ผู้ประกอบการไทย–ต่างชาติประสานเสียงคาดการณ์แนวโน้มปี 2017 ภาคอสังหาริมทรัพย์ไทยขาขึ้น ตลาด Strong ด้วยอุปสงค์จากผู้บริโภคมีมากขึ้น พบการวิเคราะห์เจาะลึกแต่ละเซ็กเม้นท์ทั้งภาคที่อยู่อาศัย สำนักงาน ท่องเที่ยว ด้านออกแบบ และการค้าปลีก–ห้างสรรพสินค้า
โดยมุ่งนำเสนอวิทยากรชั้นนำและการอภิปรายเกี่ยวกับประเด็นสำคัญต่างๆ ที่จะส่งผลต่อการค้าขายด้านอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทิศทางการลงทุน พื้นที่สำคัญ การพัฒนาการขายปลีก ตลาดสำนักงาน และวิวัฒนาการของภาคส่วนการออกแบบ เป็นต้น โดยสุพินธ์ มีชูชีพ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โจนส์ แลง ลาซาล (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ดำเนินรายการ, . แอนดริว กัลแบรนสัน หัวหน้างานวิจัย บริษัทโจนส์ แลง ลาซาล (ประเทศไทย) จำกัด รับหน้าที่เป็นผู้สรุปภาพรวมตลาดของประเทศไทย
ทั้งนี้วิทยากรบางท่านได้สะท้อนมุมมองวิเคราะห์ภาพอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ดังนี้
ภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัว
เคลย์ตัน เวด กรรมการผู้จัดการ บริษัท พรีเมียล โฮม เรียลเอสเตท จำกัด กล่าวว่าจากสภาวะการณ์ทางการตลาดในปัจจุบัน กล่าวได้ว่าตามปกติแล้วภาวะเศรษฐกิจไทยมักจะไม่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกนั้น ทำให้คาดการณ์ได้ว่าแนวโน้มในปีหน้าของภาคอสังหาริมทรัพย์ไทยอยู่ในช่วงฟื้นตัว ซึ่งได้รับคำยืนยันจาก healthy luxury residential segment of Bangkok กรุงเทพมหานคร ที่มองว่าแต่ละ segment ของตลาดอสังหาริมทรัพย์ของไทย ต่างก็มีความเข้มแข็งและแนวทางการพัฒนาของตนเอง
“แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ผลกระทบจากการหดตัวของเศรษฐกิจจีนและการลดลงของอุปสงค์ภายในประเทศในรอบปีที่ผ่านมาก็ตาม ประเทศไทยก็ยังคงอยู่ในช่วงขาขึ้นในปี 2016 นี้ โดยหลายองค์กรในภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงพยากรณ์การเติบโตที่ประมาณร้อยละ 5 – 10 ทั้งนี้ตลาดระดับบนของกรุงเทพฯ ยังคงถูกคาดหวังว่าจะฉุดให้อสังหาริมทรัพย์ในภาคอื่นๆ เป็นไปในทิศทางบวกตามไปด้วย”
เคลย์ตัน เวด กล่าวในมุมมองว่าแต่ละ segment ของตลาดอสังหาริมทรัพย์ของไทยต่างก็มีความเข้มแข็งและแนวทางการพัฒนาของตนเอง “สำหรับภาคส่วนการรับนักท่องเที่ยว ซึ่งได้รับประโยชน์โดยตรงจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวตลอดทศวรรษที่ผ่านมานั้น รายได้ ต่อห้องพัก (RevPar) ได้รับการคาดหมายว่าจะเติบโตระหว่างร้อยละ 2 – 3.5 ต้องขอบคุณความแข็งแกร่งของ segment ลูกค้าระดับบนและกลุ่มลูกค้า upscale รวมไปถึงการเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งอาจจะมีถึง 33 ล้านคนในปี 2016 นำโดยนักท่องเที่ยวชาวจีนและกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียซึ่งกำลังจะกลับมา ทั้งหมดนี้ต่างก็เป็นที่จับตามองเป็นพิเศษโดยหน่วยธุรกิจในแต่ละภูมิภาค”
