อัพเดตเทรนด์เปิดโลกการตลาดยุค 4.0

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยรวมพลกูรูนักการตลาด มาร่วมอัพเดตเทรนด์เปิดโลกการตลาด 4.0 ในงาน “Marketing Day 2016 : Excellence Marketing for Thailand 4.0” ร่วมก้าวสู่ยุค “Marketing Evolution for People” หรือที่เรียกว่า “ยุคแห่งวิวัฒน์การตลาดเพื่อปวงชน”

การตลาด

 

ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์การตลาดอย่างสิ้นเชิง ทั้งในด้านผู้บริโภค เทคโนโลยี ข้อมูล และ การสื่อสาร ซึ่งนักการตลาดต้องเตรียมความพร้อมเพื่อพบกับโลกการตลาดยุคใหม่เปลี่ยนไปอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

สุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์ นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย เผยเทรนด์การตลาดยุคไทยแลนด์ 4.0 ว่า “ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลง และ ประเทศไทยพร้อมก้าวไปข้างหน้า ภาคธุรกิจก็ต้องพร้อมที่จะปรับตัวให้ฉับไวทันเหตุการณ์ โดยสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยนั้นมีวิสัยทัศน์ในการร่วมเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้ก้าวไกลทัดเทียมนานาชาติ

 

จะเห็นได้ว่า ในทศวรรษที่ผ่านมาเป็นยุคแห่งการก้าวผ่านจากโลกยุคเก่าเข้าสู่โลกยุคใหม่ ที่เทคโนโลยีเชื่อมต่อคนทั้งโลกเข้าด้วยกันอย่างไร้พรมแดน เราจะเห็นรูปแบบการสื่อสารใหม่ๆ รวมถึงสินค้าและบริการที่เกิดขึ้นอย่างนับไม่ถ้วนโดยไร้ เส้นกั้นทางภูมิศาสตร์ เป็นการเปิดโอกาสการเติบโตของเศรษฐกิจโลกครั้งยิ่งใหญ่ และในปี 2559 นี้ ประเทศไทยได้เริ่มก้าวเข้าสู่ยุค ไทยแลนด์ 4.0 โดยมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชาติด้วย “Value–Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์”

 

เมื่อกล่าวถึงการก้าวสู่ยุคแห่งนวัตกรรม หลายๆคนมีคำถามว่า Marketing 4.0 นั้นจริงๆแล้ว คืออะไร เราสามารถกล่าวได้ว่า ยุค 4.0 นี้ คือยุค “Marketing Evolution for People” หรือที่เรียกว่า “ยุคแห่งวิวัฒน์การตลาดเพื่อปวงชน” เป็นยุคของการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ทางการตลาดอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และ ผู้บริโภคมีบทบาทสำคัญยิ่งกว่ายุคใดๆที่ผ่านมา โดยมีเทรนด์เด่นๆ 3 ด้านด้วยกัน คือ

 

1. ด้านผู้บริโภค : เทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะสมาร์ทโฟนและโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค ได้ส่งผลให้เกิดสังคมแห่งอุปนิสัยใหม่ของผู้บริโภค ซึ่งมีนิยามเรียกว่า “โซเชียลโนมิกส์” (Socialnomics) คือ ประชากรโลกที่หลอมรวมกันในช่องทางออนไลน์และโซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆ โดย มร. อีริค โควลแมน (Erik Qualman) ผู้นำด้าน ดิจิตัลเทรนด์ระดับโลกได้กล่าวไว้ว่า คนทุกคนในทุกประเทศที่ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค นับเป็นประชากรของ “โซเชียลโนมิกส์ เนชั่น” (Socialnomics Nation)

 

ซึ่งมีรูปแบบไลฟสไตล์ และอุปนิสัยต่างจากผู้บริโภคที่เราเคยรู้จักอย่างสิ้นเชิง พวกเขาเหล่านั้นมีพลังในการก่อให้เกิดกระแสต่างๆทั้งในทางบวก และทางลบ เป็นสังคมที่เชื่อมต่อคนทั้งโลกเข้าด้วยกันอย่างไร้พรมแดน และเปิดโอกาสทางการตลาดอย่างมหาศาล ด้วยพลังของมวลชนและความเร็วของการเดินทางของข้อมูล

 

2. ด้านเทคโนโลยี และ ข้อมูล : คือเรื่อง Internet of Things เพราะในอนาคตอันใกล้ อุปกรณ์ทุกชิ้นในชีวิตประจำวันจะถูกเชื่อมต่อด้วย อินเตอร์เน็ตเน็ทเวิร์ก และ ระบบเซ็นเซอร์ที่จับความเคลื่อนไหวต่างๆ จึงเกิดการเชื่อมต่อสื่อสารระหว่างเครื่องจักร มนุษย์ และข้อมูลในเชิงเทคโนโลยี ซึ่งมีผลทางบวกกับการเพิ่มประสิทธิภาพ และ การตอบความต้องการของผู้บริโภค เช่น บ้านอัจฉริยะ (Smart Home) เมืองอัจฉริยะ (Smart City) หรือ ยานยนตร์อัจฉริยะ (Intelligent Transportation) ฯลฯ แต่ในอีกมุมหนึ่ง ข้อมูลเดต้าเหล่านี้ คือข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับชีวิตและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคจำนวนมหาศาล ซึ่งเปรียบเหมือนขุมทรัพย์ของนักการตลาด หากสามารถแปลความหมาย และนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม

