“ดีแทคฟาร์มแม่นยำ” ชู IoT Solutions มุ่งสู่ยุคเกษตร 4.0

“ดีแทคฟาร์มแม่นยำ” พัฒนาเกษตร ผสานเทคโนโลยี IoT หวังขับเคลื่อนไทยสู่ยุคเกษตร 4.0

 

ดีแทคฟร์ามแม่นยำ

 

ดีแทค กรมส่งเสริมการเกษตรและเนคเทค-สวทช. ร่วมมือกันพัฒนา “ดีแทคฟาร์มแม่นยำ” ฟาร์มต้นแบบในการพัฒนาเกษตรแม่นยำผ่านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) หวังเสริมแกร่งเกษตรกรรายย่อย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตควบคุมคุณภาพทางการเกษตร หวังขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ยุคเกษตรกรรม 4.0 เต็มรูปแบบ
ณ ฟาร์มเมล่อน โคโค่เมล่อน สามชุก ดีแทคยกขบวนสื่อมวลเยี่ยมชมฟาร์มต้นแบบ “ดีแทค ฟาร์มแม่นยำ” ด้วยเทคโนโลยี IoT Smart Farming นางอรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารองค์กรและการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า “นี่ถือเป็นอีกบทบาทหนึ่งของดีแทค ในฐานะผู้ให้บริการดิจิทัล เพื่อส่งต่อและเชื่อมโยงข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ สะท้อนกลไกของอินเทอร์เน็ตในการขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0 อย่างเป็นรูปธรรม”
การนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาให้เกษตรกรไทยก้าวไปสู่ความเป็น Smart Farmer ถือเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักของดีแทค โดยบริษัทมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทยทุกคน ภายใต้ยุทธศาสตร์ความยั่งยืนของดีแทค อันได้แก่ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ลดความ เหลื่อมล้ำผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล และไม่ทิ้งขยะไว้ให้คนรุ่นหลัง เพื่อการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน

 

ดีแทค
สำหรับ “ดีแทค ฟาร์มแม่นยำ” เป็นโครงการทดลองและวิจัยโดยนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาพัฒนาด้านการเกษตร โดยหวังผลในการเพิ่มผลผลิต ควบคุมคุณภาพ และลดต้นทุนให้กับเกษตรกรไทย ซึ่งดีแทคและเนคเทค-สวทช. ได้ร่วมกันพัฒนาโซลูชั่น IoT เพื่อควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นในดิน ความชื้นในอากาศ แสง และปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องในการเพาะปลูก ซึ่งจะเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันในการแสดงผล การตั้งค่า เก็บข้อมูล และวิเคราะห์ผล โดยเนคเทค- สวทช. รับผิดชอบในการวิจัยและผลิตอุปกรณ์ในส่วนของระบบเซนเซอร์ ขณะที่ดีแทครับผิดชอบด้านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านระบบ dtac Cloud Intelligence โดยโครงการดังกล่าวเป็นการต่อยอดจากความร่วมมือทางการเกษตร หลังจากความร่วมมือระหว่างดีแทคและกรมส่งเสริมการเกษตรในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจด้านเกษตรครบวงจร ตั้งแต่การผลิต แปรรูปและการตลาดออนไลน์เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดและสร้างเครือข่ายเกษตรกรเข้มแข็ง
โครงการดีแทคฟาร์มแม่นยำ ได้นำร่องทดลองที่ฟาร์มแตะขอบฟ้า อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรีแล้ว โดยหลังจากนี้ จะเปิดให้เกษตรกรที่เคยผ่านการอบรมโครงการ Young Smart Farmer โดยจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้แอปพลิเคชันในระดับดี มีความต้องการที่จะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการทำเกษตรของตนเอง และสามารถถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชนสำหรับการคัดเลือกฟาร์มและประเภทของพืชนั้น ดีแทค ในระยะทดลองนี้ จะเป็นพืชที่มีราคาสูงและเป็นที่ต้องการของตลาด 3 ชนิด ได้แก่ มะเขือเทศ เมล่อนและผักปลอดสารพิษ

 