ชาลร์ส บลอกเกอร์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธาน บริษัท IC Partner จำกัด บริษัทที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับภาคการท่องเที่ยว และเป็นวิทยากรในงาน กล่าวถึงภาคอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรมและการลงทุนร่วมและการจัดการสำนักงานในภูมิภาคอาเซียน โดยยกตัวอย่างว่า “การเปิดตัวของสนามบินนานาชาติภูเก็ตในไตรมาสนี้ จะส่งอิทธิพลต่อการเติบโตอย่างต่อเนื่องในใจกลางเมืองภูเก็ต ทั้งโรงแรมระดับกลางและโรงแรมระดับค่อนข้างใหญ่และคอนโดมิเนียม เนื่องจากภูเก็ตเองได้กลายมาเป็นจุดมุ่งหมายการท่องเที่ยวขนาดใหญ่ ของนักท่องเที่ยวไปแล้ว” ทั้งนี้นักพัฒนาและผู้ประกอบการโรงแรมทั่วประเทศ จะได้รับคำแนะนำให้ระวังการเติบโตของระบบการจองห้องพักทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะให้ระดับราคาค่าห้องพักต่ำที่สุดในขณะที่เปอร์เซ็นต์ของคอมมิชชั่นสูงที่สุด
แฟรงค์ จานแมท กรรมการผู้จัดการ Lighthouse อีกหนึ่งในวิทยากรรับเชิญในงาน Property Report Congress Thailand 2016 ผู้ได้รับการยอมรับในฐานะผู้เชี่ยวชาญในวงการที่เกี่ยวกับการต้อนรับนักท่องเที่ยว มองว่าการลงทุนในโรงแรมสำหรับลูกค้าระดับบนมีแนวโน้มจะหดตัวลงเนื่องมาจากหลายเหตุผล แต่คาดหวังว่ากลุ่มโรงแรมระดับกลางยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องจากกลุ่มนักท่องเที่ยว ชาวจีนและกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ไม่ต้องการจ่ายในราคาสูง จะบินตรงมายังจุดหมายปลายทางที่เขาชอบในช่วงวันหยุด
จับตากลุ่มออฟฟิศสำนักงานโดดเด่น
ดร. ธีรธร ธาราชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงินของ บมจ. Project Planning Service กล่าวว่า ‘ไม่ว่าที่ใดก็ตาม กลุ่มสำนักงานในประเทศไทยมองเห็นการเติบโตอย่างมหาศาล ทั้งในส่วนการเช่าและการซื้อเพื่อครอบครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำนักงานเกรด A ในกรุงเทพมหานคร ตอนใน ยังมีศักยภาพสูงสำหรับการสร้างสำนักงานเพื่อขายในเขตรอบนอกเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณ ถนนพระราม 9 หรือเอกมัย–รามอินทรา เชื่อว่ากลุ่มเป้าหมายสำนักงานในกรุงเทพมหานครนั้น ถูกมองว่าเป็นภาคส่วนสุดท้ายของวงการอสังหาริมทรัพย์ไทยที่จะเติบโต เนื่องจากตั้งแต่ภาวะวิกฤติการเงินโลกในปี 2008-2009 มีค่าตอบแทนต่ำมากเมื่อเทียบกับอัตราค่าเช่า การเติบโตน้อยมากในด้านอุปสงค์ อย่างไรก็ตาม สำหรับช่วงสองสามปีที่ผ่านมานี้ สำนักงานเพื่อขายกลายมาเป็นภาคส่วนที่มีผลประกอบการดีที่สุด
ดร.ธีรธร ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่เขาคาดหวังว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังคงมีผลประกอบการที่ดีในอีกหลายปีว่า “มีโครงการเกรด A ที่น่าสนใจหลายโครงการที่เกิดขึ้นในเมืองหลวง ซึ่งจะฉุดให้ค่าเฉลี่ยค่าเช่าสำนักงานสูงขึ้นในภาพรวม ส่งผลกระทบต่อตลาดทั่วไปในเชิงบวก ถึงตอนนั้นตลาดจะชะงักไปชั่วชณะ ภายหลังจากที่โครงการขนาดใหญ่เหล่านี้สร้างอุปทานใหม่ๆ จำนวนมากให้กับตลาด”
