Young Designer มทร.ธัญบุรี คว้ารางวัลชนะเลิศ”ผ้าขาวม้าท้องถิ่น หัตถ์ศิลป์ไทย”

นักศึกษาสาขาวิชาออกแบบแฟชั่นและศิลปะสิ่งทอ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี คว้า 2 รางวัลชนะเลิศ จัดโดยบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี ประเทศไทย จำกัด จัดการ โดยมี4 สถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เข้าร่วมการแข่งขัน

ณณัฐ โสวนะปรีชา ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศ กล่าวว่า “การนำผ้าไทยมาออกแบบให้มีมูลค่า” ในการออกแบบทุกคนสามารถหยิบมาสวมใส่ได้ ได้นำผ้าไทยไปมิกส์เข้ากับผ้าหนัง ผ้ากำมะหยี่ ทำให้ผ้าขาวม้าดูมีราคาแพงขึ้น เทคนิคการอัดพีท เพิ่มความทันสมัยด้วยโอบิที่เอว ทำให้ดูมีความคลาสิก ให้เข้าถึงได้ง่าย และการคอเสดผ้าที่ชายกระโปรง เกิดความลงตัว ผ้าขาวม้าเป็นผ้าที่มีเอกลักษณะของไทย ลักษณะเหมือนลายสก๊อต การนำผ้าขาวม้ามาออกแบบทำให้ผ้าขาวม้ามีมูลค่า เพิ่มช่องทางในการนำผ้าขาวม้ามาใช้ประโยชน์

ทางด้าน “มิ้นท์” กนกรัตน์ มุณีรัตนากร ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศ อีกหนึ่งคน กล่าวว่า ลักษณะของการออกแบบการเต้นรำราตินของประเทศสเปน ใช้ผ้าขาวม้าสีแดงตัดความฉูดฉาดด้วยผ้าสีดำ สำหรับชุดราตรีผู้หญิงเป็นชุดเข้ารูป เว้าเพื่อโชว์สัดส่วน ใช้เทคนิคในการตัดต่อผ้า แทรกด้วยผ้าตาข่ายที่ชายกระโปรง และที่สำคัญคัดติ่งเป็นเส้นที่บ่า หน้าอก และเอว ทางด้านชุดผู้ชายใช้เทคนิคในการตัดต่อผ้าเลือกผ้าขาวม้าสีแดงอมชมพู และใช้ผ้าสีดำ ทำให้ผู้สวมใส่มีความเข้ม ใส่แล้วดูหล่อและเรียบหรู ดีใจที่ได้เข้าร่วมโครงการนี้เพราะว่าเป็นการสนับสนุนผ้าขาวม้าของไทย

ขณะที่ ลาวัลย์ ศรีบุญนาค ที่ได้รับรางวัลชมเชยชุดราตรีหญิง-ชาย กล่าวว่า ไม่อยากให้ชุดที่ออกแบบมีความเชย อยากให้ทันสมัย นำผ้าขาวม้ามาประยุกต์เข้ากับผ้าชนิดอื่นๆ ด้วยเทคนิคในการตัดต่อผ้า จับจีบด้านล่าง ให้ผู้สวมใส่ดูหรูหรา ข้างหลังมีสะไปยาว โชว์ลายผ้าของผ้าขาวม้า ซึ่งลายของผ้าขาวม้าเป็นลายที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

ศราวุฒิ ทองเอก อีกหนึ่งรางวัลชมเชย จากชุดราตรีผู้หญิง เล่าว่า แนวคิดในการออกแบบชุดต้องการนำผ้าขาวม้ามาประยุกต์ให้ร่วมสมัยและได้ใช้ได้จริง ผ้าขาวม้ามีเอกลักษณ์เป็นภูมิปัญญาของคนไทย สำหรับชุดราตรีที่ออกแบบมีความหรูหรา ชุดเดรสเกาะอก นำมาผ้าขาวม้ามาเดรป คือการทับซ้อนผ้า คุมโทนด้วยสีดำ-ขาว สามารถใส่ได้หลายโอกาส

ส่วนรางวัลชมเชยชุดราตรีผู้ชาย นั้น อธิพงษ์ ปรีชา เล่าให้ฟังถึงแนวคิดการออกแบบว่า ผ้าขาวม้าไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร เนื่องจากคนส่วนใหญ่มองว่าผ้าขาวม้าเหมาะกับผู้ชาย ที่คนสมัยก่อนใส่อาบน้ำ ใส่โพกหัว ในการออกแบบครั้งนี้ ลักษณะในการต่อหยิบเป็นการตัดต่อผ้า เพราะว่า การวางลายของผ้าขาวม้าเป็นสิ่งที่สำคัญ ถ้าวางสวยลายผ้าก็สวย วางไม่ดีลายผ้าจะไม่สวย ตัดเย็บลักษณะเป็นสูทสากล เรียบหรู

“ดีใจที่ได้เข้าร่วมโครงการ ได้เพิ่มมูลค่าให้ผ้าขาวม้าไทย ทำให้สามารถหยิบจับผ้าขาวม้ามาใช้ ส่งเสริมกลุ่มแม่บ้านในการผลิตผ้าขาวม้า สร้างรายได้ให้กับชุมชน” ณณัฐ โสวนะปรีชา กล่าวทิ้งท้าย