Uber กับการเดินทางครั้งใหม่

เป็นข่าวดังไปทั่วโลก หลังUber Technologies Inc.แอพพลิเคชันเรียกแท็กซี่ จากอเมริกา สถานะตั้งต้นคือ บริษัทเกิดใหม่ (Startup)ที่อาจมีมูลค่ามากกว่า62,500ล้านดอลลาร์ จอดป้ายแค่เมืองจีน

ความสำเร็จของUberไม่ใช่เป็นสิ่งที่ลอกเลียนแบบได้ง่าย มีแอพฯ เรียกแท็กซี่ในสหรัฐอเมริกาเกิดขึ้นมาแข่งกับอูเบอร์ อาทิ ลิฟต์ (Lyft)และ ไซด์คาร์ (Sidecar)แต่ไม่ประสบความสำเร็จ

โดยลิฟต์ที่ก่อตั้งขึ้นมาในปี2555ให้บริการแอพฯ เรียกแท็กซี่ในสหรัฐอเมริกา และสามารถขยายไปได้ถึง200เมือง แต่สุดท้ายในเดือนมกราคม2559ลิฟต์ขายหุ้นใหญ่ให้กับบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส หรือ จีเอ็ม ในโครงการของจีเอ็มที่จะเปิดให้บริการรถไร้คนขับให้เช่า โดยใช้แอพฯ ของลิฟต์เรียกรถ

สำหรับไซด์คาร์ ซึ่งก่อตั้งในปี2555ต้องประสบชะตกรรมเดียวกับลิฟต์ และขายหุ้นใหญ่ให้กับจีเอ็มเช่นเดียวกับลิฟต์

ไม่กี่ปีมานี้Uberขยายตัวเร็วมาก แต่ก็ต้องประสบปัญหาการถูกต่อต้านจากหน่วยงานรัฐในหลายประเทศ สั่งห้ามไม่ให้Uberขยายธุรกิจอย่างสะดวก จนUberต้องเบนเข็มหันไปรุกในตลาดเอเชีย และประเทศในอาเซียน

 

ตารางเปรียบเทียบการใช้บริการรถแท็กซี่เหลืองและรถแท็กซี่อูเบอร์ ทั้งจำนวนครั้งและช่วงเวลา ในช่วงปี 2556-2558 ผลิตและเผยแพร่โดย Economist.com

 

การรุกเข้าสู่เอเชีย ทำให้เกิดคู่แข่งขึ้นหลายบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทของจีน ซึ่งก่อนหน้านี้ตีโต้Uberอย่างหนัก ซึ่งคู่แข่งรายสำคัญคือDidi Kuaidiซึ่งมีแหล่งทุนใหญ่ คือRakuten, AlibabaและTencent

ขณะที่คู่แข่งในอาเซียน คือGrabTaxiซึ่งต่อมารีแบรนด์ชื่อใหม่คือGrabโดยมีเจ้าของได้แก่Anthony Tanอายุ34ปี ลูกชายของมหาเศรษฐีมาเลเซีย และยังเป็นเจ้าของบริษัท ตันจง มอเตอร์ ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์นิสสัน ในมาเลเซียและอีกหลายประเทศในอาเซียน

 

กราฟิกเปรียบเทียบการให้บริการของแกร็บและอูเบอร์ในตลาดอาเซียนและอินเดีย ผลิตและเผยแพร่โดย Asia Nikkei .com

ส่วนGo-Jekมีผู้ก่อตั้ง คือNadiem Makarimอายุ31ปี ลูกหลานของครอบครัวที่มีชื่อเสียงในอินโดนีเซีย โดยปู่ของเขาเป็นหนึ่งในคณะตัวแทนที่เดินทางไปเจรจากับเนเธอร์แลนด์ ณ กรุงเฮก จนประเทศได้อิสรภาพ

หมวกและชุดของคนขี่มอเตอร์ไซค์เครือข่ายแอพพลิเคชันโก-เจ็คที่จาการ์ตา รูปโดย Dimas Ardian เผยแพร่โดยสำนักข่าวบลูมเบิร์ก

แน่นอนการเข้ามาของUberในเอเชียและอาเซียน ต้องทำงานอย่างหนัก เพื่อจับจองพื้นที่ในใจผู้ให้บริการรุ่นใหม่ และไม่ใช่บริการแค่หนึ่งเดียว ดังนั้นUberจึงมีบริการทั้งแอพเรียกแท็กซี่และแอพฯ เรียกมอเตอร์ไซค์

ในจีนUberมีแค่บริการอย่างเดียว และต้องแข่งกับDidi Kuaidiซึ่งมีBack upหนา ย่อมต้องสะเทือนบ้าง แต่การขาดทุนสะสมย่อมไม่ใช่วิถีบริหารธุรกิจของฝรั่ง และล่าสุดUber Chinaต้องยอมถอย ตกลงปล่อยให้Didi Chuxingควบรวมกิจการรวมเป็นหนึ่งเดียว โดยทางUberจะได้รับหุ้นบุริมสิทธิ์จำนวน5.89%ของบริษัทที่รวมตัวกัน ซึ่งเท่ากับ17.7%ของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในDidi Chuxing

 

2
ตารางเปรียบเทียบการใช้บริการอูเบอร์และบริการแอพพลิเคชันเรียกแท็กซี่แบรนด์ Didi Kuidi และแบรนด์อื่น ๆ ในประเทศจีน ในปี 2558 ผลิตและเผยแพร่โดย Scmp.com

ขณะที่ไป่ตู้และผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ของจีนจะได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ2.3%ในDidi Chuxingนอกจากนี้Didi Chuxingยังจะได้รับหุ้นส่วนน้อยในUberด้วย

