“มีโอกาสมากกว่าความท้าทาย” การค้า E-Commerce ระหว่างประเทศจีนมาแรง ทำยอดแตะแสนล้านเหรียญฯ ด้านไทยยังไร้วี่แวว

เมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมการสำนักรัฐมนตรีแห่งชาติจีน ได้มีความเห็นเร่งปรับพัฒนาแผนการค้ารูปแบบใหม่ เพื่อการยกระดับค้าระหว่างประเทศให้มีเสถียรภาพ และเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายให้ได้มากที่สุด
.
ซึ่งในปี 2563 ที่ผ่านมา ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้า-ส่งออกในรูปแบบ E-commerce ระหว่างประเทศของจีน (Cross-border E-Commerce) เพิ่มสูงขึ้นถึง 1.69 ล้านล้านหยวน (ประมาณ 260,959 ล้านเหรียญสหรัฐ) คิดเป็นร้อยละ 31.1 (Yo
ถือเป็นการเติบโตก้าวกระโดด 10 เท่าในรอบ 5 ปี

อีกทั้งการค้าแบบ Market Purchase Trade Method (หรือ การจัดซื้อสินค้าเพื่อส่งออกในตลาดที่หน่วยงานทางการกำหนด) ทำยอดไปถึง 7 แสนล้านหยวน (ประมาณ 108,094 ล้านเหรียญสหรัฐ)
เติบโต 5 เท่า ในรอบ 6 ปีที่ผ่านมา

 

#มูลค่าCBECครึ่งปีแรก_ปี64ของจีน
โดย Mr. Li Kuiwen โฆษกกรมศุลกากรของจีน เผยว่า ครึ่งปีแรกที่ผ่านมาของปี 2564 จีนยังคงรักษาระดับ Cross-border E-Commerce หรือ CBEC ได้ดี
โดยมีมูลค่ารวมกว่า 886.7 พันล้านหยวน (ประมาณ 136,925 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ)
เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.6 (YoY) โดยแบ่งเป็น
#มูลค่าการส่งออกราว 603.6 พันล้านหยวน (ประมาณ 93,210 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ)
เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.1 (YoY)
และ #มูลค่าการนำเข้า 283.1 พันล้านหยวน (ประมาณ 43,716 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ)
เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 (YoY)

ทั้งนี้ผู้เล่นรายใหญ่ในตลาด CBEC ของจีนขณะนี้ คือ Tmall ของ Alibaba ถือเป็นผู้ให้บริการผ่านแพลตฟอร์ม ที่กินส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดอันดับเป็นหนึ่ง ด้วยสัดส่วน 28%
ตามมาด้วย Kaola 20.5%, JD.com 13.5% และ Vipshop Global 9.8%

ซึ่งกลุ่มสินค้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของ CBEC ในปี 2563 คือจำพวก
เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เสริมความงาม
โดยเฉพาะ สินค้าประเภทครีมมาส์กหน้า มียอดขายเพิ่มขึ้น 5,074% (YoY)
ผลิตภัณฑ์สำหรับแม่และเด็ก
โดยเฉพาะ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารป้องกันการท้องผูกในหญิงตั้งครรภ์มี ยอดขายเพิ่มขึ้น 261,916% (YoY)
อาหารและเครื่องดื่ม เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไฟเบอร์ (Dietary Fiber) มี
ยอดขายเพิ่มขึ้น 2,569% (YoY)
สินค้าแฟชั่นและเครื่องประดับแบรนด์หรู เช่นจำพวก คอนแทคเลนส์แฟชั่น มียอดขายเพิ่มขึ้น 1,973% (YoY)

ซึ่งบริษัทที่ให้บริการด้านการค้าระหว่างประเทศแบบบูรณาการของจีน (เชื่อมโยงกันทั้งระบบ) มีจำนวนกว่า 1,500 แห่ง จำนวนผู้ใช้บริการกว่า 2 แสนราย และมีโกดังคลังสินค้าในต่างประเทศราว 1,900 แห่ง

 

#นโยบายล่าสุด_การค้าระหว่างประเทศของจีน
ทางด้าน ผู้ช่วยอธิบดีกระทรวงพาณิชย์แห่งชาติจีน Mr. Ren Hongbin เผยว่า แนวโน้มการค้าระหว่างประเทศของจีนในปี 2564 นี้ ‘มีโอกาสมากกว่าความท้าทาย’ โดยผลการสำรวจ พบว่า ธุรกิจของบริษัทการค้าต่างประเทศของจีน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 (YoY)

แสดงให้เห็นถึงความต้องการของตลาดโลกค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามจากผลสำรวจยังชี้ให้เห็นถึงปัญหา 4 ด้าน ที่บริษัทการค้าต่างประเทศของจีนยังต้องพบ

