่งเสริมวัฒนธรรม สร้างสรรค์การเรียนภาษาอังกฤษผ่านละครพื้นบ้านโคราช “ท้าวปาจิตกับนางอรพิม” ได้รับการตีพิมพ์ในฐานข้อมูล Scopus และเสนอผลงานในระดับนานาชาติ

  เมื่อเร็วๆ นี้ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดกรองรางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น เพื่อนำเสนอผลงานแบบปากเปล่า (Oral Presentation) โดยผลงานวิทยานิพนธ์ เรื่อง “การใช้ละครพื้นบ้านอีสานเพื่อลดความกังวลในชั้นเรียนภาษาอังกฤษของผู้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษา” ของ นางสาวพัชราภรณ์ อินภู่ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นผลงานที่เคยได้รับการตีพิมพ์ในฐานข้อมูล Scopus และเสนอผลงานในระดับนานาชาติ จะร่วมเสนอผลงานผ่านระบบออนไลน์ ในวันที่ 14 กรกฎาคม 2563 นี้ รองศาสตราจารย์ ดร.สิงหนาท น้อมเนียน รองผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและบริการวิชาการ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาหลักว่า ในทุกครั้งที่เรามีการสื่อสาร จะสะท้อนอัตลักษณ์ของตัวผู้พูดผ่านภาษาที่มีวัฒนธรรมแฝงอยู่ เพื่อบ่งบอกว่าเราเป็นใครมาจากไหน เนื่องจากสังคมปัจจุบันมีความซับซ้อนมากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการทำวิจัยเพื่อให้เราสามารถใช้วิธีการสื่อสารหลากหลายมากขึ้น ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญของ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ที่เน้นการศึกษาและวิจัยภาษาควบคู่กับวัฒนธรรม ซึ่งเป็นไปอย่างกระจกสะท้อนซึ่งกันและกัน โดยการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจะทำให้ผู้ใช้ภาษาสามารถเข้าใจวัฒนธรรม แล้วก็สามารถที่จะสื่อสารถึงผู้อื่นได้ ตลอดจนมีความเข้าใจถึงเบื้องหลังทางสังคมวัฒนธรรมที่อยู่ภายใต้ตัวภาษาได้ในขณะเดียวกัน “แสงไฟที่ปลายอุโมงค์” ในภาวะวิกฤติ …

Read More »

ม.มหิดล เตรียมต่อยอดพัฒนาวัคซีนภูมิแพ้ไรฝุ่นให้ผู้ป่วยใช้เองได้ที่บ้าน ลดเสี่ยงติด Covid-19

โรคภูมิแพ้ เป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย แม้ยังไม่มีรายงานว่าผู้ป่วยโรคภูมิแพ้เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส Covid-19 แต่ก็ได้รับผลกระทบเนื่องจากมีมาตรการล็อกดาวน์ที่ทำให้ไม่สามารถไปพบแพทย์เพื่อติดตามการรักษาได้เหมือนก่อน Covid-19 ระบาด จากความสำเร็จของการพัฒนาผลิตวัคซีนภูมิแพ้ไรฝุ่นครั้งแรกของอาเซียน โดย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนยาแล้ว จาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภูมิแพ้ไรฝุ่นในวันนี้ดีขึ้น โดยเป็นการรักษาที่สาเหตุโดยตรง และผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการดูแลรักษาได้อย่างเท่าเทียมกัน รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์พงศกร ตันติลีปิกร รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการความร่วมมือการผลิตวัคซีนสำหรับโรคภูมิแพ้ กล่าวว่า “โรคภูมิแพ้” พบได้ร้อยละ 30-40 ของประชากรไทย ซึ่งเหมือนกับอุบัติการณ์ในต่างประเทศทั่วโลก และ “ไรฝุ่น” เป็นสารก่อภูมิแพ้ที่เป็นสาเหตุหลักของโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชีย และประเทศเขตร้อน ปัจจุบันยังไม่มีรายงานว่าผู้ป่วยโรคภูมิแพ้เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส Covid-19 ซึ่งอาการของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ไรฝุ่นจะมีความแตกต่างจากผู้ป่วยโรค Covid-19 โดยผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ไรฝุ่นจะมีอาการคันจมูก คันตา คัดจมูก จาม และ น้ำมูกใสไหลเป็นอาการเด่น บางรายที่แพ้ไรฝุ่นมาเป็นระยะเวลาหนึ่งก็อาจจะมีอาการหืดจากหลอดลมหดตัวได้ แต่ผู้ป่วยภูมิแพ้ไรฝุ่นมักจะไม่มีอาการไข้เหมือนกับผู้ป่วย Covid-19 ที่ในบางรายพบอาการปอดอักเสบ …

Read More »

