ออแกนิกต้นน้ำของสุขภาพดี

นอกจากพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่ที่หันมาดูแลสุขภาพตัวเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคมากกว่าการรักษา รวมทั้งการเข้ามาของผู้ป่วยและนักท่องท่องเที่ยวเชิงสุขภาพต่างชาติที่เข้ามาจะช่วยผลักให้ตลาด Health &Wellness เติบโตอย่างมีนัยสำคัญแล้ว

อีกปัจจัยที่เป็นตัวดันตลาด Wellness Tourism ให้เติบโตคือ Lifestye Health Concern หรือคนที่ต้องการมีชีวิตยืนยาวอย่างมีสุขภาพดี นำมาซึ่งการให้ความสำคัญกับอาหารการกิน เช่น เริ่มมองหาการรับประทานอาหารคลีน สินค้าออแกนิก เริ่มเห็นเทรนด์การตรวจสอบย้อนกลับไปถึงแหล่งต้นผลิต พูดง่าย ๆ คือคนไทยเริ่มตื่นตัวกับเรื่องนี้มากขึ้น เช่น มองว่าการเข้าสปาเป็นธรรมดา หรือการที่เข้าหาหมอฟันโดยไม่จำเป็นต้องรอให้ปวดฟันก่อน ตลอดจนใส่ใจในบุคลิกภาพเห็นได้จากคลีนิคเสริมความงามต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายในทุกพื้นที่ของประเทศ ซึ่งทั้งหมดนี้คือส่วนหนึ่งของ Wellness

สอดคล้องกับเทรนด์นักท่องยุคใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวแบบ Lifeste on Health and Sustainable Life เน้นในเรื่องของสุขภาพมาก ทั้งอาหารการกินและการบริการต่าง ๆ ซึ่งนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้คือกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติสูงอายุที่มีรายได้สูง จัดอยู่ในกลุ่ม Social Economy Class ที่ดีมาก ร่างกายแข็งแรงและมีกำลังจ่ายที่สูง โดยเฉพาะกับสินค้าท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์

Organic

นอกจากนี้ ดร.พญ.ประภา วงศ์แพทย์ นายกสมาคมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และสุขภาพไทย ยังกล่าวเสริมอีกว่าผลิตภัณฑ์และการบริการทางด้าน Wellness เป็นเสมือนปลายน้ำที่ทำให้คนสุขภาพดี แต่หากจะย้อนกลับไปยังต้นน้ำของ Wellness ก็ต้องคิดถึงออแกนิก ซึ่งอยู่ในฐานะของต้นน้ำของแวรูลเชน

“ในอนาคตออแกนิกมีแนวโน้มที่จะเติบโตอีกมหาศาล เพราะเวลานี้คำว่าออแกนิกได้ถูกฝังชิพไปหมดแล้วว่าทุกคนจะซื้ออะไร จะกินอะไร ถ้าต้องการความปลอดภัยก็จะต้องเลือกออแกนิก เช่น ผักออแกนิก ไข่ออแกนิก ที่ต้องถูกปลูกหรือเลี้ยงโดยไม่ใช้สารเร่งหรือสารเคมีใด ๆ ในขั้นตอนการผลิต ซึ่งปัจุบันมีการต่อยอดไปยังผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรมที่หลากหลาย เช่น เครื่องสำอางออแกนิก อาหารออแกนิก เครื่องประกอบอาหารสำหรับส่งออก ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมบริการ เช่น สมุนไพรที่ใช้ในสปาต่าง ๆ”

ซึ่งเมื่อลงลึกในรายละเอียดจะเห็นว่ารูปแบบของ Wellness นั้นกระจายลงไปในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากมายในขณะที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่มีกำลังทำการตลาดมากนัก ประกอบกับที่ผ่านมาประเทศไทยยังมีจุดอ่อนในเรื่องของการวิจัยตัวเลขที่แท้จริงของตลาด Wellness ในประเทศไทยอย่างจริงจัง ทำให้การสนับสนุนธุรกิจในส่วนของ Wellness เป็นไปด้วยความลำบาก

Organic

ดร.พญ.ประภา วงศ์แพทย์ ในฐานะนายกสมาคมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และสุขภาพไทย ซึ่งเป็นสมาคมที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อกำกับดูแลให้การสนับสนุนผู้ประกอบการ Wellness รายเล็ก เปิดเผยถึงบทบาทของสมาคมในการการสนับสนุนผู้ประกอบการดังกล่าวว่า สมาคมมีหน้าที่เข้าไปช่วยในเรื่องของการรวมกลุ่ม ประสานงาน และสร้างเครือข่าย ไม่เพียงแต่หน่วยงานด้วยกันเองเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับเรื่องของการท่องเที่ยว การพัฒนาขีดความสามารถให้ผู้ประกอบการ ตลอดจนร่วมกันทำแพ็กเกจดีไซน์ ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการ

“ณ ปัจุบันสมาคมเป็นอะไรที่ใหม่มาก เราพยายามสร้างเครือข่ายกับ เช่น เอ็ดต้า และเริ่มเข้าไปร่วมมือกับหน่วยงานราชการมากขึ้น อาทิ ททท. กรมพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม ที่คอยเป็นพี่เลี้ยงและประสานงาน ตลอดจนดึงสมาคมเข้าไปร่วมงานคลัสเตอร์ต่าง ๆ ที่รัฐบาลจัดขึ้น เพื่อติดอาวุธให้กับผู้ประกอบการเข้มแข็ง มีสินค้าคุณภาพ แข่งขันได้ รวมทั้งช่วยเหลือในแง่ของการเข้าถึงแหล่งเงินทุนด้วย”