1. #การขนส่งทางเรือยังล่าช้าและมีต้นทุนสูง
2. #ความไม่เสถียรของอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวน ทำให้บริษัทไม่ได้กำไรและไม่กล้ารับออเดอร์
3. #ต้นทุนราคาวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น
4. #การจ้างงานที่ยากขึ้น และมีอัตราค่าจ้างสูงในบางพื้นที่

ทั้งนี้ทางด้าน กระทรวงพาณิชย์จีนก็ไม่นิ่งนอนใจ เร่งปรับนโยบายที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ดังนี้

  • กระตุ้นให้มีการพัฒนาการค้าต่างประเทศด้วยนวัตกรรม
    เป็นการดำเนินการตามแผนงาน 3 ขั้นตอน ได้แก่
    1. การอนุญาตปล่อยสินค้านำเข้า และส่งออกอย่างมีประสิทธิภาพผ่านด่านระดับแรก
    2. ส่งเสริมการบรรจบกันระหว่างอุตสาหกรรม (Industry Convergence)
    3. การลดข้อจำกัดทางการค้า
    นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมการก่อตั้งแบรนด์สินค้าใหม่ เพิ่มการนำเข้าสินค้าระดับพรีเมียม
    รวมทั้งการสร้างเขตสาธิตการส่งเสริมนวัตกรรมการนำเข้าสินค้าระดับประเทศ
  • ผลักดันการสร้างโอกาสให้เกิดการค้าต่างประเทศมากขึ้น
    ลดรายการสินค้าใน Negative List สำหรับทุนต่างประเทศ
    และกระตุ้นให้มีการเพิ่มจุดสาธิตอุตสาหกรรมบริการ
  • รักษาความมั่นคงของห่วงโซ่อุปทานการค้าต่างประเทศและทุนต่างประเทศ
    แนะนำให้ทุนต่างประเทศเข้าถึงอุตสาหกรรมการผลิตระดับสูงมากขึ้น
    เสริมสร้างห่วงโซ่อุตสาหกรรมเพื่อดึงดูดนักลงทุน และรักษาความมั่นคงของเสาหลักในห่วงโซ่อุตสาหกรรม
  • ผลักดันให้มีการค้าและการลุงทุนเสรีมากยิ่งขึ้น
    ปกป้องการค้าพหุภาคี ดำเนินกลยุทธ์เพื่อยกระดับเขตการค้าเสรี
    ส่งเสริมให้มีการดำเนินการตามข้อตกลง RCEP ตามกำหนดเวลา
    ซึ่งนอกจากนี้จีนยังอยู่ระหว่างการพิจารณาเข้าร่วมข้อตกลง CPTPP
    รวมทั้งเร่งส่งเสริมการเจรจาเขตการค้าเสรีจีนญี่ปุ่น-เกาหลี

 

#CBEC_ของไทย
มาดูฝั่งของประเทศไทยกันบ้าง จากข้อมูล statista.com ระบุว่า ในช่วง มกราคมปี 2563 ที่ผ่านมา ยอดตัวเลขการค้า CBEC ของไทยมีมูลค่าราว 2 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ
.
ซึ่งไทยมีการนำเข้าสินค้าผ่าน CBEC เป็นจำนวนมาก (ส่วนตัวเลขส่งออกนั้น ยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัด) และเป็นการนำเข้าจากประเทศจีนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 52% , ญี่ปุ่นร้อยละ 14 , สหรัฐฯ ร้อยละ 7
.
.
อีกทั้งมีการคาดการณ์จาก trade.gov ระบุว่า ภายในปี 2565 ตลาด CBEC ทั่วโลกอาจเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 ซึ่งมากกว่าการค้าระหว่างประเทศแบบเดิม ด้วยมูลค่ากว่า 1 ล้านล้าน ดอลล่าร์สหรัฐ
.
อย่างไรก็ตาม การค้าระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบเดิม หรือ CBEC แต่ละประเทศจะมีการขยายตัวและเติบโตที่ดีได้นั้น ปัจจัยส่วนหนึ่งก็ต้องมากับนโยบายที่รัฐบาลแต่ละประเทศจะสนับสนุนและส่งเสริมการค้าให้เสถียรภาพมากยิ่งขึ้น

 

ที่มา : www.china.org.cn/china/2021-07/16/content_77632376_8.htm

Cross Border E-commerce is Opening China’s F&B Market for Foreign Exporters


https://www.trade.gov/knowledge-product/thailand-ecommerce
https://www.statista.com/statistics/1176370/thailand-e-commerce-cross-border-share-by-country/
https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/747000/747000.pdf&title=747000&cate=2071&d=0
https://ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/613289/613289.pdf&title=613289&cate=592&d=0