10 อันดับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

อย่างที่ ‘Business+’ เคยเขียน Content เกี่ยวกับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ไปแล้วว่า ผลกระทบจากสงครามของรัสเซีย-ยูเครนซึ่งเป็นจุดที่ทำให้เกิดวิกฤตจากต้นทุนพลังงานทั่วโลกที่พุ่งสูงขึ้นจะทำให้ทั่วโลกเริ่มเกิดความไม่มั่นคงทางด้านพลังงาน และเป็นผลที่ทำให้หลายประเทศจึงเริ่มมีแนวคิดในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หรือ กลับมาเปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีกครั้งเพื่อเพิ่มความมั่นคงทางพลังงาน

ซึ่งก่อนหน้านี้เราได้เขียนถึงแนวความคิดของประเทศญี่ปุ่นแล้ว ว่ามีแนวคิดที่จะเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์ในรอบ 10 ปีนับตั้งแต่เหตุการณ์ภัยพิบัติที่จังหวัดฟูกุชิมะ (อุบัติเหตุจากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ถูกจัดความรุนแรงในระดับความรุนแรงที่สูงที่สุด)

ล่าสุดประเทศเยอรมนีก็กลายเป็นอีกประเทศวางแผนเตรียมความพร้อมเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 2 เตาจากจำนวน 3 เตาที่เหลืออยู่ภายในประเทศ เพื่อใช้รับมือกับปัญหาขาดแคลนพลังงานจากผลพวงของกรณีที่รัสเซียรุกรานยูเครน โดย ‘สำนักข่าวเอ็นเอเครายงานว่า’ ก่อนหน้านี้เยอรมนีได้ตั้งเป้ายุติการใช้โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ภายในสิ้นปี 2022 แต่ตอนนี้จำเป็นต้องเตรียมเตาปฏิกรณ์ทั้ง 2 ให้พร้อม เพื่อใช้เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าสำรอง ถึงแม้ว่า ‘โรเบิร์ต ฮาเบก’ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจเยอรมนีจะออกมายืนยันว่า การใช้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์เป็นเพียงมาตรการชั่วคราวเท่านั้น เพื่อนำพาประเทศก้าวผ่านฤดูหนาวเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ‘Business+’ กลับมองว่ามันอาจจะไม่ง่ายสำหรับหลายๆ ประเทศที่จะหยุดใช้พลังงานนิวเคลียร์ในช่วงเวลานี้ (หากมีอยู่แล้ว) และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็อาจกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับหลายๆ ประเทศ ถ้าหากเหตุการณ์ระหว่ารัสเซียและยูเครนยังคงยืดเยื้อต่อไป เพราะหลายประเทศกำลังเผชิญกับเงินเฟ้อด้านอุปทานอย่างหนัก

ซึ่งในวันนี้เราจะมาเปิดข้อมูล 10 โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยอิงข้อมูลในปี 2565

เราพบว่า โรงไฟฟ้า คาชิวาซากิ-คาริวะ ยังคงเป็นโรงไฟฟ้าที่ครองแชมป์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก (วัดตามความจุเป็นเมกะวัตต์ไฟฟ้า) อย่างไรก็ตามโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในเกาหลีใต้มีจำนวนโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ติดอันดับ 10 ด้วยกันถึง 4 โรงไฟฟ้าด้วยกัน (รวมกันแล้ว 22,442 MW)

อย่างไรก็ตามโรงไฟฟ้า คาชิวาซากิ-คาริวะ ของญี่ปุ่นซึ่งถูกก่อสร้างในปี 1985 โดยบริษัท โตเกียว อิเลกทริก พาวเวอร์ (TEPCO) ได้ถูกปิดในปี 2011 ตามนโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่น หลังเกิดเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมา ไดอิจิ เสียหายอย่างหนักจนเกิดการรั่วไหลของกัมมันตรังสีครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาตร์ของญี่ปุ่น และที่ผ่านมาสำนักงานกำกับดูแลด้านนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น พยายามผลักดันให้รฟฟ.แห่งนี้กลับมาเดินเครื่องเตาปฏิกรณ์อยู่หลายครั้ง แต่ยังไม่สำเร็จ

หากใครยังไม่ได้อ่านข้อดี ข้อเสีย ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์สามารถย้อนกลับไปอ่านได้ที่ https://www.facebook.com/businessplusonline/photos/a.364233346979241/5405014816234377/

ที่มา : Statista

เขียนและเรียบเรียง : พรรณรุ้ง คุ้มพงษ์พันธ์

ติดตาม Business+ ได้ที่ : https://www.thebusinessplus.com/
Line Business+ ได้ที่ : https://lin.ee/pbIHCuS
IG ได้ที่ : https://www.instagram.com/businessplus.newgen2021/

#Businessplus #Business+ #นิตยสารBusinessplus #นิวเคลียร์ #โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ #พลังงานทดแทน #พลังงานทางเลือก