เฉิง เว่ย ผู้ก่อตั้งและซีอีโอDidi Chuxingกล่าวว่า การทำข้อตกลงกับUberจะปูทางให้อุตสาหกรรมการขนส่งผ่านทางมือถือเติบโตอย่างแกร่งและยั่งยืนไปสู่อีกระดับ

การตัดสินผ่อนคันเร่งของUberเห็นได้ชัดว่า ย่อมต้องการเห็นผลประกอบการที่ดีมากกว่าการดื้อรั้นที่ไม่สามารถเอาชนะคู่แข่งในตลาดเจ้าถิ่น ที่มีทั้งทุนทรัพย์และส่วนแบ่งตลาดมากกว่า

4
มูลค่าตลาดหุ้นประเมินของบริษัทให้บริการแอพพลิเคชันเรียกแท็กซี่ 5 บริษัท ผลิตและเผยแพร่โดย Onlinemarketing-trend.com

 

และกับตลาดอื่นๆ ในเอเชียหรืออาเซียนUberย่อมต้องสร้างเครือข่ายแข่งขัน เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม และแม้ว่าUberจะไปได้สวยในไทยและบางประเทศในอาเซียน แต่ตลาดใหญ่อย่างในอินเดียUberกำลังเร่งเครื่องเต็มที่ โดยเฉพาะบริการแอพเรียกสามล้อในอินเดีย ที่มีชื่อว่า โอลา (Ola)

สงครามอูเบอร์ปะทะโอลา

ตารางเปรียบเทียบการใช้บริการแอพพลิเคชันเรียกแท็กซี่ของโอลาและอูเบอร์ ในช่วง 1 สัปดาห์ ผลิตและเผยแพร่โดย Qz.com
ตารางเปรียบเทียบการใช้บริการแอพพลิเคชันเรียกแท็กซี่ของโอลาและอูเบอร์ ในช่วง 1 สัปดาห์ ผลิตและเผยแพร่โดย Qz.com

 

หนังสือพิมพ์นิกเกอิ ของญี่ปุ่นรายงาน เมื่อเร็วๆ นี้ว่าUberและOlaกำลังแข่งขันกันอย่างหนัก นั่นเพราะว่า ตลาดแอพฯ เรียกรถเพื่อการขนส่งในอินเดียมีมูลค่าราว28,000ล้านดอลลาร์ (ประมาณ1ล้านล้านบาท) ภายในปี2563ซึ่งมีอัตราเติบโต20%ต่อปี

Olaก่อตั้งขึ้นโดยสองวิศวกรหนุ่ม คือBhavish AggarwalและAnkit Bhatiโดยทั้งคู่ใช้เวลาเพียง4ปี ขยายบริการไป102เมืองในอินเดีย มีรถให้บริการกว่า350,000คัน ทั้งรถแท็กซี่ รถมอเตอร์ไซค์ และสามล้อเครื่อง

ส่วนUberเปิดให้บริการใน26เมืองในอินเดีย มีคนใช้บริการ150,000เที่ยวต่อวัน โดยเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของอูเบอร์นอกประเทศสหรัฐอเมริกาและประกาศทุ่มเงินลงทุนจำนวนมากในตลาดอินเดีย

เมื่อโอลาต้องต่อสู้กับอูเบอร์ที่ใหญ่กว่ามาก ทำให้ต้องระดมทุนจากผู้สนับสนุนภายนอกถึง6รอบแล้ว โดยหนึ่งในผู้สนับสนุนคือDidi Kuaidiของจีนลงทุนในโอลาไปแล้วกว่า500ล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

7
เปรียบเทียบสัดส่วนตลาดระหว่างอูเบอร์และคู่แข่งรายใหญ่ที่สุดในตลาดภูมิภาคต่าง ๆ ผลิตและเผยแพร่โดย Notey.com

นิกเกอิระบุในบทความว่า อูเบอร์และโอลาจะต้องพยายามเอาชนะคู่แข่งด้วยเทคโนโลยีและบริการใหม่ ๆ ที่ทำให้ชาวอินเดียสามารถใช้โทรศัพท์มือถือเรียกรถและบริการแบ่งปันแท็กซี่รถสามล้อเครื่อง รวมทั้งรถโดยสาร เนื่องจากตลาดอินเดียมีขนาดใหญ่ และขยายตัวอย่างรวดเร็วจากการเพิ่มขึ้นของรายได้และการใช้โทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ตของชาวอินเดีย

ธุรกิจนี้สะท้อนภาพได้ว่าเหมือนไฟลามทุ่ง จนเกิดการแข่งขันจากนักธุรกิจหน้าใหม่ที่กระโจนเข้าสู่ธุรกิจแบบเดียวกันมากมาย

อย่างไรก็ตาม ทีเด็ดตอบโต้ของ Uber นอกจากบริการเรียกแอพต่างๆ Uber กำลังลงทุนในโครงการเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับ และระบบการใช้รถยนต์ร่วมกันในชื่อ UberPool รวมทั้งระบบรถเช่า รวมถึงการพัฒนาแอพฯ ที่ช่วยให้คนคนขับรถที่หูหนวกหรือมีปัญหาในการได้ยินสามารถให้บริการขับรถในเครือข่ายของUberได้

หากสิ่งที่Uberกำลังนั้นเป็นจริง แม้จะพ่ายในสนามแข่งขันประเทศจีน ระบบรถแท็กซี่ของกรมการขนส่งและวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างที่คู่แข่งกำลังไปได้ด้วย อาจเป็นเรื่องล้าสมัยไม่เกิน2 ปีจากนี้

และถ้าให้ผู้บริโภคตัดสินแล้ว จะพบว่า อะไรที่ทันสมัยกว่า มีประสิทธิภาพมากกว่าUberอาจจะร้องตะโกนดังๆ ทีหลัง ก็เป็นได้ B+