4 ท่าไม้ตายเพื่อต่อกรกับ ‘ทรัมป์’ หลังไทยถูกรีดภาษีหนักสุดในรอบ 100 ปี!

วันที่ 9 เมษายน 2568 จะเป็นวันแรกที่มาตรการ Reciprocal Tariff ของสหรัฐฯ ถูกบังคับใช้ ซึ่งไทยโดนกำหนดภาษีส่งออกไปสหรัฐฯ ในอัตรา 37% สูงที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของอาเซียนเลยทีเดียว (กัมพูชา 49% ลาว 48% เวียดนาม 46% เมียนมา 44%)

ซึ่งสินค้าที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงนั้น มี 5 รายการหลักๆ วัดจากมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐฯ สูงที่สุด และเป็นแหล่งนำเข้าที่สำคัญของสหรัฐฯ ดังนี้

1.โทรศัพท์ , สมาร์ทโฟน , โทรศัพท์ : แหล่งนำเข้าอันดับ 5 ของสหรัฐฯ Market share 7.7%

2.คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : แหล่งนำเข้าอันดับ 5 ของสหรัฐฯ Market share 4.9%

3.ยางรถยนต์ : แหล่งนำเข้าอันดับ 1 ของสหรัฐฯ Market share 19.3%

4.เซมิคอนดักเตอร์ : แหล่งนำเข้าอันดับ 2 ของสหรัฐฯ Market share 15.5%

5.หม้อแปลงไฟฟ้า : แหล่งนำเข้าอันดับ 3 ของสหรัฐฯ Market share 5.5%

นอกจากผลกระทบโดยตรงแล้วยังมีผลกระทบโดยอ้อมนั่นคือ ภาวะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าชะลอตัวลงส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย รวมไปถึงการแข่งขันในประเทศจะรุนแรงขึ้นจากการที่ผู้ส่งออกหนีจากตลาดสหรัฐฯ เข้ามาตีตลาดไทย นอกจากนี้แล้วสินค้าขั้นกลางที่ไทยส่งออกไปจีนเพื่อเข้าตลาดสหรัฐฯ จะได้รับผลกระทบจากภาษีที่สูงขึ้น (ยางพารา ,เม็ดพลาสติก)

อย่างไรก็ตามยังมีข้อต่อรองที่ทำให้ไทยสามารถต่อรองกับสหรัฐฯ ได้ หรือเรียกได้ว่า ‘ท่าไม้ตายที่ไทยใช้ต่อรองด้านภาษีนำเข้า’ ทั้งหมด 4 ข้อที่สำคัญนั่นคือ

  1. ไทยเคยกีดกันสินค้าจากสหรัฐฯ กว่า 166 รายการ และมีข้อกำหนดเรื่องสุขอนามัย และโควตาการนำเข้าหลายอย่าง
  2. ไทยมีเรื่องสินค้าปลอมแปลงลิขสิทธิ์ และละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา
  3. ไทยมีข้อจำกัดเรื่องการลงทุนในหลาย ๆ ธุรกิจและอุตสาหกรรม ซึ่งจำกัดผู้ถือหุ้นต่างชาติ
  4. ไทยมีปัญหาเรื่องสิทธิแรงงานที่ยังไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีสหภาพแรงงาน หรือกฎหมายไม่ค่อยยอมรับ

จากข้อต่อรองทั้ง 4 นี้ อาจทำให้ไทยต้องลดการกีดกันทางการค้าให้กับสินค้าเกษตรสหรัฐฯ รวมไปถึงเปิดเสรีด้านการลงทุนมากขึ้น แต่ก็แลกมาด้วยการถูกคิดอัตราภาษีที่ลดน้อยลง

ข้อมูล : Global Trade Atlas , สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ , IQ , พรรคประชาชน

ติดตามผ่าน TikTok ได้ที่ : https://www.tiktok.com/@thebusinessplus

Line Business+ : https://lin.ee/pbIHCuS

IG : https://www.instagram.com/businessplus.newgen2021/

Youtube : https://www.youtube.com/@thebusinessplus7829