ลวงโลก หรือ ไม่ลวงโลก!! Tether กับสถานะ Stablecoin อันลึกลับ

“เบื้องหลังความร่ำรวยมหาศาลมักมีอาชญากรรมซ่อนอยู่เสมอ” ข้อความตอนหนึ่งในนวนิยายเรื่องดังอย่าง The Godfather ของคุณ Mario Puzo ในปี 1969 และนี่ดูเหมือนจะคำพูดที่แสนจะคลาสสิก แม้วันเวลาจะผ่านมามากกว่า 52 ปีแล้วก็ตาม ขอเพียงเกิดเป็นมนุษย์ความอยากมี อยากเป็น อยากได้ ดูเหมือนสิ่งเหล่านี้เป็นอะไรที่จะเกิดขึ้นควบคู่กันมากับเราตลอดชีวิตการเดินทางของความเป็นมนุษย์ของเรา

ถึงแม้วันนี้จะเป็นปี 2021 แล้ว โลกทางวัตถุก็เจริญไปอย่างมากกว่ายุคใด ๆ ในประวัติศาตร์ แต่มนุษย์ก็คือมนุษย์ ความเจริญเหล่านี้หาได้ทำให้พวกเขากลายเป็นคนที่มีจิตใจดีขึ้นไม่ อย่างน้อยก็สามารถพิสูจน์ได้จากเรื่องราวของ Tether เจ้า Stablecoin (เงินที่มั่นคง) ที่ผู้คิดค้นมันขึ้นมาแอบอ้างว่า เบื้องหลัง Tether มีเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐสนับสนุนอยู่ หรือ หนุนค่าอยู่ แบบ 1 ต่อ 1 หรือ 1 Tether เท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐนั้นเอง

รายงานพิเศษของ Bloomberg Businessweek เรื่อง Tether น่าสนใจเป็นอย่างมากและมีรายละเอียดที่ค่อนข้างลึกซึ้งจนอ่านแล้วต้องทึ่งไปตาม ๆ กันเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า ในเดือนกรกฎาคม 2021 ที่ผ่านมาท่ามกลางสถานการณ์โลกที่ร้อนผ่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐนางเจเน็ต เยลเลน ได้มีการเรียกประชุมเหล่าประธานธนาคารกลางสาขาต่าง ๆ รวมไปถึงผู้นำสูงสุดของทางหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์อย่างคุณแกรี เจนส์เลอร์ ประธานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ SEC และผู้เชี่ยวชาญด้านคริปโทซึ่งเป็นผู้จับตาด้านการเงินของอเมริกา รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูงอีก 6 ท่าน

โดยเรื่องที่เขาประชุมกันไม่ใช่เรื่อง เงินเฟ้อ วิกฤตการณ์เงิน หรือปัญหาปากท้องแต่อย่างใด เรื่องที่พวกเขาคุยกันคือเรื่อง Tether บนความกังวลว่าเจ้า Stablecoin นี้กำลังคุกคามระบบการเงินของสหรัฐอเมริกาให้อยู่บนความเสี่ยง!!

คำถามที่เราต้องตั้งขึ้นมาก็คือ แล้วมันเสี่ยงอย่างไรรึ?

อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้ Tether ถูกรู้จักในฐานะ Stablecoin ก็เพราะทุกคอยน์ของเขามีดอลลาร์สหรัฐหนุนหลังอยู่แบบ 1 ต่อ 1 (ดูแบบนี้เหมือนเป็นธนาคารกลาย ๆ) เจ้าของมันเป็นบริษัทที่ชื่อเดียวกับมันก็คือ Tether Holdings Ltd. โดยพวกเขาทำตัวเหมือนเป็นผู้ออกสกุลเงินผ่านการที่ลูกค้าของพวกเขาที่อยากซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีหรือเครดิตบนกระเป๋าตังอิเล็กทรอนิกส์ของพวกเขา ซึ่งลูกค้าก็จะนำเอาเงินดอลลาร์สหรัฐจริง ๆ มาเปลี่ยนเป็นคอยน์ของ Tether เพื่อนำไปสู่การซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีอื่น ๆ บนกระดานต่อไปไม่ว่าจะเป็น Bitcoin หรือ Ethereum เป็นต้น นั้นเท่ากับ Tether Holdings Ltd. จะควบคุมเงินดอลลาร์สหรัฐจริง ๆ ไว้ในมือ และหากใครอยากจะเอาคอยน์ของ Tether กับมาแลกเป็นดอลลาร์สหรัฐก็สามารถทำได้ (อย่างน้อยที่สุดตามทฤษฎี)