ม.มหิดล พร้อมรับ New Normal ใช้ชีวิตด้วยสติ หลังช่วงวิกฤต Covid-19

ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมรับ New Normal หลังช่วงวิกฤต     Covid-19 เตรียมเฝ้าระวังอย่างยั่งยืน ป้องกันผู้ป่วยตามหลักการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการรับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข(Universal Precautions) รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระ กลลดาเรืองไกร ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ที่ผ่านมา ตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19  ศูนย์การแพทย์ฯ ได้มีบทบาทในการจัดทำวีดิทัศน์ให้กำลังใจแก่บุคลากรทางการแพทย์ของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และเนื่องจากโรงพยาบาลทั้ง 3 แห่ง คือ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ (SiPH) และ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลมีผู้ป่วยที่เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเป็นจำนวนมาก จึงได้จัดทำเสียงให้คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยเพื่อความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Covid-19 ใน 3 ภาษา ได้แก่ ไทย อังกฤษ จีน และได้ส่งมอบให้กับทุกโรงพยาบาลในประเทศไทยอีกด้วย นอกจากนี้ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดทำวีดิทัศน์ให้คำแนะนำในการล้างและอบรถพยาบาล ตลอดจนจัดทำวีดิทัศน์ให้คำแนะนำสำหรับรถแท็กซี่ในการดูแลตัวเองเพื่อให้ปลอดภัยจาก Covid-19 ซึ่งได้มอบให้กรมการขนส่งทางบก เพื่อนำไปใช้ในการเผยแพร่ต่อไปแล้ว รวมทั้งได้จัดทำวีดิทัศน์แนะนำการประดิษฐ์หน้ากากผ้าเพื่อทดแทนหน้ากากอนามัยที่กำลังขาดแคลนสำหรับประชาชนทั่วไปเผยแพร่ทางYouTube อีกด้วย แม้ปัจจุบันวิกฤต Covid-19 จะบรรเทาเบาบางลง โดยพบจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงลดลง ซึ่งกลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มาพักรักษาตัวอยู่ที่ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา จังหวัดนครปฐม จะมีอาการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อย่างไรก็ดี ทางศูนย์การแพทย์ฯ ก็ได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์อยู่เสมอ ทั้งในด้านบุคลากรอุปกรณ์ทางการแพทย์ และสถานที่ ซึ่งแม้ที่ผ่านมา ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา จังหวัดนครปฐม จะต้องปิดการให้บริการบางส่วนตามมาตรการการรักษาระยะห่างทางสังคมแต่ก็ได้มีการอำนวยความสะดวกส่งยาให้ผู้ป่วยที่บ้าน เพื่อไม่ให้เกิดภาวะขาดยา พร้อมทั้งมีการจัดแพทย์ให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ สิ่งที่ทางศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จะต้องเตรียมต่อไปในอนาคต ก็คือ การป้องกันผู้ป่วยตามหลักการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการรับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข (Universal Precautions) ที่มองว่าทุกคนมีโอกาสที่จะเป็นผู้ติดเชื้อ ดังนั้นจึงต้องทำงานกันด้วยสติให้มากที่สุด เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากเมื่อไหร่ก็ตามที่บุคลากรติดเชื้อ จะได้รับคำสั่งให้หยุดงานเพื่อรอดูอาการ 14 วัน “ด้วยประสบการณ์ในการดูแลตัวเอง และดูแลคนรอบข้างตลอดช่วงวิกฤต Covid-19 ที่ผ่านมา เมื่อต้องใช้ชีวิตแบบ New Normal หลังจากนั้นเป็นต้นไป เชื่อว่าการดำเนินชีวิตของทุกคนจะเปลี่ยนไปในแง่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม” รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระ กลลดาเรืองไกร ผู้อำนวยการคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวทิ้งท้าย สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210

Read More »

พระบัณฑิตอาสา ม.มหิดล สานต่อกิจกรรมอบรมเยาวชนสร้างสรรค์ “ธรรมะทูเดย์” ปรับสู่ระบบออนไลน์หลังวิกฤต Covid-19

