โรคอ้วน

โรคอ้วน ภัยที่แฝงมากับวิถีชีวิตวัยทำงานในยุคดิสรัปชัน

วิถีชีวิตในยุคที่ดิสรัปชัน ทำให้ธุรกิจและการดำเนินงานต่าง ๆ ก้าวไปข้าวหน้าอย่างรวดเร็วฉับไว จนหันไปพึ่งพาอาหารจานด่วน เช่น อาหารฟาสต์ฟู้ดต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วไม่ได้มาตรฐานและไม่มีรับสารอาหารที่ดีตามที่ร่างกายควรได้รับ ส่งผลให้เกิด โรคอ้วน ตามมา

จากการสำรวจข้อมูลพบว่า ค่าเฉลี่ยความอ้วนของคนไทยสูงเป็นลำดับ 2 ในกลุ่มประเทศอาเซียน (ข้อมูลปี 2011) ซึ่งต่อเนื่องไปจนถึงการเกิด โรคอ้วน

อีกทั้งข้อมูลวิจัยจาก ศ.นพ.วิชัย เอกพลากร หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ศึกษาแนวโน้มความชุกของภาวะอ้วน (BMI ≥ 25) ในประชากรไทย ตั้งแต่ปี 2534 – 2558 พบตัวเลขเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากภาวะอ้วนของงานวิจัยต่างประเทศมีตัวเลขอยู่ที่ 30% แต่ประเทศไทยสูงถึง 32.2% อีกทั้งในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมา ภาวะอ้วนในไทยมีอัตราสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

สาเหตุของโรคอ้วน

ความอ้วนสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ดังนี้

1.รับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงเป็นประจำ โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันและแป้งสูง จนร่างกายได้รับพลังงานเกินความต้องการ ทำให้เกิดสะสมอาหารส่วนเกินเหล่านั้นในรูปไขมัน และสะสมมากขึ้นจนกลายเป็นโรคอ้วน

2.อาหารที่มีน้ำตาล ไม่ว่าจะเป็นกลูโคส Sugars หรือ Fructose น้ำหวาน เครื่องดื่ม ไวน์ เบียร์ อาหารเหล่านี้จะดูดซึมอย่างรวดเร็ว และทำให้ร่างกายหลั่งอินซูลินเป็นปริมาณมาก

3.ภาวะที่ร่างกายเผาพลาญพลังงานน้อย ทำให้ผู้หญิงอ้วนง่ายกว่าผู้ชาย อีกทั้งยังลดน้ำหนักยากกว่า เนื่องจากผู้ชายจะมีกล้ามเนื้อมากกว่าผู้หญิง ซึ่งกล้ามเนื้อจะเผาพลังงานได้มาก

4.อ้วนจากโรคต่อมไร้ท่อ เช่น ต่อมไธรอยด์ทำงานน้อย ทำให้มีน้ำหนักเกินเนื่องจากร่างกายเผาผลาญอาหารน้อยลง โรค Cushing ร่างกายสร้างฮอร์โมน Cortisol มาก ทำให้ร่างกายมีการสะสมไขมัน ฮอร์โมนนี้อาจจะมาจากร่างกายสร้างเอง หรือจากลูกกลอน ยาแก้หอบ ยาชุด หรือร่างกายสร้างขึ้นเนื่องจากเนื้องอกต่อมหมวกไต

5.อ้วนจากยา ยาบางชนิดทำให้ความอยากอาหารเพิ่ม เช่น ยาคุมกำเนิด ยาแก้โรค ยาลดความดัน ยารักษาเบาหวาน ยาคุมกำเนิด ยา Steroid

6.อ้วนจากกรรมพันธุ์ เช่น คนที่เป็นโรคขาด Leptin ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ส่งไปยังสมองทำให้เรารับอาหารน้อยลง แต่อีกส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากวัฒนธรรมการรับประทานอาหารและความเป็นอยู่

7.ความผิดปกติทางจิตใจ ทำให้รับประทานอาหารมาก เช่นบางคนเศร้า เครียด แล้วรับประทานอาหารเก่ง

8.การดื่มสุรา การสูบบุหรี่

9.โรคอ้วนในเด็ก เซลล์ไขมันในร่างกายจะมีช่วงที่เจริญเติบโตอยู่สองช่วงคือวัยเด็กและวัยรุ่น กรรมพันธุ์เป็นตัวกำหนดให้แต่ละคนมีเซลล์ไขมันไม่เท่ากัน คนอ้วนจะมีเซลล์ไขมันมาก การอ้วนในเด็กจะมีปริมาณเซลล์ไขมันมากทำให้ลดน้ำหนักยาก ทำให้เกิดเป็นโรคอ้วนในผู้ใหญ่ซึ่งเกิดจากเซลล์ไขมันมีขนาดใหญ่