กลไลที่แสนจะซับซ้อนกำลังเป็นที่นิยมในตอนนี้ และธนาคารจริง ๆ ก็ไม่ต้องการทำธุรกรรมกับบริษัทคริปโทเคอร์เรนซี (โดยเฉพาะบริษัทในต่างประเทศ : ปัญหาใหญ่หนึ่งนั้นก็คือ ความโปร่งใส) และแม้จะมีการป่าวประกาศว่าเจ้า Tether มีดอลลาร์สหรัฐสนับสนุนอยู่นะ แต่การสนับสนุนนี้ก็ดูจะลึกลับผิดปกติเสียเหลือเกิน เพราะหากความจริงพบว่า Tether ไม่ได้มีทรัพย์เพียงพอตามที่กล่าวอ้างมาเพื่อรักษาอัตรา 1 ต่อ 1 เหรียญของพวกเขาจะกลายเป็นเรื่องหลอกลวงทันที แต่ในโลกของคริปโทเคอร์เรนซีเหรียญที่แสนจะชวนหัวเหล่านี้พร้อมกับภาพหมาพวกมันกับสามารถมีมูลค่านับพันล้านดอลลาร์สหรัฐได้

ปี 2021 ทาง Tether Holdings Ltd. ได้มีการเพิ่มเหรียญของพวกเขาเข้าไปในระบบจำนวนมากคิดเป็นมูลค่าถึง 48,000 ล้าน Tether หรือ 48,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นั้นทำให้เหรียญที่หมุนเวียนในระบบรวมตอนนี้วิ่งขึ้นไปสู่ 69,000 ล้าน Tether แล้ว และตัวเลขเงินที่เชื่อมโยงจริง ๆ ก็เท่ากับ 69,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐด้วยเช่นกันอันนี้ต้องไม่ลืม เงินจำนวนมากขนาดนี้ได้ผลักดันให้พวกเขากลายเป็น 1 ใน 50 ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐเลยทีเดียว

คำถามคือที่ทุกคนกำลังสงสัยคือเราเจ้า Tether ที่กำลังออกเหรียญจำนวนมากอยู่นี่มีเงินดอลลาร์สหรัฐสนับสนุนตามที่กล่าวอ้างแบบ 1 ต่อ 1 จริง ๆ รึเปล่า โดยคุณ Jim Cramer พิธีกรของทางสถานีโทรทัศน์ CNBC ได้บอกว่า “ขายคริปโทฯ ของพวกเขาซะ ถ้า Tether พังทลายมันจะทำให้ระบบนิเวศของคริปโทฯ ทั้งหมดพังทลายไปด้วย”

ตอนนี้หน่วยงานกำกับดูแลยังคงกังวลต่อขนาดของ ดอลลาร์สหรัฐ ที่ถูกถือโดย Tether นั้นใหญ่จนเป็นอันตรายต่อ ดอลลาร์สหรัฐตัวจริง และถ้าเหล่าเทรดเดอร์ทั้งหลายเกิดพร้อมใจกันร้องขอดอลลาร์สหรัฐของพวกเขาที่ถูกสนับสนุนอยู่คืนทันที บริษัทก็จำเป็นต้องหาเงินมาจ่าย ซึ่งถ้าหากมีไม่พอก็จะเกิดอาการ “BANK RUN” (เหตุการณ์ที่คนจำนวนมากแห่ไปถอนเงินที่ฝากไว้กับธนาคาร อาจเกิดจากความกลัวว่าธนาคารจะล้มละลาย) ความเสียหายจะไหลลงสู่ระบบการเงินที่มีกฎเกณฑ์ควบคุม โดยการทำลายตลาดเครดิตทั้งหลาย ถ้าเหตุการณ์ทั้งหมดดำเนินไปตามแนวทางนี้ Tether จะกลายเป็น “แชร์ลูกโซ่” ซึ่งใหญ่กว่าเหตุการณ์อื้อฉาวด้านการลงทุนอย่างแมดอฟฟ์ ซึ่งนำโดยนายเบอร์นาร์ด แอล. แมดอฟฟ์ ซะอีก

