เป็นไปได้แค่ไหน? Social media พื้นที่เสรีทางความคิด 100% ภาพในหัว ‘อีลอน มัสก์’ หลังโดน Twitter ปิดกั้นข้อความ

หลังจากไม่กี่วันที่ผ่านมานี้ อีลอน มักส์ได้ประกาศเล็งสร้างแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียใหม่ เพื่อเปิดพื้นที่แสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรีภาพ ทำให้หลายฝ่ายจับตามองถึงการประกาศครั้งนี้ ว่าโลกของโซเชียลมีเดียจะมีความเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางไหน อย่างไรบ้าง

 

อีลอน มัสก์ CEO Tesla บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าระดับโลก และหนึ่งในนักลงทุนที่ทั่วโลกจับตามอง ล่าสุดได้โพสช้อความบน Twitter กล่าวหา Twitter ที่มีความล้มเหลวในการให้เสรีให้การแสดงความคิดเห็น 

 

พร้อมทั้งได้พูดกล่าวความคิดที่อาจจะสร้างแพลตฟอร์มขึ้นมาใหม่ เพื่อเป็นการเปิดพื้นที่ให้ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี

 

จึงเป็นที่น่าสนใจต่อว่า หากมีการเปิดแพลตฟอร์มขึ้นมาจริง ยังมีรูปแบบไหนบ้างที่สามารถตีตลาดเหนือคู่แข่งได้ในขณะนี้ได้ 

 

Facebook หนึ่งในแพลตฟอร์มสุดแมสที่แถบทุกคนจะต้องมีแอคเค้าท์ ข้อดีคือเข้าถึงและใช้งานง่าย มีคอนเทนต์ และแหล่งข้อมูลข่าวสารมากมายหลากหลายประเภท

 

Instagram โซเชียลมีเดียของคนที่เสพติดความสวยงามของภาพและวิดิโอ ปัจจุบันเปรียบได้ว่าเป็นอีกช่องทางหลักของการแสดงตัวตนและไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้งาน 

 

Twitter อีกหนึ่งช่องการสื่อสารจากผู้คนทั่วทุกมุมโลก จุดเด่นคือใช้งานที่ง่าย และส่งต่อข่าวสาร สื่อสารถึงกันได้อย่างรวดเร็ว

 

ยังไม่นับรวม Youtube, Tiktok, Clubhouse หรือโซเชียลมิเดียแพลตฟอร์มอื่น ๆ ที่นับวันเริ่มมีมากขึ้น และมีเอกลักษณ์ของแต่ละแพลตฟอร์มที่โดดเด่นแตกต่างกันไปอีกด้วย

 

ซึ่งหากอีลอน มัสก์ต้องการสร้างโซเชียลมิเดียแพลตฟอร์มใหม่จริง ๆ ในยุคที่โซเชียลมิเดียมีให้เลือกหลากหลายช่องทางขนาดนี้ เป็นที่น่าสนใจว่าผู้คนยังหลั่งไหลเข้ามาเพื่อรับสื่อในแพลตฟอร์มซ้ำ ๆ ได้อีกหรือไม่ และจุดประสงค์เพื่อการแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรีนั้น จะสามารถปล่อยได้อย่าง 100% จริงหรือไม่

 

ข้อมูลจาก  Digital 2022 Global Overview Report ระบุว่า ประชากรผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียในปัจจุบัน มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นกว่า 10% ในปีที่แล้ว โดยปัจจุบันมียอดผู้ใช้งานกว่า 4.62 พันล้านคนทั่วโลก เพิ่มขึ้นคิดเป็น 3.1 เท่าในรอบ 10 ปี นับตั้งแต่ปี 2012 ซึ่งปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากผลกระทบของ Covid-19 ที่ผู้คนต้องเว้นระยะห่าง แต่การสื่อสารยังคงสำคัญ ทำให้หลายคนต้องพึ่งพาอินเตอร์เน็ต และโซเชียลมีเดียมากขึ้น

 

โดยยอดจากเดือนมกราคมปี 2022 โซเชียลมีเดียที่มียอดผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก ด้วยจำนวนกว่า 2,910 ล้านคน คือ Facebook 

ตามมาด้วย Youtube 2,562 ล้านนคน Whatsapp 2,000 ล้านคน  Instagram 1,478 ล้านคน และ Wechat 1,263 ล้านคน 

 

โดยจีน ถือเป็นประเทศที่มีผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตมากที่สุดกินสัดส่วนถึง 20% ของประชากรผู้งานอินเตอร์เน็ตโลกเลยทีเดียว

 

ซึ่งหนึ่งในแพลตฟอร์มที่เติบโตอย่างรวดเร็ว และน่าจับตามองในขณะเป็นอย่างมาก คือ Instagram 

โดยในปีที่ผ่านมา Instagram มียอด impressive ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 21% (YoY) รวมถึงมีตัวเลขผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น 6% หรือราว 85 ล้านคนในช่วง 90 วันที่ผ่านมา (นับจากมกราคม 2022)

 

และเป็นที่น่าสนใจว่า ปัจจุบัน 1 ใน 4 ของการใช้งานโซเชียลมีเดียนั้น เป็นเพื่อการทำงาน โดยชาวเคนย่า ใช้โซเชียลมีเดียในการทำงานมากที่สุดของโลก คิดเป็น 41.5% รองลงมาคือ ชาวฟิลิปปินส์ 36.7% และตามมาด้วยแอฟริกาใต้ 36.3% สำหรับชาวไทยมีสัดส่วนการใช้งานอยู่ที่ 16.0%

 

ซึ่งโซเชียลมีเดียที่ผู้ใช้งานชื่นชอบมากที่สุด คือ Whatsapp คิดเป็น 15.7% ตามมาด้วย Instagram 14.8%  Facebook 14.8% และ Wechat 11.4% ขณะที่ Twitter 3.3% ติดอันดับ 7 

 

อย่างไรก็ตาม Business+ มองว่า ทุกวันนี้การเสพสื่อ และพฤติกรรมการใช้งานของผู้คนมีความหลากหลาย และเฉพาะกลุ่มมากขึ้น หากอีลอน มักส์ ต้องการเปิดแพลตฟร์อมใหม่เพื่อเสรีในการแสดงความคิดเห็นของตัวเองได้อย่างแท้จริง คาดว่าก็คงมีฐานแฟนคลับที่เหนียวแน่นตามติดมาแน่นอน 

 

แต่ถ้าหากพูดในระยะยาวก็ต้องมาดูว่า ความพิเศษของแพลตฟอร์มดังกล่าว จะมีอะไรที่มัดใจผู้บริโภคได้ หรือความพิเศษแบบใดจะสามารถทำให้ผู้บริโภคย้ายตัวมาอยู่ได้ในแพลตฟอร์มใหม่ได้อย่างภาวร