อุตสาหกรรมโรงกลั่นเร่งลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัลภายใน3 – 5ปี

เอคเซนเชอร์สำรวจเทรนด์อุตสาหกรรมโรงกลั่น มีแนวโน้มลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้นเพื่อช่วยลดต้นทุนการดำเนินงาน โดยมุ่งเน้นการลงทุนเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์เพื่อลดโอกาสเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์

แม้ว่าดิจิทัลจะไม่ใช่การลงทุนที่สำคัญในลำดับต้น ๆ ของผู้ประกอบการธุรกิจกลั่นน้ำมันก็ตาม แต่ล่าสุดมีมูฟเม้นท์ที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมดังกล่าวโดย ผลวิจัยล่าสุดจากเอคเซนเชอร์ชี้ให้เห็นว่า 2 ใน3ของธุรกิจกลั่นน้ำมันมีแผนจะเพิ่มการลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัลภายในช่วง3 – 5ปีข้างหน้า

ทั้งนี้งานวิจัย The Accenture Connected Refinery ซึ่งสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ และวิศวกร กว่า200 คนทั่วโลก ชี้ให้เห็นตรงกันว่าผู้ตอบแบบสำรวจเกินครึ่งกว่าร้อยละ57 เผยว่าการลงทุนด้านดิจิทัลโดยรวมของบริษัท มีมูลค่ามากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

อย่างไรก็ดี แม้แนวโน้มการลงทุนด้านดิจิทัลจะเพิ่มขึ้น แต่มีธุรกิจเพียงร้อยละ19 เท่านั้นที่จัดให้ดิจิทัลเป็นหนึ่งในเรื่องที่มีความสำคัญ 3 อันดับแรก สำหรับการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพการผลิตในช่วง3 ปีข้างหน้า

ซึ่งผู้ประกอบการณืมองว่าเทคโนโลยีดิจิทัลช่วยเอื้อประโยชน์กับธุรกิจในเรื่องของการบริหารจัดการโรงงานมีประสิทธิที่มีภาพมากขึ้น (ร้อยละ63) ช่วยลดอัตราความเสี่ยงในการดำเนินงาน (ร้อยละ59) และทำให้การซ่อมบำรุงมีประสิทธิภาพและคาดการณ์ได้มากขึ้น (ร้อยละ54)

สำหรับการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานนั้น เป็นคำตอบติด1ใน3 ที่ธุรกิจให้ความสำคัญมากที่สุด โดยเป็นปัจจัยที่จะผลักดันให้ธุรกิจโรงกลั่นลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัลต่อไป ซึ่งแน่นอนว่ากว่าครึ่งของผู้ประกอบการเห็นตรงกันอีกว่าการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้หมายถึงธุรกิจต้องลงทุนเพิ่ม

นางสาวอินทิรา เหล่ามีผล กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจ Resource Operating Group เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย
นางสาวอินทิรา เหล่ามีผล กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจ Resource Operating Group เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย

อินทิรา เหล่ามีผล กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจResource Operating Group เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย กล่าว“ความจริงที่ว่าผู้ประกอบธุรกิจโรงกลั่นมีแผนที่จะใช้เงินลงทุนในดิจิทัลมากขึ้น แสดงว่าพวกเขาเล็งเห็นศักยภาพว่า เทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ ๆ จะมีประโยชน์ต่อการดำเนินงาน แม้ว่าจะกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการนำโซลูชั่นใหม่ ๆ มาใช้ แต่การใช้ประโยชน์จากบิ๊กดาต้าและระบบอนาลิติกส์ มาช่วยทำให้ได้ข้อมูลอินไซต์ในการดำเนินงานแบบเรียลไทม์ จะช่วยให้โรงกลั่นมีประสิทธิภาพเหนือชั้นที่สุดในอุตสาหกรรมได้”

“การลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัล หากทำได้อย่างเหมาะสม จะช่วยให้เกิดการประหยัดได้เกินจำนวนเงินที่ลงทุนไปเสียอีก แม้จะในระยะสั้น”

