ช่วยโลกจริงไหม? ไม่รู้ แต่ต้นทุนลดแน่!! หลัง Apple งดแจกสายชาร์จ หูฟัง  กำไรบวก  41.78%

 

สหรัฐฯ หนึ่งในประเทศรายใหญ่ของโลกที่เป็นผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งแวดล้อม และสังคมมาโดยตลอด รวมถึงมีบริษัทผู้นำด้าน ESG มากมาย แต่ทำไมคะแนน ESG ยังอยู่ในระดับกลางของโลก? และบริษัทที่มี ESG เตะตานักลงทุนได้อย่างไร? มาหาคำตอบไปพร้อมกัน

 

 

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายบริษัทและผู้นำทั่วโลกต่างก็เห็นถึงความสำคัญ และแสดงความความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างต่อเนื่อง

 

หนึ่งในนั้นคือ สหรัฐอเมริกา ผู้เป็นเสียงสำคัญที่คอยขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม และพยายามกระตุ้นให้หลายประเทศเข้าร่วม ไม่ว่าจะเป็น สุดยอดการประชุม COP26 หรือ ประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติ ของช่วงต้นปี 2021ที่ผ่านมา ซึ่งก็ได้รับบทเป็นเจ้าภาพเชิญผู้นำอีก 40 ประเทศ ในการหารือปัญหาที่เกี่ยวข้อง พร้อมตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ภายในปี 2030

 

ในทางกลับกัน สหรัฐฯ กลับเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซ CO2 มากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกของปี 2021ด้วยจำนวนกว่า 5 พันล้านตัน รองจากจีนที่ปล่อยก๊าซจำนวน 1.04 หมื่นล้านตัน (นับตั้งแต่ปี 2016 ตามมาจาก worldometers.info)

 

ขณะเดียวกันจากการจัดอันดับ ESG Index (ESGI) ของ risk-indexes.com หรือการจัดอันดับประเทศที่ให้ความสำคัญด้านความเสี่ยงสิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน ความปลอดภัยและสุขภาพ โดยรวบรวมทั้ง 179 ประเทศ ซึ่งปี 2021 สหรัฐฯ จัดอยู่ในอันดับที่ 46 ตกจากปีที่แล้วที่เคยเกาะอันดับที่ 39 ซึ่งคาดว่าส่วนหนึ่งมาจากจำนวนประชากรภายในประเทศสูง ทำให้เกิดการผลิตและบริโภคมากตามไปด้วย นำไปสู่การปล่อยมลพิษจำนวนมากเช่นกัน

 

อย่างไรตามหากไปดูรายบริษัทในสหรัฐฯ หลายบริษัทเจ้าใหญ่ ๆ ก็ให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น Microsoft Adobe หรือที่น่าจับตามองอย่าง Apple

 

Apple บริษัทเทคโนโลยีที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก ไม่เพียงแต่จะทำได้ดีในด้านธุรกิจ แต่ก็ยังสามารถดำเนินด้าน ESG ได้ดีอีกด้วย ติดอันดับ 24 ด้วยคะแนน 68.68 

 

ซึ่งอย่างที่ทราบกันดีในช่วงก่อนหน้านี้ที่ Apple ประกาศจะให้ความสำคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อมเข้มข้นมากขึ้น โดยมีการงดแถมหัวชาร์จ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ในทุกออร์เดอร์ตั้งแต่รุ่น Iphone12 เป็นต้นไป พร้อมปรับรูปแบบบรรจุภัณฑ์ให้ประหยัดทรัพยากรสูงสุด 

 

และเมื่อเปิดผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ตั้งแต่ปี 2019 ปีก่อนที่ Apple จะงดแถมหัวชาร์จและหูฟัง บริษัทมีกำไรเพิ่มขึ้นจากปีก่อนอยู่ที่ 37.95% ซึ่งปี 2020 Apple มีอัตราการกำไรเพิ่มขึ้น 38.78% (YoY) และแตะที่ 41.78% (YoY) ในปี 2021 

 

เป็นไปได้ว่าส่วนหนึ่งอาจมาจากมาตรการเบื้องต้น ที่ทำให้บริษัทฯ สามารถลดต้นทุนไปได้เยอะ และมีกำไรเพิ่มขึ้น

 

โดยทางบริษัทฯ ให้ความสำคัญ ESG แต่ละด้านดังนี้ 

 

E : Environment หรือ สิ่งแวดล้อม

ตั้งแต่ปี 2018 Apple ให้ความสำคัญกับการจัดหาบริษัทคู่ค้าผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่สามารถหมุนเวียนนำกลับมาใช้ได้ 100% พร้อมตั้งเป้าหมายในการลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ภายในปี 2030 

 

S : Social หรือ สังคม  

Apple สร้างและพัฒนาแผนด้านโปรแกรมพัฒนาบุคคากร เพื่อสนับสนุนการเติบโตของพนังงานในบริษัท

และลงทุนในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อมอบเทคโนโลยีที่ดีสุดกับกับ ครู นักเรียน เหล่านักครีเอเตอร์ต่าง ๆ ในการเป็นส่วนของการสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพ

 

นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญในด้านสิทธิมนุษยชน สุขภาพและความปลอดภัย รวมไปถึงยึดมั่นในหลักจรรยาบรรณของผู้ประกอบการ

 

G : Governance หรือ ธรรมาภิบาล

สร้างความแข็งแกร่งในโครงสร้างหน้าที่ และการทำงานของพนังงานทุกระดับชั้น เพื่อประสิทธิภาพการจัดการ และบริการที่ดีที่สุด พร้อมมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม สุจริต และปฏิบัติตามอย่างเต็มที่

ตามกฎหมายกำหนด

 

อย่างไรก็ตามสำหรับความน่าสนใจของ Apple ในสายตานักลงทุนนั้น ถือเป็นเป็นที่หนึ่งในดวงใครหลายคน

ซึ่งถ้าหากใครติดตามข่าวก็คงได้เห็นคุณปู่บัฟเฟตต์เข้ากวาดหุ้น Apple ไปถึง 120,000 ล้านเหรียญ แสดงถึงความเชื่อมั่นที่นักลงทุนรายใหญ่ที่เห็นศัยกภาพรอบด้านของบริษัทฯ ทั้งในด้านเทคโนโลยี และความยั่งยืนที่บริษัทยึดถือ

 

และในแง่หนึ่งก็เป็นที่น่าติดตามว่ามาตรการที่ Apple แถมอุปกรณ์ และปรับรูปแบบบรรจุภัณฑ์นั้น จะสามารถช่วยสิ่งแวดล้อมได้มากขนาดไหน ในเมื่อหากยังต้องซื้ออุปกรณ์เสริมสำหรับโทรศัพท์ใหม่อยู่ดี

 

ซึ่งหมายความว่าทั้งหัวชาร์จ หรือหูฟังที่บริโภคยังต้องการนั้น ก็ยังต้องใช้ทรัพยากรในการผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าแยกชิ้นอยู่ดี และนั้นอาจเป็นคำถามทิ้งท้ายให้ชวนคิดว่า นี้คือเป้าหมายที่แท้จริงของ Apple ในการช่วยสิ่งแวดล้อมหรือไม่

 

ข้อมูล : investor.apple.com / s2.q4cdn.com