เปิดโครงสร้างการค้าของไทยกับตลาดโลก

เมื่อเศรษฐกิจในปี 2564 หลายประเทศได้รับผลกระทบอย่างหนัก สำหรับประเทศไทยนั้น ภาคการส่งออกยังเติบโตค่อนข้างแข็งแกร่ง ทำให้ปี 2564 ได้เห็นการเติบโตของมูลค่าส่งออกสูงที่สุดในรอบ 11 ปี (ขยายตัว 17.1%) แต่ไทยเองก็นำเข้าในอัตราที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ประไทยขาดดุลการค้าเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี (นับตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งขาดดุลการค้า -92,815.8 ล้านบาท)

แต่การขาดดุลการค้าจำนวน -92,815.8 ล้านบาท เมื่อคำนวณเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ จะเท่ากับว่าไทยเกินดุลการค้า 3,573.15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 85.98% จากปี 2563

ด้านคู่ค้าสำคัญสำหรับไทยยังคง 3 อันดับแรกเหมือนเดิม
– ไทย-จีน มีมูลค่าการค้าสูงที่สุด 3,299,511 ล้านบาท
– ไทย-ญี่ปุ่น มีมูลค่าการค้า 1,924,404 ล้านบาท
– ไทย-สหรัฐฯ มีมูลค่าการค้า 1,777,264 ล้านบาท

ส่วนสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย 5 อันดับแรกคือ
1. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
2. เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
3. อัญมณีและเครื่องประดับ
4. ผลิตภัณฑ์ยาง
5. เม็ดพลาสติก

สำหรับแนวโน้มการเติบโตของการค้าในปี 2565 กระทรวงพาณิชย์ ตั้งเป้าหมายการส่งออกไว้ที่ 3-4% จากปัจจัยการจ้างงานดีขึ้น ขณะที่การผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในสหภาพยุโรปทำให้ภาคบริการฟื้นตัว ผลักดันให้เศรษฐกิจยุโรปเติบโตเร็วขึ้น อีกทั้งภาคการผลิตทั่วโลกยังคงขยายตัวดีที่จะส่งผลต่อการส่งออก

เป็นไปในทิศทางเดียวกับการวิเคราะห์ของ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า ซึ่งมองว่าในปี 2565 จะยังมีการส่งออกที่ดีขึ้นต่อเนื่องในสินค้าเกษตร ผลไม้สด ผลไม้แช่แข็ง และสินค้ากลุ่มยาและเวชภัณฑ์

เขียนและเรียบเรียง : พรรณรุ้ง คุ้มพงษ์พันธ์

ที่มา : tradereport.moc

ติดตาม Business+ ได้ที่ https://www.thebusinessplus.com/
Line Business+ ได้ที่ https://lin.ee/pbIHCuS

#Businessplus #Business+ #นิตยสารBusinessplus #ตัวเลขส่งออกไทย #การส่งออก #ดุลการค้า #การค้าไทย