เปิดกำไรบริษัทพลังงานไทยช่วงน้ำมันแพง!! แนวโน้มยังไปต่อได้ไกลแค่ไหน ใต้กระแสต่อต้าน

ถือเป็นช่วงขาขึ้นของเหล่าบริษัทน้ำมันเลยก็ว่าได้ เพราะหากได้ดูผลประกอบการในช่วงไตรมาส 2-3 ของปี 64 ที่ผ่านมา แต่ละบริษัทมีผลกำไรเป็นบวกไล่ไต่ระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นที่จับตามองว่าหลังจากนี้ ผลประกอบการในไตรมาส 4/64 จะสามารถพุ่งสูงมากไปกว่านี้ได้อีกหรือไม่? ในขณะที่การประชุมหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ COP26 ที่กำลังเร่งเครื่องสานต่อนโบาย และดำเนินการต่ออย่างจริงจัง จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมพลังงานในไทยอย่างไร?

 

ก่อนอื่นเรามาดูผลประกอบการ 3 บริษัทน้ำมันรายใหญ่ของไทยที่น่าจับตามองกันก่อน โดยครั้งนี้เราจะเปรียบเทียบรายได้รวม และกำไรสุทธิในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2563 และ 2564 ให้เห็นกันก่อน

 

OR : บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) 

9 เดือน 2564

รายได้รวม 353,960 ล้านบาท (+10.9% จากช่วงเดียวกันของปี 63)

กำไรสุทธิ์ 9,120.62 ล้านบาท (+55.4% จากช่วงเดียวกันของปี 63)

 

 

ESSO : บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) 

9 เดือน 2564

รายได้รวม 120,567 ล้านบาท (+28.0% จากช่วงเดียวกันของปี 63)

กำไรสุทธิ 3,692.87 ล้านบาท (+55.7% จากช่วงเดียวกันของปี 63)

 

 

PTG : บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) 

9 เดือน 2564

รายได้รวม 96,159 ล้านบาท  (+25.4% จากช่วงเดียวกันของปี 63)

กำไรสุทธิ์ 1,092.09 ล้านบาท  (-10.9% จากช่วงเดียวกันของปี 63)

 

จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่ผลประกอบการของบริษัทข้างต้นมีกำไรสุทธิสูงขึ้น เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่า ในช่วงที่ผ่านมาราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสาเหตุหลักมาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น 

 

ซึ่งในช่วงไตรมาส 2/64 ถึงปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ราคาน้ำมันโลกขยับขึ้นมาจาก 61.45 ดอลลาร์/บาร์เรล สู่ 78.78 ดอลลาร์/บาร์เรล ปรับตัวขึ้นมากว่า 28.20%

 

ทำให้บริษัทน้ำมันเหล่านี้มีกำไรจาก ‘Stock gain’ หรือ การสต็อกน้ำมันในช่วงที่ราคาต่ำกว่าราคาตลาดปัจจุบัน รวมถึงได้รับปัจจัยบวกจากการปรับราคาหน้าปั๊มที่เพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย

 

อย่างไรก็ตามแนวโน้มช่วงที่เหลือของปีจะยังดีแบบนี้อยู่ไหม? Business+ จึงได้มีโอกาสสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในวงการพลังงาน เพื่อคลายข้อสงสัยกับการคาดการณ์เรื่องของ ‘น้ำมัน’ ในอนาคตอันใกล้นี้

 

คำถามที่ว่า แนวโน้มไตรมาส 4/64 ผลประกอบยังดีแบบนี้ต่อไปหรือไม่?

นักวิเคราะห์มองว่า แม้ในช่วงไตรมาส 2-3 ของปี 64 ที่ผ่านมา ผลประกอบการของเหล่าบริษัทน้ำมันมีผลกำไรค่อนข้างดี และดูมีแนวโน้มในทิศทางที่สดใส แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าในไตรมาส 4/64 จะพุ่งสูงได้มากไปกว่านี้ เพราะราคาน้ำมันที่ผ่านมา เรียกได้ว่าเดินทางมาถึง ‘จุดพีค’ แล้ว

 

หากดูในช่วงไตรมาส 2/64 จะเห็นได้ว่า ราคาน้ำมันในตลาดโลกอยู่ที่ 61.45 เหรียญต่อออนซ์ และจบที่ราคา 73.47 เหรียญต่อออนซ์ ในช่วงสิ้นสุดไตรมาส ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 12.02 เหรียญต่อออนซ์ หรือ +19.56%

 

ในขณะที่เข้าไตรมาส 4/64 ราคาขยับจาก 75.88 เหรียญต่อออนซ์ สู่ 78.78 เหรียญต่อออนซ์ในราคาปัจจุบัน (24 พ.ย. 64) ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียง 2.9 เหรียญต่อออนซ์ หรือ +3.82%

