ชุมชนต้นแบบในการจัดการทรัพยากรทางสังคมและเศรษฐกิจเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ จังหวัดปทุมธานี

รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด อธิการบดี กล่าว “มทร.ธัญบุรี”มุ่งสร้างงานวิจัยเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม สอดคล้องกับอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของประเทศรวมถึงส่งเสริมการพัฒนาการวิจัยและสร้างนวัตกรรมเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และส่งเสริมผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ ฉะนั้น ทุกงานวิจัยจะต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อชุมชน และสังคม โดยตั้งเป้าไว้ว่า 5 ปี จะมีอาจารย์เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย 100% เน้นงานวิจัยบูรณาการหลายๆ ศาสตร์เข้าด้วยกัน แม้งานวิจัยบางส่วนเป็นการทำงานวิจัยที่จุดเริ่มต้นมาจากพื้นที่ ชุมชนต่างๆ ก็ตาม ท้ายที่สุดจะสามารถพัฒนาต่อยอดไปเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาประเทศต่อไปได้ โดยที่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรเป็นสิ่งที่สำคัญควบคู่ไปกับการจัดการทรัพยากรทางสังคมและเศรษฐกิจแบบองค์รวม เพื่อรักษาคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน เป็นความสำคัญสำหรับงานส่งเสริมสุขภาพในมิติระดับสังคมที่มีแนวคิดของการส่งเสริมสุขภาพอย่างเป็นระบบ และเพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างแบบแผนการดำเนินชีวิตของบุคคลแต่ละช่วงวัยในสังคมชุมชนนั้นๆ จึงทำให้ขอบข่ายและแนวคิดเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ มีมิติของความสลับซับซ้อน กว้างขวาง ลึกซึ้ง และมีพลวัตแตกต่างไปจากเดิมโดยเฉพาะในสถานะการณ์ที่เกิดโรคระบาดไวรัส โควิด 2019

“ ผศ.ดร.วารุณี อริยวิริยะนันท์” ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี หัวหน้าโครงการยกระดับการจัดการเชิงพื้นที่ด้วยการใช้นวัตกรรม : เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการของเสียและสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานีได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ปี 2563  เล่าว่า เคหะชุมชนรังสิต ตำบลคลองหก อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เป็นเคหะชุมชนต้นแบบที่มีคณะวิจัยมุ่งพัฒนาการจัดการทรัพยากรทางสังคมและเศรษฐกิจแบบองค์รวมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ด้วยเป็นชุมชนที่มีประชากรอาศัยอยู่กันอย่างหนาแน่น จากการสำรวจข้อมูลบริบทเชิงพื้นที่ พบว่า ประชาชนในพื้นที่มีรายได้เฉลี่ยตำกว่า 15000 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 84.5 และมีประชากรผู้สูงอายุ คิดเป็นร้อยละ 27.2 ของประชากรในพื้นที่ ส่วนปัญหาสุขภาพหลักของประชาชน พบว่าเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคไขมันในเลือดสูง ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ที่จะต้องมีค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพสูง ดังนั้นจึงมีคณะวิจัย นำโดย ดร.ฉไน น้อยแสง จาก คณะการแพทย์บูรณาการ ร่วมกับคณาจารย์อีก 3 คณะ จึงได้สนใจทำชุดโครงการวิจัยนวัตกรรมเพื่อการจัดการทรัพยากรทางสังคมและเศรษฐกิจแบบองค์รวมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ตลาดไทและชุมชนต้นแบบ: เคหะรังสิคลองหก จังหวัดปทุมธานี  เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดี กระบวนการขับเคลื่อนการทำงานวิจัยเพื่อให้ผลลัพธ์ผลกระทบต่อชุมชนสูง ชุดโครงการวิจัยนี้เน้นการสร้าง ชุมชนนวัตกรรมโดยผ่านนวัตกรชุมชน ในพื้นที่ ช่วยในการขับเคลื่อนงานวิจัยร่วมกับองค์ความรู้และเทคโนโลยีจากมหาวิทยาลัยฯ นำไปปรับใช้อย่างเหมาะสมกับการพัฒนาพื้นที่ตนเอง ซึ่งผลลัพธ์และผลกระทบที่ได้จะนำไปสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ได้

