คนไทยรูดบัตรเครดิตสูงสุดในรอบ 10 ปี พบค้างจ่ายเพิ่มเกินเท่าตัว!!

 

รู้หรือไม่ว่า หากเราย้อนดูสถิติการใช้บัตรเครดิตใน 10 ปีให้หลังจะพบว่า

มีปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในไตรมาส 3 ของปี 2555 อยู่ที่ 2,125 ล้านบาท เมื่อนำมาเทียบกับในไตรมาส 3 ของปี 2565 อยู่ที่ 4,636 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นกว่า 118%.

.

และมียอดค้างสินเชื่อ 6 เดือน (หนี้บัตรเครดิต) ในไตรมาส 3 ของปี 2555 อยู่ที่ 2,343 ล้านบาท เมื่อนำมาเทียบกับในไตรมาส 3 ของปี 2565 อยู่ที่ 4,973 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นกว่า 110%

.

จากข้อมูลสะท้อนให้เห็นว่าใน 10 ปีให้หลังมานี้คนไทยหันมานิยมใช้บัตรเครดิตมากขึ้น ซึ่งต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งก็มาจากพฤติกรรมการใช้จ่ายที่เปลี่ยนไป เกิดสังคมไร้เงินสดที่มากขึ้น มาพร้อมกับการเติบโตของธุรกิจ e-Commerce ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาพร้อมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เสถียรตอบรับไลฟ์สไตล์ยุคปัจจุบัน

.

ซึ่งบัตรเครดิตที่นิยมใช้กันในประเทศไทยก็มักเป็นบัตรเครดิตที่ร่วมกับเครือข่ายระบบชำระเงินต่าง ๆ อาทิ VISA, MasterCard, American Express, China Union Pay (CUP) และ Japan Credit Bureau (JCB)นั่นเอง

.

ทั้งนี้ บัตรเครดิตก็มีสิทธิประโยชน์แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ

-คะแนนสะสม ส่วนลดหรือสิทธิพิเศษต่าง ๆ

-เครดิตเงินคืน (Cash Back) เมื่อใช้จ่ายตามเงื่อนไขบัตร

-การร่วมโปรโมชั่นผ่อนชำระสินค้าดอกเบี้ย 0% นาน 10 เดือน

-สิทธิพิเศษอื่น ๆ เช่น ที่จอดรถ การใช้บริการรถรับส่งสนามบิน และอื่น ๆ อีกมากมาย

จะเห็นได้ว่าสิทธิพิเศษเหล่านี้ก็ทำให้ใครหลาย ๆ คนรู้สึกคุ้มค่าในใช้สอย

.

แต่ถึงอย่างนั้นจากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าแม้มีคนใช้สอยผ่านบัตรเพิ่มในรอบ 10ปี ก็มีคิดติดหนี้บัตรเครดิตเพิ่มขึ้นกว่า 110% เช่นกัน ซึ่งจริง ๆ แล้ว บางคนก็ให้คำนิยามกับบัตรเครดิตไว้ว่าเปรียบเสมือนการหยิบเงินในอนาคตมาใช้ ยิ่งใช้มากเท่าไหร่ก็ต้องยิ่งหาเงินมาชำระมากขึ้นเท่านั้น

.

เมื่อเราไม่สามารถหาเงินมาคืนเงินในอนาคตของเราได้ ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องของ ‘หนี้บัตรเครดิต’ ที่ก่อตัวขึ้นจากจำนวนดอกเบี้ยที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จากการที่เราชำระไม่ครบตามยอด หรือชำระขั้นต่ำไปเรื่อย ๆ หรือการชำระที่ไม่ตรงเวลา ซึ่งปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิตอยู่ที่ 16% เพื่อช่วยเหลือประชาชน

.

ซึ่งทางแก้ของการเป็นหนี้บัตรเครดิตก็มีทางออกหลายทางไม่ว่าจะเป็น

-การรวมหนี้ หรือการที่เรานำหนี้ที่มีดอกเบี้ยเยอะที่สุดมารวมกับสินเชื่อรายย่อยอื่น ๆ ที่เรามีอยู่ เช่น สินเชื่อบ้าน หรือจะสามารถนำบัตรเครดิตทุกใบที่มีมารวมหนี้เข้าไว้ด้วยกันก็ย่อมได้

– การรีไฟแนนซ์บัตรเครดิต แน่นอนว่าเราคงเคยได้ยินแต่การรีไฟแนนซ์บ้าน ซึ่งจริง ๆ แล้วการรีไฟแนนซ์บัตรเครดิตก็คล้าย ๆ กัน โดยการมองหาธนาคารใหม่เพื่อทำการรีไฟแนนซ์นั่นเอง

-เปลี่ยนหนี้บัตรเครดิตให้เป็นสินเชื่อระยะยาว เพื่อแบ่งจ่ายชำระเป็นงวด ให้เหมาะสมกับความสามารถในการชำระของเรา

.

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่าในไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปในปัจจุบันทำให้การมีบัตรเครดิตสักใบถือเป็นสิ่งที่ใช้มองหาความคุ้มค่าได้มากที่สุดเช่นกัน แต่ในทางกลับกันหากเราไม่ยับยั้งช่างใจในการใช้จ่ายก็จะสามารถก่อหนี้ขึ้นโดยที่ไม่รู้ตัว และความน่ากลัวของหนี้บัตรเครดิตจะยิ่งรุนแรงขึ้น ในภาวะที่เกิดเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาที่อาจทำให้เกิดการปรับตัวขึ้นของดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อมากขึ้น และมีแนวโน้มว่าจะขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจต้องปรับดอกเบี้ยเงินกู้ตามขึ้นมาด้วย ซึ่งจะส่งผลให้เราอาจต้องเผชิญภาระก่อนผ่อนชำระบัตรเครดิตที่สูงขึ้น

.

.

ที่มา : BOT, Krungsri, KTC

.

เขียนและเรียบเรียง : อโญศิริ สุระตโก

.

ติดตาม Business+ ได้ที่ : https://www.thebusinessplus.com/

Line Business+ ได้ที่ : https://lin.ee/pbIHCuS

IG ได้ที่ : https://www.instagram.com/businessplus.newgen2021/

.

#Businessplus #Business+ #นิตยสารBusinessplus #บัตรเครดิต