“ในปัจจุบันประสิทธิภาพการประมวลผลมีราคาถูกลงกว่าเมื่อก่อนมาก ในขณะที่โซลูชั่นเกี่ยวกับอุปกรณ์เคลื่อนที่และ IoTโดดเด่นมากกว่า ผู้ประกอบการโรงกลั่นน้ำมันทั้งหลายจึงไม่เพียงแค่นำเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ ๆ เข้ามาใช้ แต่ยังต้องนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างครอบคลุม เมื่อนั้น ผู้ประกอบการจะได้เห็นต้นทุนการดำเนินงานลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และเห็นศักยภาพการเปลี่ยนผ่านไปสู่โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจแบบใหม่ ที่เป็นจริงได้ด้วยเทคโนโลยีอันล้ำหน้าเหล่านี้”อินทิรากล่าวเสริม

การลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัลที่มากขึ้น สร้างความตื่นตัวด้านความปลอดภัยของข้อมูล

โดยเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบปฏิบัติการของธุรกิจมากที่สุดคือระบบอนาลิติกส์ (ร้อยละ74)ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (ร้อยละ41)และเทคโนโลยีโมบิลิตี้ (ร้อยละ38) ซึ่งการที่ความปลอดภัยทางไซเบอร์ติดกลุ่มท็อป3แสดงให้เห็นว่ากิจการต่าง ๆ กำลังมองหาสิ่งที่จะเข้ามาช่วยลดความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์ จากการที่ธุรกิจโรงกลั่นเชื่อมต่อกันมากขึ้น

ทั้งนี้ การลงทุนในปัจจุบันและในอนาคตที่วางแผนเอาไว้ ครอบคลุมถึงการเชื่อมต่อด้วย จะมีระบบอัตโนมัติมากขึ้น การย้ายการปฏิบัติการไปยังระบบคลาวด์มากขึ้น โมบายล์โซลูชั่นต่าง ๆ ปัญญาประดิษฐ์ และวิทยาการหุ่นยนต์

“เมื่อจำนวนระบบและอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันมีมากขึ้น มีการแบ่งปันข้อมูลระหว่างฝ่ายที่เกี่ยวข้องในซัพพลายของอุตสาหกรรมพลังงานมากขึ้น ก็ยิ่งเสี่ยงที่การจู่โจมทางไซเบอร์จะมีขอบเขตกว้างขึ้น ผลกระทบแรงขึ้น”

“ที่ผ่านมา ระบบการจัดการโรงกลั่นและการควบคุมต่าง ๆ เป็นระบบเฉพาะที่ มีการดูแลในพื้นที่ ค่อนข้างอิสระเมื่อเทียบกับระบบเอ็นเตอร์ไพร์ซที่ใช้กับทั้งองค์กร เมื่อมีโครงสร้างขั้นพื้นฐานไร้สายที่เชื่อมโยงผู้คนและเครื่องจักรต่าง ๆ มากขึ้น รวมทั้งแอพพลิเคชั่นระบบการบริหารการผลิตเปลี่ยนไปอยู่บนคลาวด์ ก็ต้องมีมาตรการด้านความปลอดภัยสำหรับเทคโนโลยีระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ด้วย”

เมื่อถามถึงความจำเป็นของมาตรการต่าง ๆ กว่า1ใน3ของผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่า ความปลอดภัยของข้อมูลเป็นอุปสรรคต่อการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ และสัดส่วนนี้ได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ50ในกลุ่มผู้ตอบจากแวดวงไอที

ความตื่นตัวเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ ยังสะท้อนให้เห็นในรายงานAccenture Technology Vision 2017เมื่อสอบถามว่าองค์กรต่าง ๆ ได้อัพเดทนโยบายและรหัสความปลอดภัยบ่อยครั้งเพียงใด ก็พบว่าผู้ตอบแบบสำรวจจากอุตสาหกรรมปลายน้ำได้อัพเดทเรื่องเหล่านี้บ่อยครั้งกว่าอุตสาหกรรมอื่น ๆ (ปีละครั้ง หรือบ่อยกว่านั้น)