เศรษฐกิจดิจิทัลไทยจากวันนี้ถึง 20 ปี ข้างหน้า

เพื่อรองรับนโยบาย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลหน่วยงานหลายหน่วยงานได้มีการปรับแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับพันธกิจดังกล่าว

เช่นเดียวกับ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลหรือดีป้า ซึ่งเล็งเห็นว่าอนาคตประเทศใน20ปีข้างหน้า จะเปลี่ยนไปและขับเคลื่อนเข้าสู่ยุค IoT ซึ่ง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมได้กับทุกสิ่ง

 

ที่ผ่านมาภาครัฐได้นำระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาช่วยในการพัฒนาประเทศด้วยเช่น ระบบ E- Government ทั้งนี้เพื่อนำมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่กำลังเกิดขึ้นซึ่งประเทศไทยอยู่ในระยะเวลาของการเปลี่ยนผ่านประเทศที่สำคัญซึ่งก็คือการย้ายจากสังคมแบบเดิมไปสู่สังคมดิจิทัล

 

ดร. ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมธุรกิจดิจิทัลหรือดีป้า กล่าวว่าการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยในอีก20ปีข้างหน้า คือการพัฒนาประเทศโดยนำเทคโนโลยีมาใช้ยกระดับสังคมในทุกมิติ

 

โดยที่ผ่านมาดีป้าได้ดำเนินงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล ผ่านโครงการต่างๆ อาทิ โครงการพิเศษ ในรูปแบบของ ดิจิทัลพร์าค อย่างโครงการสมร์าทซิตี้ โครงการสมาร์ทอีอีซี โครงการสตาร์ทอัพ การพัฒนาโครงการเกษตรแนวใหม่ การพัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจ การขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและเทคโนโลยี

 

ซึ่งดีป้าควบคุมดูแลในเรื่องของการส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนควบคู่กันในลักษณะการทำงานแบบขยายผลไปสู่ภูมิภาค เพื่อลดการกระจุกตัวในกรุงเทพ ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติของสังคม รวมไปถึงการจัดการกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลขึ้นใหม่ที่เกี่ยวข้องทั้งการพัฒนาฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ ดิจิทัล เซอร์วิส และดิจิทัล คอนเท้นต์ เพื่อส่งเสริมการลงทุนและการจดทะเบียนบริษัทใหม่

 

รวมไปถึงการดูแลการพัฒนาชุมชนกว่า 24700 ชุมชน โดยการส่งเสริมให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลในพื้นที่ของตัวเอง ผ่านวิทยากรที่เข้าไปอบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการ สิ่งที่เกิดขึ้นคือผู้ประกอบการในพื้นที่สามารถประยุกต์ใช้่ดิจิทัลกับธุกิจของตัวเองได้และสามารถขยายผลไปในชุมชนโดยรอบได้

 

กล่าวโดยสรุปคือการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล ไทยจากวันนี้ถึง20ปีข้างหน้า ไม่ใช่แค่เรื่องของฮร์าดแวร์ หรือซอฟแวร์ แต่รวมไปถึงการพัฒนาแอพลิเคชั่นที่เกี่ยวโยงกับอุตสาหกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

 

รวมทั้งการทำงานเป็นคลัสเตอร์ ซึ่งต้องกลับมาดูว่า แต่ละพื้นที่มีการใช้นวัตกรรมแบบใดบ้าง ที่จะเห็นผลและเกิดประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยืน ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการทำงานเป็นทีมตั้งแต่การดูแลโครงการ ดูข้อมูลภาคสังคม ภาคเศรษฐกิจทุกมิติ เพื่อกำหนดยุทธศาตร์แต่ละพื้นที่ และที่สำคัญที่สุดคือต้องมีดัชนีชี้วัดความสำเร็จในระยะยาวเพื่อการบูรณาการอย่างยั่งยืนนั่นเอง