ตุรกี “หลังชนฝา” แก้วิกฤตการเงิน

ตลาดหุ้นต่างประเทศส่งสัญญาณเชิงลบ หลังจากวิตกกังวลกับประเทศตุรกี เมื่อตุรกีกำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตค่าเงิน “ลีร่า” ซึ่งอ่อนค่าลงอย่างหนักเป็นประวัติการณ์ 

สิ่งยืนยันว่าตุรกีกำลังเผชิญวิกฤตค่าเงิน

ปัจจัยสำคัญ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของสหรัฐกับตุรกี จากการที่ตุรกีไม่ยอมปล่อยตัวบาทหลวงชาวอเมริกัน แอนดริว บรันซัน (Andrew Brunson) ซึ่งถูกจับกุมในข้อหาก่อการร้าย โดยเกี่ยวโยงกับความพยายามทำรัฐประหารในตุรกีเมื่อปี 2559 ให้แก่อเมริกา ส่งผลให้ทรัมป์เกิดความไม่พอใจ

และทรัมป์จึงโต้ตอบโดยการประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าเหล็กและอะลูมิเนียม เป็น 20% และ 50% ตามลำดับ ส่งผลให้เศรษฐกิจของตุรกีร้อนระอุมากยิ่งขึ้น

ต้องบอกว่าตุรกีมีสินค้าส่งออกหลัก ได้แก่ ยานยนต์และอะไหล่ เสื้อผ้าและสิ่งทอ รวมถึงผลิตภัณฑ์เหล็กที่ใช้ในอุตสาหกรรม ซึ่งการขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียมถึง 2 เท่า นั้นเป็นการตอบโต้จากอเมริกา ที่ตุรกีไม่ยอมปล่อยตัวนักโทษชาวอเมริกันนั้นเอง ซึ่งหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวกลายเป็นวิกฤตค่าเงินลีร่าต่อมา เกิดผลกระทบให้ดอกเบี้ยเงินกู้ที่รัฐบาลตุรกีต้องจ่ายรายปีสูงขึ้น 18% อัตราเงินเฟ้อสูงถึง 15% ตลาดหุ้นปรับตัวลงราว 17% และค่าเงินลีร่าอ่อนค่าลงถึง 40%

Turkey

นโยบายการเงินของตุรกีไม่เป็นไปตามแผน

ค่าเงินลีร่านั้นอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559 นั้นอยู่ระหว่าง 3.7 – 3.8 ลีร่าต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งขณะนั้นถือว่าอ่อนค่ามากแล้ว โดยธนาคารกลางของตุรกีได้พยายามให้ประชาชนลดใช้เงินดอลลาร์แล้วหันมาถือเงินลีร่าให้ได้มากที่สุด อีกทั้งการจำกัดปริมาณเงินสกุลท้องถิ่นระหว่างธนาคารเพื่อให้เกิดความต้องการใช้เงินลีร่า จนค่าเงินลีร่าแข็งค่าในที่สุด ซึ่งนโยบายการเงินดังกล่าวนั้นไม่ได้เปนไปตามเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง

จนกระทั่งปี 2561 ซึ่งถือว่าอ่อนค่ามากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ถึงแม้ว่าประธานาธบดี แอร์โดอัน ของตุรกีจะพยายามให้เทขายดอลลาร์ และซื้อลีร่าเพื่อพยุงค่าเงินก็ตาม

สิ่งที่ต้องจับตามอง คือ วิกฤตการเงินตุรกีครั้งนี้ มีทีท่าจะแย่กว่า “กรีซ”

  • เนื่องจากตุรกี ณ ตอนนี้เหมือนหันหลังชนฝา “ไม่เจอทางออก” เพราะจะหันไปพึ่ง IMF ก็ทำได้ยาก เพราะ IMF ถือว่ามีความสัมพันธ์อันดีต่ออเมริกา ไม่เหมือนกับกรีซที่ยังคงมี IMF และพรรคพวกอย่าง EU เป็นตัวช่วยในครั้งวิกฤตการเงิน ซึ่งการที่ตุรกีจะพ้นวิกฤตในครั้งนี้ การต้องพึ่งพา IMF น่าจะเป็นทางออกที่รวดเร็วที่สุด
  • ทั้งนี้ ค่าเงินลีร่าของตุรกีนั้นเป็นสกุลเงินของตนเอง และลอยตัวได้ เมื่อค่าเงินอ่อนค่าลง ทำให้สามารถส่งออกได้เงินมากขึ้น และการนำเข้าจะใช้เม็ดเงินน้อยลง น่าจะทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดที่ขาดดุลนั้นลดลงได้มากกว่ากรีซที่ต้องผูกกับเงินยูโร
  • การบริหารงานของประธานาธิบดีของตุรกีนั้น ไม่ยอมให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อชะลอการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ เพราะต้องการให้เศรษฐกิจเติบโต ซึ่งจะส่งผลต่อการเลือกตั้งในครั้งต่อไป
  • ทางออกของหนี้สาธารณะที่ต้องจ่ายคืนมีจำนวนมากขึ้นทวีคูณตามค่าเงินลีร่า ซึ่งเป็นสัญญาณลบก่อให้เกิดความกังวลต่อหลายประเทศ เนื่องจากกลัวว่าตุรกีอาจไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ได้ในอนาคต
  • สำหรับนักลงทุนควรระมัดระวังในการลงทุน เนื่องจากตลาดหุ้นของแต่ละประเทศยังคงผันผวนในขณะนี้
  • เป็นไปได้ที่ค่าเงิน “ลีร่า”จะ “อ่อนค่า” อย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม วิกฤตค่าเงินของตุรกีนั้น เป็นสิ่งที่ต้องติดตามกันต่อไปว่าจะจบในรูปแบบไหน