เทสโก้ โลตัส ไฮเปอร์มาเก็ต

ค้าปลีก 4.0 เทสโก้ โลตัส จะเดินทางไหน

ค้าปลีก 4.0 เทสโก้ โลตัส จะเดินทางไหน

“ไฮเปอร์มาเก็ต เป็นเซกเมนต์ที่เติบโตน้อยสุดก็จริง แต่ถามว่าจะตายไหม ผมว่าไม่ใช่ ทุกแชนแนลมีทั้งจุดอ่อนและจุดแข็ง ลูกค้าส่วนใหญ่ยังต้องการความรู้สึกที่จับต้องได้ ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ออนไลน์ให้ไม่ได้ เพราะฉนั้นผมว่าขึ้นอยู่กับการปรับตัวของแชนแนลต่างๆ ที่จะตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ายังไง” สมพงษ์ รุ่งนิรัติศัย ประธานกรรมการบริหาร เทสโก้ โลตัส

เข้ามารับตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร เทสโก้ โลตัส ได้เพียง 2 เดือน สมพงษ์ รุ่งนิรัติศัย ผู้บริหารคนใหม่ก็ออกมาประกาศแผนรุกตลาดและรับศึกค้าปลีก 2018 ทันที ซึ่งกุญแจแห่งความสำเร็จที่จะทำให้เทสโก้ โลตัส ภายใต้การบริหารงานของ สมพงษ์ สามารถให้บริการลูกค้าในยุค 4.0 ได้ตรงจุดจะประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลักคือ

1. ความสะดวกสบาย ในทุกยุคทุกสมัยลูกค้าต้องการความสะดวก ซึ่งเทสโก้ โลตัส จะตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าผ่านออมนิแชนแนล เพราะความสะดวกในยุค 4.0 ไม่ได้วัดที่ร้านค้าใกล้บ้านแต่คือความสะดวกที่ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าที่ไหน เมื่อไหร่อย่างไรก็ได้ ปัจจุบัน เทสโก้ โลตัส มีสาขามากกว่า 1,950 สาขาทั่วประเทส ผ่านร้านค้า 5 ฟอร์แมต ได้แก่ พลัส มอลล์, เอ็กซ์ตร้า, ไฮเปอร์มาร์เก็ต, ตลาด และเอ็กเพรส รวมไปถึงแพลตฟร์อมดิจิทัล 2 ช่องทางหลัก คือ เทสโก้ โลตัสช้อปออนไลน์ และ ลาซาด้า

ซึ่งในปี 2561 นี้เทสโก้ โลตัส จะมุ่งเน้นการขยายช่องทางทั้งออฟไลน์และออนไลน์ไปพร้อมๆ กัน รวมถึงการปรับปรุงสาขาที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อให้สามารถตอบสนองไลฟ์สไตล์ของลูกค้ายุค 4.0 ได้ดียิ่งขึ้น และในส่วนของการพัฒนาประสบการณ์แบบออมนิแชนแนลที่ไร้รอยต่อซึ่งเป็นกลยุทธิ์ที่ เทสโก้ โลตัส ให้น้ำหนักมากที่สุดจะเดินการ ผ่านเครื่องมือทางดิจิทัลและโปรแกรมคลับการ์ด ที่จะเชื่อมต่อช่องทางต่างๆ ทั้งหมดที่มีและเพิ่มความคุ้มค่าให้กับลูกค้าทั้งการสะสมแต้ม เก็บแสตมป์ ชำระเงิน รับโปรโมชั่นและอื่นๆ

2. สินค้าคุณภาพในราคาที่คุ้มค่า และประสบการณ์ที่ดี เดือนมีนาคมที่ผ่านมาเทสโก้ โลตัสได้เพิ่มสินค้าเข้าไปอีกกว่า 2,000 รายการในโรลแบคครอบคลุมตลอดทั้งปี นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาสินค้าตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ด้วยการเข้าไปให้ความรู้แก่เกษตรกร ควบคุมคุณภาพ และรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร รวมทั้งลงทุนเครื่องรักษาความเย็นเพื่อรักษาความสดของผลผลิตในแผนกอาหารสด

3. อยู่ร่วมกับสังคมไทยอย่างยั่งยืน ลูกค้าต้องการสนับสนุนธุรกิจที่ทำดีต่อสังคม เทสโก้ โลตัส สนับสนุนเกษตรกร เมื่อปีที่ผ่านมามีการสั่งซื้อผลผลิตจากเกษตรกรเพิ่มมากขึ้นโดยไม่ผ่านคนกลาง กว่า 2 แสนตันเพิ่มขึ้น 30% และในเดือนพฤษภาคมปีนี้ ตั้งเป้าที่จะรับซื้อผลไม้จากชาวสวนจากเกษตรกรโดยตรงกว่า 7,000 ตัน เพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา 50%