ศักดิ์วัฒน์ ประเสริฐยิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการลงทุน กลุ่ม AIA กล่าวว่าในศักราชใหม่ของ Asean Economic Community (AEC) ธุรกิจสำนักงานเกรด A ในกรุงเทพมหานครตอนกลางจะมีการเติบโตที่ดี “‘อุปทานใหม่นี้จะค่อยๆ ถูกครอบครองโดยองค์กรข้ามชาติต่างๆ ซึ่งกำลังขยายตัวภายหลังช่วงการประหยัดต้นทุน ยกตัวอย่าง ตึก AIA สาทร และอาคารภิรัชทาวเวอร์ แอท เอ็มควอเทียร์ มีแผนที่จะพัฒนาสำนักงานขนาด 1 ล้านตารางเมตรโดยประมาณ โดยจะแล้วเสร็จในปี 2018 เทียบเท่ากับร้อยละ 12.8 ของสำนักงานที่ยังไม่ถูกจำหน่าย 7.8 ล้านตารางเมตรในปี 2016’
ภาคการออกแบบอนาคตสดใส
ผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าปลีกและออกแบบในขณะนี้ มุ่งให้ความสำคัญกับคุณภาพไม่ใช่ปริมาณ
วิชารี วิจิตรวาทการ ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ The COMMONS หนึ่งในผู้ได้รับการเสนอชื่อรับรางวัล ด้านรีเทล–ศูนย์การค้า Thailand Property Awards ครั้งที่ 11 ปี 2016 กล่าวว่า “ดิฉันหวังว่าจะสามารถวาดภาพที่โรยไปด้วยกลีบกุหลาบมากกว่านี้ แต่ก็ยังรู้สึกว่ายิ่งมีการแข่งขันกันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่อุปสงค์การซื้อเหมือนกับจะหดหายไปในช่วงปลายปีที่จะถึงนี้และปีหน้าด้วย ในสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอ ใครๆ ก็อยากที่จะค้นหาความมั่นคงและการเติบโตในกลุ่มผลิตภัณฑ์เฉพาะด้าน การที่จะเข้าใจในกลุ่มลูกค้า อย่างแท้จริง มีความซื่อสัตย์ และมุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญ”
ทอมัส ลีเซอร์ ผู้ก่อตั้งของ Leeser Architecture วิทยากรในช่วงเวิร์กช็อป ซึ่งเป็นสถาปนิกที่มีชิ่อเสียงด้านการออกแบบผลงานในระดับนานาชาติ มองว่าผู้บริโภคมักจะมองหาประสบการณ์ใหม่ๆ ดังนั้นการออกแบบและวางแผนโดยมุ่งเน้นคุณภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ “ตราบใดที่การค้าขายในภาคอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ เข้าใจว่าไม่ใช่เพียงแค่การ shopping แต่เป็นให้ความสำคัญกับความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบพื้นที่ใช้สอยที่มีคุณภาพเพียงพอ จะส่งผลให้คนให้ความสำคัญและตลาดการออกแบบจะยิ่งเติบโตมากขึ้น”
Stephen O’Dell ผู้อำนวยการ SODA ( สถาปัตยกรรมและการตกแต่งภายใน) สถาปนิกที่มีประสบการณ์การทำงานใน New York ซึ่งเป็นวิทยากรด้านการออกแบบอีกท่านหนึ่ง กล่าวว่า การเข้ามามีส่วนร่วมใน Property Report Congress Thailand 2016 จะทำให้เขาได้พบปะและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ร่วมวิชาชีพเพื่อที่จะได้ทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงภาพใหม่ๆ ของตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยและภูมิภาคอาเซียน และมีความยินดีที่จะได้เห็นการกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งของภาคธุรกิจการให้บริการนักท่องเที่ยวและที่พักในช่วงหกเดือนที่ผ่านมา ส่งผลต่อภาคการออกแบบที่ดีขึ้น
“การออกแบบและบรรยากาศการทำงานดูเหมือนว่าจะมีการขยับตัวในทางบวกมากขึ้น เรากำลังมองหากิจกรรมสำคัญจำนวนมากๆ ในประเทศไทยปี 2016 นี้ หลังจากที่มองว่าปีสองปีที่ผ่านมานั้นการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ค่อนข้างซบเซา ซึ่งอาจจะเป็นผลจากการขยายตัวของการออกแบบและการนำเสนอของเราในภูมิภาคเอเชีย–แปซิฟิก ก็ได้ แต่ผมก็ยินดีที่ได้เห็นว่าภาคการออกแบบมีความคึกคักมากขึ้น”