ดีแทค
นอกจากนี้โครงการ “ดีแทคฟาร์มแม่นยำ” นี้ ยังสร้างโครงการเกษตรเชิงพาณิชย์ และการเชื่อมโยงกับผู้บริโภคโดยผ่าน Freshket สตาร์ทอัพในโครงการ dtac Accelerate เชื่อมโยงเกษตรกรผู้ผลิตกับร้านอาหารชั้นนำ
นายสำราญ สาราบรรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ได้มีเป้าหมายในการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ ให้เป็น Young Smart Farmer เพื่อรองรับแรงงานภาคเกษตรที่มีแนวโน้มลดลง โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาเสริมศักยภาพเกษตรกรไทย และเสริมสร้างให้เกิดเครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่ ให้มีแนวคิดในการเปลี่ยนการทำเกษตรแบบดั้งเดิมสู่การเกษตรสมัยใหม่ เพื่อนำไปสู่การยกระดับมาตรฐานสินค้า และมุ่งสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น อาหารสุขภาพหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีมูลค่าสูง สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโลก
ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตร ได้บูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อที่จะสนับสนุนและพัฒนาเครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่ ให้เกิดการเรียนรู้ และพร้อมรับกับนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการเกษตรที่ทันสมัย สำหรับโครงการ “ดีแทคฟาร์มแม่นยำ” นั้น กรมฯ ได้คัดเลือกเกษตรกรรุ่นใหม่ กว่า 30 คน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่สำคัญในครั้งนี้ และมั่นใจว่า เกษตรกรรุ่นใหม่ที่ได้คัดสรรมา พร้อมที่จะพัฒนาจะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนภาคการเกษตรของไทยให้ยั่งยืนต่อไป

 

ดีแทค
สำราญ สาราบรรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตร ได้บูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อที่จะสนับสนุนและพัฒนาเครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่ ให้เกิดการเรียนรู้ และพร้อมรับกับนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการเกษตรที่ทันสมัย สำหรับโครงการดังกล่าว กรมฯ ได้คัดเลือกเกษตรกรรุ่นใหม่ กว่า 30 คน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่สำคัญในครั้งนี้ และมั่นใจว่า เกษตรกรรุ่นใหม่ที่ได้คัดสรรมา พร้อมที่จะพัฒนาจะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนภาคการเกษตรของไทยให้ยั่งยืนต่อไป
ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค กล่าวว่า ภาคเกษตรกรรม ถือเป็นหนึ่งในพื้นที่ยุทธศาสตร์ตามแผนปฏิบัติการเนคเทคระยะ 5 ปี พ.ศ.2560 – 2564 ที่มุ่งเน้นงานวิจัยและพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ประเทศ ยกระดับมาตรฐานของผลผลิตทางการเกษตรในแง่ของปริมาณและคุณภาพ ซึ่งที่ผ่านมาได้พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุน Smart Farm อาทิ เทคโนโลยี what2grow ที่นำไปใช้ใน AgriMap Online สถานีตรวจวัดข้อมูลสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช และเครื่องรับเมล็ดปาล์มอัตโนมัติ

 

ดีแทค
โครงการ “ดีแทคฟาร์มแม่นยำ” ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดของเนคเทค ได้พัฒนาด้านเทคโนโลยีด้านเซนเซอร์ โดยสร้างระบบควบคุมการเพาะปลูกแบบเครือข่ายเกษตรกร จำเพาะเจาะจงตามชนิดของพืช ในระยะแรกจะเน้นการติดตามและเก็บบันทึกปัจจัยการเพาะปลูก เช่น ความชื้นในดิน ความชื้นในอากาศ อุณหภูมิในอากาศ และปริมาณแสงในโรงเรือน

 

ดีแทค
สุดท้ายเนคเทคคาดว่า ระบบจะช่วยเกษตรกรในการเก็บข้อมูล ประมวลผล และสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่รู้จักใช้เทคโนโลยีในการเพาะปลูกอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างตลาดและโอกาสให้ผู้ประกอบการใหม่ที่สนใจเป็นผู้ประกอบการหรือสตาร์ตอัพ