โดยทางทีมงานของ Bloomberg Businessweek ได้ออกเดินทางไปศึกษาเรื่องนี้เป็นลงลึก เพื่อไขปัญหาลึกลับเหล่านี้ พร้อมร่องรอยเบาะแสตั้งแต่ ไต้หวัน ไปจนถึง เปอร์โตริโก แถมยังมี โกตดาซูร์ (หรือเป็นที่รู้จักในชื่อภาษาอังกฤษว่า เฟรนช์ริวีเอรา เป็นชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางมุมตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส) จีนแผ่นดินใหญ่ และหมู่เกาะบาฮามาส

โดยหนึ่งในอดีตเหล่านายธนาคารของ Tether บอกว่า ผู้บริหารระดับสูงของพวกเขาวาง เงินสำรอง ไว้ในจุดที่เสี่ยงมาก ผ่านการลงทุนเพื่อหวังกำไรจำนวนมูลค่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับพวกเขา “มันไม่ใช่ Stablecoin มันคือการเก็งกำไรในต่างประเทศที่มีความเสี่ยงสูงมาก” พูดโดยนาย John Betts ซึ่งดำเนินธุรกิจธนาคารใน เปอร์โตริโก ซึ่ง Tether เคยใช้บริการ เขาเพิ่มเติมอีกว่า แม้แต่พันธมิตรเจ้าของธนาคารของพวกเขาก็ยังไม่รู้ว่าการขยายขอบเขตของการถือครองของพวกเขา หรือการมีอยู่ของพวกมัน

ธนาคารของ คริปโท

เมื่อคุณมองไปที่สัญลักษณ์ของพวกเขาที่เป็นตัว T พร้อมด้วยคำขวัญอย่าง “Digital Money for Digital Age” มองดูอย่างไรก็ไม่ไปในทางเดียวกันไม่ว่าคุณจะพยายามจินตนาการอย่างไรก็ตาม พร้อมกับพนักงาน 12 คน ซึ่งน้อยมากสำหรับบริษัทที่มีทรัพย์สินสูงถึง 69,000 ดอลลาร์สหรัฐที่อยู่ภายใต้การจัดการ คุณเลทิเทีย เจมส์ ซึ่งเป็นอัยการสูงสุดของนิวยอร์ก เผยว่า “Tether ดำเนินการโดยไม่มีใบอนุญาตและไม่มีการกำกับดูแลใด ๆ บริษัทถือเป็นหน่วยงานซื้อขายที่อยู่ในมุมมืดของระบบการเงิน”

ในเว็บไซต์ของ Tether มีจดหมายจากบริษัทบัญชี ซึ่งบอกว่า Tether มีเงินสำรองสนับสนุนคอยน์ พร้อมกับ Pie Chart ที่แสดงตัวกว่า 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐถูกลงทุนอยู่ใน ตราสารหี้ระยะสั้น ของบริษัทจำนวนมาก นั้นทำให้ Tether คือผู้ถือครองหนี้ใหญ่เป็นอันดับ 7 เหนือ Charles Schwab และ Vanguard Group โดยคุณ Deborah Cunningham ซึ่งเป็น Chief investment officer of global money markets ที่บริษัท Federated Hermes ให้ความเห็นว่า “มันคือตลาดขนาดเล็กพร้อมกับเงินจำนวนมากของผู้คนซึ่งรู้จักกัน” เขาเพิ่มเติมว่าถ้าหากมีผู้มาใหม่มันจะเห็นชัดเจน แต่ตัวมีความไม่ชัดเจนในโครงสร้างการกำกับดูแลที่เป็นการรับผิดชอบสำหรับตรวจตรา Tether บนพอดแคสต์ของบริษัท ตัวแทนของ Tether บอกว่า พวกเขาได้ลงทะเบียนกับหน่วยงานสืบสวนสอบสวนการเงินของหมู่เกาะบริติชเวอร์จิ้น ทางผู้อำนวยการนาย Errol George บอกกับทาง Bloomberg ในอีเมลว่า ไม่มีการตรวจตรา Tether “พวกเราไม่และจะไม่มีวัน”

ตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ตามเว็บไซต์ก็คือ นาย J.L. Van der Velde เป็นชาวดัตช์ที่อาศัยอยู่ในฮ่องกงและดูเหมือนจะไม่มีวันให้สัมภาษณ์หรือเข้าร่วมประชุมใด ๆ ขณะที่ตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน นาย Giancarlo Devasini ซึ่งเป็นอดีตศัลยแพทย์พลาสติกจากประเทศอิตาลี ถูกพูดถึงในฐานะผู้ก่อตั้งที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งอ้างอิงถึงเขามีเพียงหนึ่งเดียวก็คือ บนหนังสือพิมพ์อิตาลี ซึ่งแสดงว่าตัวเขาถูกปรับสำหรับการขายซอฟต์แวร์ไมโครซอฟของปลอม ซึ่งนายคนนี้ก็ไม่ตอบอีเมลและเมสเซนเจอร์บน Telegram

นักกฎหมายของ Tether นาย Stuart Hoegner บอกกับ Bloomberg ผ่านโทรศัพท์ว่าทั้งตัว Van der Velde และ Devasini ไม่ชอบเป็นจุดสนใจ (ขี้อายซะนั้น) โดยนาย Stuart Hoegner เรียกนักวิจารณ์ทั้งหลาย ญิฮาด ที่ยุยงการทำลายบริษัท “พวกเรารักษาความโปร่งใส ครอบคลุม และกรอบการทำงานด้านบริหารจัดความเสี่ยงที่เชี่ยวชาญสำหรับการป้องกันและการลงทุนเงินสำรอง” นอกจากนี้เขายังบอกอีกว่า ไม่มีลูกค้าร้องขอเงินกลับและถูกปฎิเสธ (เมื่อขอเงินกลับ)

แต่เมื่อนาย Stuart Hoegner ถูกถามว่า Tether เก็บเงินไว้ที่ไหนเขากับปฏิเสธที่จะพูด และคำพูดถัดมานั้นไม่ได้สร้างความอุ่นใจให้กับทางทีมงานเลย โดยเขาบอกว่าบริษัทนั้นมีกระแสเงินสดมากพอที่จะจ่ายครอบคลุมบนเงินจำนวนมากซึ่งมันต้องจ่ายในหนึ่งวัน แต่ Bank Run สามารถกินเวลายาวนานกว่า 24 ชั่วโมง โดยนาย Stuart Hoegner ได้ตอบโต้ทาง Bloomberg หลังจากมีการเล่นข่าวนี้ว่า “ไม่มีอะไรมากไปกว่าการรวมรวมคำแดกดัน และการแบ่งปันข้อมูลที่ผิด ๆ” พร้อมเพิ่มเติมว่านี่เป็นความไม่พอใจเป็นส่วนตัว พร้อมกับความไม่เกี่ยวข้อง หรือไม่มีความรู้โดยตรงต่อการดำเนินการของธุรกิจ

มันยากที่จะเชื่อว่าผู้คนยอมส่งเงินกว่า 69,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งเป็นเงินจริง ๆ ให้บริษัทที่ดูเหมือนจะมีอะไรคลุมอยู่ภายใต้ความผิดปกติ แต่ในทุก ๆ วันบนตลาดแลกเปลี่ยนคริปโทฯ มีเทรดเดอร์ซื้อและขายเหรียญ Tether ราวกับว่าพวกมันเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐดี ๆ นี่เอง บางวันมีมากกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐใน Tether มีการเปลี่ยนมือ นั่นทำให้ดูเหมือนว่าผู้คนพร้อมกับเงินเดิมพันจำนวนมากในตลาดคริปโทฯไว้วางใจ Tether และนั้นทำให้ทาง Bloomberg อยากรู้ว่าทำไม

เขียน แปล และเรียบเรียง : เอกพล มงคลพัฒนกุล

ที่มา : Bloomberg

ติดตาม Business+ ได้ที่ thebusinessplus.com
Line Business+ ได้ที่ https://lin.ee/pbIHCuS

#Businessplus #theBusinessplus #นิตยสารBusinessplus #Tether #Stablecoin #คริปโทเคอร์เรนซี่ #cryptocurrency #เงิน #Money #แชร์ลูกโซ่ลวงโลก