ตั้งแต่การระบาดของ COVID-19 ตลาดแรงงานก็เกิดการเปลี่ยนแปลง คุณสมบัติแบบเดิม ชุดทักษะที่เป็นการทำซ้ำ ๆ (Routine Work) ไม่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงาน
ลองมาทำความรู้จัก M-Shaped Skills มนุษย์ “รู้รอบ รู้ลึก” ซึ่งเป็นที่ต้องการขององค์กรยุคนี้ โดยตระหนักรู้เสมอว่า การพัฒนาตัวเองให้เก่งในหลากหลายด้านและการเพิ่มทักษะ เป็นเรื่องที่ “ต้องทำ” และต้องทำให้เร็วที่สุด หากไม่อยากถูกทิ้งไว้ข้างหลัง โควต ปัจจุบันเราไม่สามารถทำแบบ Top-Down Approach ได้แล้ว เราจะไม่สามารถเตรียมคนได้ทันกับโอกาสและความท้าทายใหม่ที่จะเข้ามาในอนาคต
4 ทิศทางและมิติการพัฒนาบุคลากรที่เปลี่ยนไป
มิติที่ 1 มองไปให้ไกลกว่าเนื้องานและบทบาทปัจจุบัน : ในโลกการทำงานที่ไม่มีอะไรแน่นอนทุกวันนี้ ผู้นำ ผู้บริหารองค์กร ตลอดจนคนทำงานทุกระดับ ไม่สามารถมองแค่เนื้องานปัจจุบันที่เราเห็นอยู่ แต่ต้องมามองว่ามีบทบาทอะไรที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ทั้งในช่วงชีวิตปกติและช่วงไม่ปกติ (วิกฤต) แล้วเริ่มเตรียมพร้อมคนสำหรับบทบาทที่จะเกิดขึ้นในวิกฤต
ประเด็นที่ 2 เน้นคำว่า “เร็ว” ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ : เราต้องปรับเปลี่ยนความสามารถ-ทักษะอะไรที่จะช่วยทำให้ตัดสินใจเร็วขึ้น และปฏิบัติลงมือทำได้อย่างรวดเร็ว สำคัญคือ ต้องกลับมาดูว่าจะยกระดับทักษะความสามารถอะไร เพื่อให้องค์กรและบุคลากรในทีมทำสิ่งต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น
ประเด็นที่ 3 เสริมสร้างกลุ่มคนแบบ M-Shaped Skills : ทักษะการรู้รอบด้านมีความสำคัญมากขึ้น เพื่อให้สามารถทำงานที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งรู้ลึกในเรื่องที่ทำอยู่ และรู้หน้ากว้าง อีกทั้งผนวกองค์ความรู้ต่าง ๆ และเปิดรับสิ่งใหม่ ทำให้สามารถหมุนตัวเองและทำงานที่หลากหลายอย่างคล่องตัวและเชี่ยวชาญ สร้างกลุ่มคนเหล่านี้ขึ้นมา ซึ่งจะเป็นสมบัติที่มีค่าในหน่วยงานหรือองค์กรนั้น ๆ
ประเด็นที่ 4 ระบุชุดทักษะใหม่ในยุค Never Normal : เราต้องเข้าใจว่า การพัฒนาทักษะต้องสอดคล้องกับบริบทในยุคนั้น ๆ เพราะแน่นอนว่าทักษะเดิม ๆ ที่เราคุ้นเคยกันอยู่ ผ่านไปนานวันจะเข้าสู่ระยะหมดอายุ และไม่สามารถใช้งานได้อีก คีย์เวิร์ดสำคัญของเกมการอยู่รอดในครั้งนี้ คงหนีไม่พ้นการเร่งปรับตัวเพื่อรีสกิล (Reskill) และอัปสกิล (Upskill) อย่างต่อเนื่อง เพื่อก้าวเข้าสู่โลกยุคใหม่ ด้วยการพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของแต่ละสายงาน (Job-Based Skills) ทั้งอาชีพที่มีอยู่แล้วและเกิดขึ้นใหม่ ส่งผลให้คนทำงานต้องมีความรู้และทักษะที่นอกเหนือจากสายงานของตัวเอง
8 มิติสำคัญของการพัฒนาทักษะคน
1.Agility & Change
เพราะเราอยู่ในโลกที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทักษะการทำงานต้องเร็วด้วยเช่นกัน ไม่จำเป็นต้องมีหลายชั้น ทีมต้องสามารถคุยกันและเริ่มทดลองอะไรใหม่ ๆ อย่างรวดเร็วและคล่องตัว และสามารถทำงานในรูปแบบอไจล์หรือสครัมในการแก้ไขปัญหา หรือพัฒนาโซลูชันใหม่ ๆ ในโครงการ มีความสามารถในการปรับตัว ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้สูงสุด
2.Innovation & Creativity