แนวคิดจากงานวิจัยชุดโครงการวิจัย ดร.ฉไน น้อยแสง เล่าว่า เพื่อที่จะมุ่งเน้นให้ชุมชนนั้นมีกระบวนการคิดร่วมกันด้านการส่งเสริมสุขภาพได้มุ่งเน้นให้ความสำคัญตั้งแต่ต้นน้ำ จนถึงปลายน้ำ เป็นวิธีการที่ทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาทางสุขภาพตั้งแต่ต้นทาง โดยการสร้างกระบวนการคิดอย่างร่วมมือทั้งในด้านการจัดการ ตั้งแต่ศึกษาต้นทุนชุมชนทั้งในด้านประชากร สุขภาพ เศรษฐกิจ รายได้และอาชีพ นำมาสู่การมีระบบการเก็บข้อมูลภายในจัดทำเป็นข้อมูลชุมชน การทำงานร่วมกับผู้ที่มีส่วนได้เสียทั้งในชุมชนและการทำงานร่วมของกลุ่มคนภายนอก ข้อมูล การสร้างความคิดเชิงนวัตกรรม เพื่อร่วมคิดร่วมทำสร้างเป็นต้นแบบด้านสุขภาวะในชุมชนที่สามารถต่อยอดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สินค้าและการสร้างอาชีพไปพร้อมๆ กัน โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนกระบวนคิดการทำงานร่วมกัน และสภาพแวดล้อมจากศูนย์ส่งเสริมสุขภาพองค์รวมที่มีแนวทางการทำงานที่จะให้สมาชิกในชุมชนเข็มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ด้วยกิจกรรมที่มีความความสัมพันธ์และเสริมซึ่งกันและกัน ในแต่ละแผนงานและกิจกรรมต้นแบบในการดูแลสุขภาพจากในบ้านที่สามารถสร้างรายได้และลดรายจ่ายด้านสุขภาพ ด้วยการจัดการข้อมูลชุมชน การนวดแผนไทย การผลิตการปลูกผักสมุนไพร การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากสารเคมีที่ชุมชนสามารถผลิตได้ด้วยตนเอง และนำไปสู่การสร้างรายได้จากการจำหน่ายสินค้าที่ผลิตร่วมกันในชุมชน

โดยมีการทำงานแบบบูรณาการร่วมศาสตร์ ประกอบด้วย 4 โครงการวิจัย ตั้งแต่ 1) การวิจัยและพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านการส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของครอบครัว ของ ดร. ไฉน น้อยแสง คณะการแพทย์บูรณาการ พัฒนาทักษะพร้อมสร้างนวัตกรชุมชนที่สามารถให้บริการสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย เพื่อที่จะลดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ และเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่โดยการขับเคลื่อนรูปแบบธุรกิจศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ เคหะชุมชนรังสิต ตำบลคลองหก ที่จะเปิดให้บริการสุขภาพ ได้แก่ การนวดเพื่อส่งเสริมสุขภาพ การประคบสมุนไพร การนวดเท้า พร้อมทั้งจำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุน 2) การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบผักและผลไม้เหลือทิ้งจากตลาดไท ของ ดร.ณัฐนรี ศิริวัน คณะการแพทย์บูรณาการ เป็นโครงการที่หนุดเสริมการสร้างเศรษฐกิจให้กับชุมชนในพื้นที่ โดยนำวัตถุดิบผักและผลไม้เหลือทิ้งที่เป็นวัตถุดิบเกรดดีมาผ่านกระบวนการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และนำองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปถ่ายทอดให้กับนวัตกรในพื้นที่เพื่อผลิตและจัดจำหน่ายที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ 3) วิจัยการพัฒนาโมเดลทางธุรกิจในพื้นที่ชุมชนต้นแบบ: เคหะรังสิตคลองหก ของ ดร.วาสนา ศิลป์รุ่งธรรม คณะบริหารธุรกิจ เป็นโครงการที่บ่มเพาะ และพัฒนาทักษะประชาชนให้สามารถเกิดธุรกิจเพื่อสุขภาพในชุมชน และ 4) การบริหารจัดการสื่อและจัดสรรข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อศึกษาบริบทชุมชนและพัฒนาแนวทางส่งเสริมสุขภาวะชุมชนพื้นที่ต้นแบบเคหะคลองหก ของ ผศ. ดร. กัญญาณัฐ เปลวเฟื่อง คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ได้ทำระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อใช้ในการสนับสนุนการให้บริการและการวางแผนกำกับติดตามการ ดำเนินงาน ทั้งข้อมูลการให้บริการและผลลัพธ์ด้านสุขภาพของเคหะชุมชน ซึ่งจากผลการดำเนินวิจัยใน 1 ปีที่ผ่านมา ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชนคือทำให้ประชาชนในชุมชนได้ปรับมโนทัศน์ในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวในมิติที่กว้างขึ้นทั้งทางกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และจิตวิญญาณ โดยมีภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการเข้ามาในการจัดการปัญหาสุขภาพร่วมกันในพื้นที่เคหะชุมชนรังสิต