 

รวมถึงเทคโนโลยีที่จะทำให้เกิดเป็นนวัตกรรมการตลาดรูปแบบใหม่มากมาย เช่น เทคโนโลยีเสมือนจริง หรือ Augmented Reality ที่เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยี 2D, 3D หรือไฟล์วิดิทัศน์ภาพเสียงต่างๆ ที่ถูกซ้อนลงบนโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งจะสามารถมองเห็นผ่านอุปกรณ์พิเศษ ไม่ว่าจะเป็นเว็ปแคม, กล้องในสมาร์ทโฟนและแท็ปเล็ต รวมถึงแว่นตาพิเศษ เช่น Google Glasses ซึ่งจะช่วยทำให้สื่อดั้งเดิมนั้นเกิดความน่าสนใจขึ้นอีกมาก และ อีกเทคโนโลยีที่มีความสำคัญคือ บีคอนส์ เซ็นเซอร์ (Beacons Sensor) ซึ่งช่วยสร้าง Location Base Data Intelligent ทำให้นักการตลาดสามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายได้เป็นรายบุคคล ณ เวลา และสถานที่ๆต้องการ ในทศวรรษที่กำลังจะมาถึงนี้ สิ่งที่เราเคยเห็นแต่ในภาพยนตร์จะไม่เป็นเพียงเรื่องของจินตนาการในอนาคตอีกต่อไป

 

3. ด้านการสื่อสาร : เทคโนโลยีจะมีบทบาทสำคัญที่จะมาพลิกรูปแบบการสื่อสารระหว่างแบรนด์และผู้บริโภค ถึงแม้ช่องทางการสื่อสารแบบดั้งเดิม เช่น วิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ จะยังคงอยู่ แต่เทคโนโลยีใหม่ๆจะมีบทบาทมากขึ้น หลังจากปี 2560 เป็นต้นไป เทรนด์ของช่องทางหลักในการเข้าถึงผู้บริโภคคือ Mobile Devices และ Social media เป็นการสื่อสารแบบ เรียลไทม์ เป็นหลัก ดังนั้นรูปแบบจะเปลี่ยนไป จากแคมเปญที่ถูกสร้างสรรค์โดยนักการตลาดล้วนๆ มาเป็นการสื่อสารที่เป็น Consumer Curated Content เป็นหลัก เหมือนกระแสคลื่นข้อมูลที่ถูกสร้างสรรค์โดยผู้บริโภค กระแสเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มีอิมแพคแรงและเป็นวงกว้าง แต่จะถูกพัดจางหายไปในเวลาอัน รวดเร็ว นักการตลาดจึงต้องปรับรูปแบบให้สอดคล้อง นำสถานการณ์อยู่เสมอ

 

สำหรับทุกๆ ธุรกิจการสร้างแบรนด์ที่โดดเด่นและแตกต่างเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างรากฐานที่มั่นคง แต่ผู้ประกอบการ ต้องต่อยอดความสำเร็จด้วยรูปแบบการตลาดที่ตอบโจทย์โดนใจผู้บริโภคยุคใหม่ให้ได้ ยุค “Marketing Evolution for People” นี้นับเป็นยุคแห่งโอกาส เพราะเทคโนโลยีช่วยให้เราสามารถเข้าถึงกลุ่มผุ้บริโภคหลายสิบล้านคนได้พร้อมๆกัน และ ช่วยให้เราสามารถปรับแคมเปญการตลาดของเราให้ตอบโจทย์ตรงใจกลุ่มเป้าหมายได้เป็นรายบุคคลดังนั้น
กุญแจสู่ความสำเร็จของการตลาดแห่งอนาคต คือ การนำเทคโนโลยีและข้อมูลมหาศาลเหล่านี้ มาแปรเปลี่ยนเป็น Consumer Lifestyle & Journey Intelligent เพื่อเป็นข้อมูลในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้บริโภคในระดับบุคคล ผ่านรูปแบบของการทำตลาดแบบ Mass Customization Marketing นั่นเอง เป็นการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อทำการตลาดให้มีประสิทธิภาพสูงสุด แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบการต้องพึงตระหนักว่า ไม่ว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร หัวใจของการตลาดยังคงย้อนกลับมาสู่สิ่งที่สำคัญที่สุดเสมอ นั่นก็คือ แบรนด์และผู้บริโภค” นางสุพัตรากล่าวทิ้งท้า