เทสโก้ โลตัส ไฮเปอร์มาเก็ต

 

นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญในเรื่องของการจัดการความสูญเสียอาหาร ซึ่งเทสโก้ โลตัสประเทศไทยได้ประกาศเจตนารมย์ที่จะเป็นผู้นำในการลดปริมาณขยะจากอาหารที่ยังรับประทานได้ โดยการบริจาคอาหารสดที่ขายเหลือในแต่ละวันที่แม้ว่าคุณภาพด้อยลงแต่ยังสามารถบริโภคได้ให้แก่ผู้ยากไร้ใน 10 จังหวัดที่ยากไร้ที่สุดในประเทศไทย โดยมีเทสโก้ โลตัสที่เข้าร่วมโครงการนี้กว่า 40 สาขา บริจาคอาหารได้แล้วกว่า 500,000 กิโลกรัม และในปีนี้ตั้งเป้าบริจาคครอบคลุมทั้งประเทศ

และในช่วงแบค ทู สคูล ที่กำลังจะถึงยังมีแคมเปญให้ลูกค้าสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการบริจาคอาหารให้ 10 จังหวัดที่ยากจนที่สุดในประเทศไทย ด้วยการบริจาคอาหาร 1 มื้อ เมื่อซื้อสินค้าในกลุ่ม แบค ทู สคูล ครบ 250 บาท

เทสโก้ โลตัส ไฮเปอร์มาเก็ต

 

นอกจากนี้ สมพงษ์ ยังได้พูดถึงประเด็นที่ว่า ตลาดไฮเปอร์มาร์เก็ตจะได้รับความนิยมน้อยลง และผู้บริโภคจะหันไปใช้สั่งซื้อสินค้าออนไลน์จนทำให้ธุรกิจไฮเปอร์มาเก็ตอาจต้องถึงจุดจบเหมือนในสหรัฐอเมริกาที่มีการทยอยปิดสาขาของไฮเปอร์มาร์เก็ตว่า

“สำหรับเทสโกโลตัส ช่องทางหรือแพลพฟร์อมออนไลน์เป็นอีกหนึ่งทางเลือกแต่สัดส่วนยังคงน้อยมากเมื่อเทียบกับช่องทางไฮเปอร์มาเก็ต เพราะลูกค้ายังไม่นิยมซื้อสินค้าสดผ่านช่องทางออนไลน์ แต่การที่เทสโก้โลตัส มีแพลตฟร์อมสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ตัวนี้ขึ้นมาเพื่อเป็น 1 ในตัวเลือกและขยายช่องทางจัดจำหน่ายให้ครอบคลุม ซึ่งลูกค้าที่มีเวลามากก็สามารถมาเดินชอปปิ้งเลือกสินค้าได้เองที่ไฮเปอร์มาร์เก็ต หรือลูกค้าที่มีเวลาน้อยสามารถซื้อค้าทางออนไลน์และแวะมารับที่ไฮเปอร์มาร์เก็ตได้ และสุดท้ายลูกค้าที่ไม่มีเวลาเลย ก็สามารถสั่งสินค้าและให้ทางเทสโกโลตัสไปส่งให้ถึงที่บ้านได้เลย ซึ่งนี่คือการบริหารแบบออมนิแชนแนลในบริบทของเทสโก้โลตัส

ส่วนประเด็นที่หลายฝ่ายมองว่า ไฮเปอร์มาเก็ต เป็นเซกเมนต์ที่เติบโตน้อยสุดอันนี้ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องจริง แต่ถามว่าจะตายไหม ผมว่าไม่ใช่ ทุกแชนแนลมีทั้งจุดอ่อนและจุดแข็ง ลูกค้าส่วนใหญ่ยังต้องการความรู้สึกที่จับต้องได้ ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ออนไลน์ให้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นผมว่าขึ้นอยู่กับการปรับตัวของแชนแนลต่างๆ ที่จะตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ายังไง แต่ถ้าผู้ประกอบการยังไม่ปรับตัวตามโลกก็แน่นอนว่า ไฮเปอร์มาเก็ตแบรนด์นั้นก็สิทธิ์ตายลงเช่นกัน ”