บริษัทที่มีหนี้สินจำนวนมากจะต้องแบกรับภาระการจ่ายดอกเบี้ยสูง และเมื่อสภาพคล่องเสื่อมลงต่อเนื่องจนหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินก็จะเข้าข่าย ‘หนี้สินล้นพ้นตัว’ และกลายเป็นบริษัทล้มละลาย ต้องคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ โดยในช่วงที่ผ่านมามีหลายบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่มีหนี้สินจำนวนมากจนต้องเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการ
ครั้งนี้ ‘Business+’ จะพามาสำรวจธุรกิจที่มีหนี้สินสูงเมื่อเทียบกับส่วนของเจ้าของ เพื่อตรวจสอบว่าบริษัทเหล่านี้แบกรับภาระหนี้สินเท่าไหร่ และเมื่อเทียบกับธุรกิจอื่นๆ แล้ว สัดส่วนของหนี้สินเป็นอย่างไร?
ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจอัตราส่วนทางการเงิน 1 ตัวที่สำคัญอย่างมาก นั่นคือ ‘อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน’’ (Debt to Equity Ratio) หรือ D/E ซึ่งอัตราส่วนนี้บ่งบอกได้ว่า บริษัทมีภาระหนี้สินมากน้อยแค่ไหนหากนำมาเปรียบเทียบกับส่วนของเจ้าของ
โดยค่า D/E จะนำตัวเลขหนี้สินรวม และส่วนของเจ้าของ (ส่วนของผู้ถือหุ้น) ซึ่งบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะต้องแจ้งในงบแสดงฐานะทางการเงินของบริษัทมาเปรียบเทียบกัน โดยปกติแล้วอัตราส่วนนี้ ไม่ได้มีการกำหนดไว้ชัดเจนว่าต้องมีค่าเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ แต่โดยทั่วไปแล้วค่า D/E ที่นักลงทุนยอมรับได้มักไม่เกิน 2 เท่า แปลได้ง่ายๆ ว่า บริษัทควรมีหนี้สินมากกว่าส่วนของเจ้าของไม่เกิน 2 เท่า หากมากไปกว่านี้จะเท่ากับว่าบริษัทนั้นๆ มีความเสี่ยงที่จะต้องแบกรับภาระจากหนี้สินจำนวนมากเกินไป
แต่ค่าD/E ที่มากกว่า 2 เท่าสำหรับกลุ่มธนาคาร และประกันชีวิตไมได้หมายความว่าบริษัทนั้นมีภาระหนี้มากเกินไป เพราะบริษัทเหล่านี้มีผลิตภัณฑ์หลักคือ เงินฝากที่จะถูกนับเป็นหนี้สินของบริษัท จึงทำให้ค่า D/E ค่อนข้างสูงราว 5-10 เท่า เป็นเรื่องปกติ
ทีนี้มาดูกันว่าในตลาดหุ้นไทย (SET) ธุรกิจไหนมีหนี้สินสูงที่สุดเมื่อเทียบกับส่วนของผู้ถือหุ้น
ที่มา : Setsmart ,Thaibma
ติดตามผ่าน TikTok ได้ที่ : https://www.tiktok.com/@thebusinessplus
Line Business+ : https://lin.ee/pbIHCuS
IG : https://www.instagram.com/businessplus.newgen2021/
#TheBusinessPlus #Businessplus #BusinessPlus #นิตยสารBusinessplus #หนี้สิน #D/E