 

นอกจากนี้ เมื่ออ้างอิงจากสถิติ จะเห็นว่า ค่าการตลาดที่เป็นกำไรของบริษัทค้าน้ำมันนั้น จะปรับตัวสวนทางกับราคาน้ำมันในตลาด (เท่ากับว่ายิ่งน้ำมันดิบสูงเท่าไหร่ กำไรบริษัทเหล่านี้จะยิ่งน้อยลง)

 

รวมถึงปัจจัยในเรื่องของราคาที่ทำการ Stock น้ำมันดิบไว้ต่ำกว่าราคาตลาดมากหรือน้อย รวมถึงยังต้องขึ้นอยู่ปัจจัยความต้องการบริโภคน้ำมันของคน ซึ่งจะเป็นไปตามเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย

 

เมื่อถามถึงโอกาสนี้ตัวไหนเด่น น่าลงทุน?

นักวิเคราะห์มองว่า ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า ขั้นตอนกว่าจะมาเป็น ‘น้ำมัน’ ที่เราเอามาใช้เป็นเชื้อเพลิงนั้น ต้องผ่านกระบวนการผู้ผลิตหลายเจ้า หลายขั้นตอน

 

เริ่มต้นที่เราเรียกกันว่า ‘ต้นน้ำ’ หมายถึงต้นทางบริษัทขุดเจาะน้ำมัน เช่น ปตท.สผ. ก่อนจะส่งต่อไปโรงกลั่น เช่น ไทยออยล์ ไปจนถึงค้าปลีกน้ำมันอย่าง OR PTG ESSO และไปจนถึงปลายน้ำ อย่างการคัดแยกต่อเพื่อแปรรูป เช่น เม็ดพลาสติก 

 

แน่นอนว่ายิ่งผ่านกระบวนมากขึ้น ต้นทุนการผลิตก็มีมากขึ้น ประโยชน์ครั้งนี้จึงตกเป็นของแหล่งต้นน้ำของห่วงโซ่น้ำมัน เพราะความได้เปรียบในการขุดเจาะน้ำมันด้วยตัวเอง และขายในราคาตามตลาดโลก ซึ่งจะไม่ได้แบกรับต้นทุนจากน้ำมันเหมือนอย่างกลางน้ำ และปลายน้ำ

 

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยลบกับกลุ่มค้าปลีกน้ำมันอย่างการประชุม COP26 ที่มีประเด็นสำคัญจากการประชุม COP26 ด้วยเป้าหมายที่จะลดการใช้พลังงานฟอสซิล สนับสนุนพลังงานหมุนเวียน และรณรงค์การใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น

 

ซึ่งหลายคนพุ่งเป้าไปที่อุตสาหกรรมพลังงานที่จะได้รับผลกระทบเต็ม ๆ ในการแบกรับความเสี่ยงของความต้องการของตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ประเด็นนี้ นักวิเคราะห์มองว่าในระยะสั้น เป็นไปได้ว่า กลุ่มธุรกิจน้ำมันอาจยังได้รับผลกระทบไม่มากเท่าไหร่นัก เพราะปัจจุบัน โลกยังคงต้องพึ่งพาแหล่งพลังงานหลัก เพราะต้นทุนน้ำมันยังต่ำกว่าต้นทุนพลังงานทดแทน รวมถึงต้องเรียนรู้และพัฒนาเทคโนโลยีอีกมากกว่าจะพร้อม และสามารถรองรับกับการใช้พลังงานทางเลือกรูปแบบใหม่ได้

 

ทางด้านผู้ประกอบการต้องปรับตัวอย่างไร?

สำหรับการปรับตัวของผู้ประกอบการนั้น นักวิเคราะห์มองว่า เนื่องจากประเทศเรา เรียกได้ว่าเป็นประเทศผู้รับเทคโนโลยี หมายความว่าการเตรียมพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุด คือ การปรับรูปแบบธุรกิจไปตามเนื้อผ้า ตามสถานการณ์ ตามเทรนด์ให้ทัน 

 

เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งมุมมองของนักวิเคราะห์ ที่มีต่อสถานการณ์น้ำมันในปัจจุบัน และเป็นอีกหนึ่งแนวทาง เพื่อเตรียมตัวการวางแผนธุรกิจให้พร้อมกับความแน่นอนของโลก

 

 

ข้อมูล : SET
.
Line Business+ ได้ที่ https://lin.ee/pbIHCuS
.
#Businessplus #Business+ #นิตยสารBusinessplus #ราคาน้ำมัน #เศรษฐกิจ #บริษัทน้ำมัน