รู้ได้อย่างไรว่าอ้วน

โรคอ้วน

การวัดปริมาณไขมันในช่องท้องและไขมันใต้ผิวหนังบริเวณหน้าท้อง จะชี้บอกว่าเป็นโรคอ้วนลงพุงหรือไม่ แต่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย เราสามารถใช้ค่าดัชนีมวลกายเพื่อการวินิจฉัยโรคอ้วนทั้งตัว และวัดเส้นรอบเอวเพื่อการวินิจโรคอ้วนลงพุง

ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index หรือ BMI)

คือ การหาค่าความหนาของร่างกาย ใช้เป็นมาตรฐานในการประเมินภาวะอ้วนผอมในผู้ใหญ่ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป ซึ่งคำนวนได้จากการใช้น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม และหารด้วยส่วนสูงที่วัดเป็นเมตรยกกำลังสอง ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย นอกจากนี้ การวัดเส้นรอบเอว หรือเส้นรอบพุง (โดยทั่วไปจะวัดรอบเอว ตรงระดับสะดือพอดี) เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการก่อโรค ผู้ชายต้องมีเส้นรอบเอวน้อยกว่า 90 เซนติเมตร และผู้หญิงน้อยกว่า 80 เซนติเมตร ถ้าเส้นรอบเอวใหญ่เกินกว่าค่าดังกล่าวนี้แล้ว ก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ สูงขึ้น

สูตรหาค่าดัชนีมวลกาย (BMI)

โรคอ้วน

น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร)2

ยกตัวอย่างเช่น หากมีน้ำหนัก 74 กิโลกรัม มีส่วนสูง 160 เซนติเมตร

จะมีค่าดัชนีมวลกายที่ 28.9  กก./ม.2

 

ชนิดของโรคอ้วน

โรคอ้วนที่ผลร้ายต่อสุขภาพมีอยู่ 2 ประเภท คือ

1.อ้วนลงพุง มีการสะสมของไขมันที่บริเวณช่องท้องและอวัยวะภายใน ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไขมันในเลือดสูง โดยรอบพุงที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ 5 ซม. จะเพิ่มโอกาสเกิดโรคเบาหวาน 3-5 เท่า

2.อ้วนทั้งตัว ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีไขมันทั้งร่างกายมากกว่าปกติโดยไขมันที่เพิ่มขึ้น ไม่ได้จำกัดอยู่ที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งโดยเฉพาะ บางคนนอกจากเป็นโรคอ้วนทั้งตัวแล้วยังเป็นโรคอ้วนลงพุงร่วมด้วย จะมีโรคแทรกซ้อนทุกอย่าง และโรคที่เกิดจากน้ำหนักตัวมาก ได้แก่ โรคไขข้อ ปวดข้อ ข้อเสื่อม ปวดหลัง ระบบหายใจทำงานติดขัด

 

ทางออกโรคอ้วน

การหยุดอ้วนไม่ได้ทำได้ด้วยการหยุดกิน เพียงแต่การต้องเริ่มต้นตั้งแต่การทำความเข้าใจเรื่องของโภชนาการใหม่ บริโภคในปริมาณที่เหมาะสม ครบสารอาหาร ไม่เลือกกินตามใจปาก และปรับวิถีการดำเนินชีวิตใหม่

โรคอ้วน

หลักโภชนาการที่ดี การคำนวนแคลลอรีที่ร่างกายต้องการในแต่ละมื้อ คือ ข้าวไม่เกินมื้อละ 1 ทัพพี โปรตีนไม่เกิน 6 ช้อนโต๊ะหรือ 1 ขีด และควรเลือกรับประทานอกไก่ เนื้อปลาขาว ไข่ขาว เนื้อหมูไม่ติดมัน เน้นอาหารต้ม นึ่ง ผักสด เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เลี่ยงอาหารประเภททอด

โรคอ้วน

เครื่องดื่ม ลด ละ เลิก เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลหรือแอลกอฮอล์สูง เช่น น้ำอัดลม และเครื่องดื่มชาเขียว

โรคอ้วน

ออกกำลังกาย ตามความเหมาะสมของสภาพร่างกาย และเคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้นในแต่ละวัน เช่น เดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟท์ โดยควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที หรือ 150 นาทีต่อสัปดาห์ ร่างกายจึงจะเกิดการเผาผลาญ

 

 

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. https://www.thaihealth.or.th

 

โรคอ้วน