เพิ่มความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน เพื่อโซลูชันใหม่ มีทักษะในการฟังที่ดี เข้าใจ Insights ความต้องการและปัญหาของลูกค้าอย่างแท้จริง สามารถแก้ปัญหาอย่างตรงจุด ให้บริการที่ตอบโจทย์และประทับใจลูกค้าอย่างแท้จริง
3.Mindset & Personal Growth
แน่นอนว่า Mindset มีความสำคัญที่สุด เพราะ Mindset คือพื้นฐานของการกระทำทุกอย่างของมนุษย์ ถ้าปรับ Mindset ให้ถูกได้ พฤติกรรมก็จะเปลี่ยนตามไปเอง สิ่งแรกที่เราต้องมีคือ Mindset ที่พร้อมจะเปลี่ยน พร้อมจะเรียนรู้ และเข้าใจผู้อื่น โดยสามารถแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ ดังนี้
•Growth Mindset ไม่ยึดติดกับกรอบเดิม มองวิกฤติให้เป็นโอกาส กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง
•Learning Mindset แสวงหาวิธีการใหม่ ๆ ช่วยให้เป็นคนที่มี “มุมมองที่กว้างขึ้น” ซึ่งช่วยให้สามารถรับมือกับปัญหาในอนาคตได้ดีกว่าการรู้อยู่เพียงแค่แนวทางเดิม ๆ
•Outward Mindset วิธีคิดที่ช่วยให้เข้าใจความต้องการ อุปสรรค และความท้าทายของคนที่เราร่วมงานด้วย ช่วยให้เราทำงานกับคนที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลักดันการทำงานเป็นทีม เป็นเรื่องที่ใช้ในองค์กรภาครัฐและเอกชนค่อนข้างเยอะในช่วงวิกฤต
4. Business Acumen ความเฉียบแหลมทางธุรกิจ ใช้เพื่อประโยชน์ในการขับเคลื่อนธุรกิจหลายด้าน การมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจ เป็นสิ่งที่จะช่วยให้งานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5. Leadership ทักษะภาวะผู้นำ มีความรู้ความสามารถในการแก้ปัญหาและตัดสินใจ ตลอดจนศิลปะในการโน้มน้าว การสร้างแรงจูงใจ และการสร้างวิสัยทัศน์ที่ดี เพื่อให้สามารถบริหารจัดการงานและทีมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ
6. Productivity มีทักษะความสามารถในการทำความเข้าใจสถานการณ์ แก้ไขปัญหา รวมถึงสามารถจัดการงาน จัดลำดับความสำคัญ บริหารจัดการเวลาได้อย่างมีระบบ
7. Communication & Collaboration ความสามารถในการสื่อสารที่มากกว่าการถ่ายทอดความรู้ความชำนาญ แต่เป็นการสร้างแรงจูงใจและแรงบันดาลใจ และทักษะการทำงานระหว่างบุคคลได้อย่างราบรื่น และความสามารถในการสื่อสารที่ยอดเยี่ยม ชัดเจน จะช่วยให้การทำงานเป็นทีม และการประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ รวมถึงลูกค้ามีประสิทธิผลยิ่งขึ้น
8. Digital Skills ทักษะการใช้ข้อมูลให้มีประโยชน์ หัวใจสำคัญของความเติบโตคือ “กลยุทธ์” ในยุคที่ข้อมูลลูกค้ามีอยู่มหาศาล ทักษะในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ เป็นปัจจัยสำคัญในการวางกลยุทธ์การขายและพัฒนาธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ การจับจุดตลาดได้ถูกทาง รู้ว่าแต่ละงานต้องเกี่ยวข้องและใช้ Digital Tools ใด
เขียนและเรียบเรียง : คุณอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซีย
ข้อมูล : SEAC
ติดตาม Business+ ได้ที่ thebusinessplus.com
Line Business+ ได้ที่ https://lin.ee/pbIHCuS
#Businessplus #Business+ #นิตยสารBusinessplus #MShapedSkills #การพัฒนาบุคลากร #Mindset #SEAC #DigitalSkills