พระบัณฑิตอาสา วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล แนะใช้หลักอิทธิบาท 4 ปรับตัวช่วงวิกฤต Covid-19 พร้อมเตรียมสร้างสรรค์กิจกรรมอบรมเยาวชนสร้างสรรค์ “ธรรมะทูเดย์” สู่ระบบออนไลน์ พระสุมินทร์ คำภีรปัญโญ หรือ “หลวงพี่มิน” หัวหน้าพระวิทยากร ธรรมะทูเดย์ บัณฑิตอาสาวิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่าด้วยวิกฤต Covid-19 ทำให้เยาวชนต้องปรับตัวสู่การเรียนระบบออนไลน์ โดย “หลวงพี่มิน” ได้แนะนำคาถาสู่ความสำเร็จที่เรียกว่า“อิทธิบาท 4″ คือ “ฉันทะ” หรือ ความพอดี ความพอใจ “วิริยะ” หรือความขยัน “จิตตะ” หรือ ความตั้งใจมั่น และ “วิมังสา” คือ หมั่นนึกตรึกตรอง  ก่อนอื่นเราต้องยอมรับปรับใจกับสถานการณ์ที่ทุกคนต้องเผชิญ แล้วเปลี่ยนวิกฤตนั้นให้เป็นโอกาสที่จะได้เรียนรู้ด้วยตนเอง อยู่ที่ไหนก็เรียนได้ ไม่จำกัดแต่ในชั้นเรียน ขอเพียงมีความตั้งใจจริง มีวินัยในตัวเอง พร้อมหมั่นทบทวนอยู่เสมอ ก็จะสามารถประสบความสำเร็จในการเรียนได้ไม่ยาก “หลวงพี่มิน” เชื่อมั่นใน “ทฤษฎี 21 วัน” ของ ดร.แมกซ์เวล มอลซ์ (Dr.Maxwell Maltz) นักจิตวิทยาชื่อดัง ที่กล่าวถึงการลงมือทำจนเป็นนิสัยติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอเป็นเวลา 21 วันจะทำให้เราสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นคนใหม่ได้ หากเราทำไปโดยไร้จุดหมายทิศทางอาจทำให้เกิดความท้อถอย การใช้หลักอิทธิบาท 4 จะเป็นเข็มทิศคอยนำทางชีวิตให้เราไปสู่ฝั่งฝันได้ ซึ่งไม่พบว่าเป็นปัญหาสำหรับนักศึกษาที่เป็นสมณะเนื่องจากได้รับการฝึกฝนให้อยู่กับตัวเอง และพร้อมที่จะปรับตัวเรียนรู้สิ่งใหม่ “หลวงพี่มิน” กล่าวต่อไปว่า ในช่วงหลังวิกฤต Covid-19 กิจกรรมธรรมะทูเดย์ ที่ดำเนินการโดยพระบัณฑิตอาสา วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ก็จะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นการอบรมออนไลน์เช่นเดียวกัน แต่ยังคงแนวคิดเดิมที่ต้องการส่งเสริมให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้ใกล้ชิดธรรมะ ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย และใช้ได้จริง ผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ออกแบบให้เยาวชนทุกคนได้มีส่วนร่วมพร้อมรอยยิ้ม  “โลกทุกวันนี้เปิดกว้างไร้พรมแดน ลองดูสิว่ามีสิ่งไหนบ้างที่เราสามารถทำได้ ตราบใดที่พระอาทิตย์เมื่อตกลงไปแล้วยังขึ้นได้ ยังมีวันพรุ่งนี้ที่เป็นวันใหม่ให้เราเสมอ ขอเพียงเราอย่ายอมแพ้ และมีจิตใจของนักสู้ เชื่อว่าเราจะสามารถผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกันได้อย่างแน่นอน” “หลวงพี่มิน” กล่าวทิ้งท้าย ติดตามพร้อมให้ข้อเสนอแนะกิจกรรมเยาวชนสร้างสรรค์ได้ที่ Facebook: ธรรมะทูเดย์ บัณฑิตอาสาวิทยาลัยศาสนศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210

Read More »

ม.มหิดล ติดอันดับที่ 1 ของประเทศไทยจากการประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกล่าสุดโดย Round University Ranking (RUR)

ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 Round University Ranking (RUR) ซึ่งเป็นสถาบันจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกจากสหพันธรัฐรัสเซีย ได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ประจำปี ค.ศ.2020 หรือ RUR World University Ranking 2020 บนเว็บไซต์ https://roundranking.com/ranking/world-university-rankings.html#world-2020 โดยการจัดอันดับในปีนี้ ม.มหิดล ได้รับการจัดอันดับดีที่สุดในไทย ถือเป็นอันดับที่  1 ของประเทศ และเป็นอันดับที่399 ของโลก (overall scores) ซึ่ง ม.มหิดล มีอันดับที่สูงขึ้นถึง 29 อันดับ(ปีที่ผ่านมาอยู่ในอันดับที่ 428) นอกจากนี้ จากผลการจัดอันดับดังกล่าว ม.มหิดล ยังเป็นอันดับ 1 ในไทย จากการจัดอันดับตามหลักเกณฑ์ตัวชี้วัด (Rankings by Indicators) ได้แก่ ด้านการเรียนการสอน (Teaching) อยู่อันดับ 242 ของโลก และด้านความหลากหลายของความเป็นนานาชาติ (International Diversity) อยู่อันดับ 457 ของโลก รวมทั้งเป็นที่ 1 ในไทย ใน 7 ตัวชี้วัดได้แก่ Academic staff per student (สัดส่วนจำนวนอาจารย์ต่อนักศึกษา) อันดับที่ 140 ของโลก, Academic staff per bachelor degrees awarded (สัดส่วนจำนวนอาจารย์ต่อนักศึกษาที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี) อันดับที่ 144 ของโลก, Citations per academic and research staff (จำนวนการอ้างอิงของผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล Web of Science) อันดับที่ 515 ของโลก, Share of international students (สัดส่วนจำนวนนักศึกษาต่างชาติ) อันดับที่ 643 ของโลก, International level (ภาพรวมของความเป็นนานาชาติ) อันดับที่ 457 ของโลก, Institutional income per academic staff (สัดส่วนรายรับมหาวิทยาลัยต่อจำนวนอาจารย์) อันดับที่ 40 ของโลก, Institutional income …

Read More »