“ซิป้า” จัดระเบียบซอฟต์แวร์และดิจิทัลคอนเทนต์ไทยชูองค์กรธุรกิจต้นแบบร่วมขับเคลื่อนการใช้ซอฟต์แวร์ไทย

สืบเนื่องจากนโยบาย Thailand 4.0 ของภาครัฐ ทำให้ที่ผ่านมาซอฟแวร์และดิจิทัล คอนเท้นต์ เข้ามาแทรกซึมอยู่ในทุกอุตสาหกรรม โดยในปี 2559 มูลค่าการผลิตซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง คาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตราว 4.4% ด้วยมูลค่า 54,893 ล้านบาท ขณะที่ปี 2560 คาดว่าจะมีอัตราการเติบโต 4.3% ด้วยมูลค่า 57,257 ล้านบาท

ย้อนกลับมาดูตลาดผู้ให้บริการซอฟแวร์ไทยทั่วประเทศพบว่ามีจำนวนไม่น้อยทีเดียว ในขณะที่ผู้ประกอบการณ์เองก็หันไปใช้บริการซอฟแวร์จากต่างประเทศไทยมากกว่าใช้บริการจากซอฟแวร์ไทย สาเหตุหลักๆมาจาก 2ส่วนคือ ความไม่เชื่อมั่นในศักยภาพของซอฟแวร์ไทย และการที่ผู้ประกอบการณ์ไม่ทราบว่าในประเทศไทยมีผู้ประกอบการซอฟแวร์รายใดบ้าง

 

เอแก้ปัญหานี้และส่งเสริมตลาดซอฟแวร์ไทยให้มีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงอย่างสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า จึงริเริ่มโครงการจัดระเบียบซอฟต์แวร์และดิจิทัลคอนเทนต์ไทย รวมทั้งค้นหาองค์กรธุรกิจต้นแบบเพื่อร่วมขับเคลื่อนการใช้ซอฟต์แวร์ไทยและ เพิ่มประสิทธิภาพองค์กรให้สามารถรองรับการแข่งขันในตลาดได้

 

หลังเริ่มโครงการมาได้เพียง 8 เดือน จีราวรรณ บุญเพิ่ม ประธานกรรมการบริหาร สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า เปิดเผยว่า ได้รับการตอบรับที่ดีจากบรรดาผู้ประกอบการณ์ซอฟแวร์นับร้อยราย ที่ให้การตอบรับการลงทะเบียนครั้งนี้

 

โดยเริ่มตั้งแต่การจัดกิจกรรมโฟกัสกรุ๊ป เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการซอฟต์แวร์และดิจิทัลคอนเทนต์ไทย พร้อมด้วยการจัดกิจกรรมโร้ดโชว์ประชาสัมพันธ์ไปยังส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น ภูเก็ตและในส่วนกลางคือ กรุงเทพฯ ตลอดระยะเวลาการดำเนินงาน 8 เดือนที่ผ่านมาได้รับความสนใจและตอบรับจากผู้ประกอบเข้าร่วมโครงการฯ 200 รายตามที่ตั้งเป้าไว้

 

ในปีแรกจะมีผู้ประกอบการขึ้นทะเบียน 200 ราย ถือเป็นอีกก้าวของความสำเร็จในการดำเนินโครงการฯ ซึ่งจะทำให้บริษัทต่างๆหรือองค์กรธุรกิจที่ต้องการจะเลือกซื้อซอฟต์แวร์สามารถค้นหา ตรวจสอบ ผู้ให้บริการ จำหน่ายซอฟต์แวร์ได้สะดวกมีข้อมูลครบถ้วน และตรงกับความต้องการของบริษัทหรือผู้ใช้งาน
สำหรับแผนการดำเนินงานโครงการฯ ในปีต่อไป ซิป้ามุ่งหวังในการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการซอฟต์แวร์เพิ่มขึ้นอย่างน้อยปีละ 200 รายและมีการอัพเดทข้อมูลใหม่ที่บางรายอาจมีการเปลี่ยนแปลง โดยมีเจ้าหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำคัญของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยในการส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ได้มาตรฐาน พร้อมผลักดันสู่การส่งออกไปตลาดต่างประเทศ

 

ซึ่งที่ผ่านมามีบริษัทซอฟต์แวร์ไทยหลายแห่งมีลูกค้าจากต่างประเทศให้การยอมรับและเลือกใช้งานเป็นจำนวนมาก โดยจากผลสำรวจมูลค่าการส่งออกซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ ปี 2558 ของประเทศไทยมีมูลค่า 3,330 ล้านบาท เติบโต 0.3% ขณะที่การนำเข้าซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์จากต่างประเทศมีมูลค่า 32,944 ล้านบาท ทั้งนี้จะเห็นได้ว่ามูลค่าการส่งออกเมื่อเทียบเท่านำเข้ายังแตกต่าง หากซอฟต์แวร์ไทยได้รับการสนับสนุนและส่งเสริม มั่นใจว่าจะสามารถผลักดันสู่ตลาดโลกได้เพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ซิป้ายังมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมศักยภาพทั้งด้านบุคลากร การทำตลาด รวมถึงการจัดกิจกรรมสัมมนาให้แก่ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ รวมทั้งองค์กรที่จะนำซอฟต์แวร์ไปใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ธุรกิจอย่างต่อเนื่องและขยายเพิ่มขึ้นให้ครอบคลุมทุกกลุ่มอุตสาหกรรม
ทางด้านมีธรรม ณ ระนอง รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)หรือซิป้า กล่าวว่า โครงการขึ้นทะเบียนและรับรองผู้ประกอบการซอฟต์แวร์และดิจิทัลคอนเทนต์ไทย จัดทำขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางฐานข้อมูลของกลุ่มผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการซอฟต์แวร์ เพื่อให้องค์กรธุรกิจและประชาชนที่มีความสนใจหรือกำลังมองหาซอฟต์แวร์เพื่อไปใช้งานมีข้อมูลในการตัดสินใจและยังเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ที่มีความน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ยังเป็นการสนับสนุนและกระตุ้นให้เกิดการนำเทคโนโลยีไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ อีกด้วย และยังเป็นการช่วยสร้างเครือข่ายความร่วมมือภายในกลุ่มผู้ให้บริการและผู้ประกอบการทางด้านซอฟต์แวร์ พร้อมทั้งยังช่วยขยายฐานตลาดภาคอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยไปสู่การแข่งขันในตลาดโลก