TIDLOR

คุยเรื่อง ESG กับ ‘เงินติดล้อ’ จนถูกยกเป็นกรณีศึกษา ‘องค์กร’ ชั้นเลิศระดับเอเชีย

ในปัจจุบันหลายองค์กรได้ดำเนินธุรกิจควบคู่แนวคิด ESG ที่ให้ความสำคัญกับ สิ่งแวดล้อม (Environmental), สังคม (Social) และบรรษัทภิบาล (Governance) โดยภาคธุรกิจได้ใช้หลักการ 3 ส่วนนี้มาเป็นแนวทางขับเคลื่อนธุรกิจบนโลกยุคใหม่ เพื่อนำไปสู่ผลการดำเนินงานที่เติบโตอย่างยั่งยืน เพราะองค์กรใดที่มี ESG สูงก็จะได้รับความน่าเชื่อถือจากนักลงทุนทั่วโลก และสามารถดึงดูดผู้บริโภคเข้ามาใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการของบริษัทนั้นๆ ด้วยเช่นกัน

 

TIDLOR

บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ TIDLOR ผู้นำบริการด้านสินเชื่อทะเบียนรถครบวงจร ภายใต้แบรนด์ ‘เงินติดล้อ’ ได้นำแนวคิดการสร้างความยั่งยืนมาใช้กับ Core Business ที่มีภารกิจหลักคือสร้างโอกาสทางการเงินให้กับลูกค้า จนทำให้ในปีที่ผ่านมา ‘เงินติดล้อ’ ถูกยกให้เป็นกรณีศึกษาทั้งด้านการดำเนินธุรกิจ และการสร้างความยั่งยืนทางสังคมภายใต้แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) จากองค์กรระดับเอเชีย

โดยที่ผ่านมา บมจ.เงินติดล้อ ได้ใช้แนวคิดและเจตนาในการดำเนินธุรกิจเพื่อ “สร้างโอกาสทางการเงินให้กับประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้มีรายได้น้อย หรือผู้ที่มีอาชีพอิสระ ไม่มีแหล่งรายได้ชัดเจน เพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่โปร่งใสและเป็นธรรม” ผ่านผลิตภัณฑ์สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ และยังมีบริการด้านนายหน้าประกันภัยที่มุ่งส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงความคุ้มครองด้านประกันภัยได้สะดวกขึ้น ซึ่งสิ่งที่ทำคู่ขนานกันไปคือการสร้างโอกาสทางความรู้ด้านการเงินให้กับประชาชน เพื่อเป็นพื้นฐานส่งเสริมให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นได้อย่างยั่งยืน กระทั่งเกิดเป็นเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในกรอบแนวคิด SDGs ได้มากถึง 5 เป้าหมาย จาก 4 หมวดหมู่ ประกอบด้วย

TIDLOR

1. มิติด้านการลดความเหลื่อมล้ำ ขจัดความยากจน ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของ SDGs ในข้อ 1 และข้อ 10 โดย บมจ.เงินติดล้อ มีธุรกิจหลักทั้งบริการด้านสินเชื่อทะเบียนรถให้กับผู้ที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนในกิจการหรือใช้เพื่อแก้ปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนที่ไม่สามารถใช้บริการจากธนาคารทั่วไปได้ ดังนั้น จึงถือเป็นการสร้างโอกาสทางการเงิน เพื่อเป็นทางเลือกด้านการเงินที่มีมาตรฐานให้กับประชาชน นอกจากนี้ยังมีบริการด้านนายหน้าประกันภัยที่ช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงประกันภัยได้สะดวกขึ้น จากทางเลือกในการให้ลูกค้าแบ่งจ่ายค่าประกันภัยด้วยเงินสดได้ ธุรกิจทั้ง 2 ส่วน จึงถือได้ว่า core business ที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ส่งเสริมให้ประชาชนแก้ปัญหา หรือเสริมสภาพคล่อง เพื่อให้มีชีวิตที่ดีขึ้นได้ นอกจากนี้ ยังมีส่วนช่วยลดการพึ่งพาแหล่งเงินทุนนอกระบบได้อีกด้วย

TIDLOR

2. ส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้ ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของ SDGs ในข้อ 4

ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2558 บมจ.เงินติดล้อ ได้มุ่งสร้างโอกาสทางความรู้ด้านการเงินที่ยั่งยืนให้กับชาวชุมชน ในโครงการนำความรู้สู่ชุมชน และความรู้ด้านการประกอบอาชีพ ภายใต้โครงการกำลังใจฯ และยังสนับสนุนหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านการเงินให้กับหน่วยงานต่าง ๆ มากมาย นอกจากนี้ ปัจจุบันยังจัดทำโครงการ “เรื่องเงินเรื่องสนุก ความสุขยั่งยืน” ในนามของ สมาคมการค้าผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถ (VTLA) เพื่อเชิญชวนสมาชิกสมาคมฯ ร่วมกันขยายโอกาสทางความรู้ด้านการเงินให้กระจายออกไปยังชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศได้เพิ่มขึ้น

3. ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของ SDGs ในข้อ 8

ด้วย core business มีทั้งด้านการสร้างแหล่งเงินทุนที่มีมาตรฐานให้กลุ่มลูกค้ารายย่อยสามารถนำเงินไปลงทุน หรือเสริมสภาพคล่องให้กิจการของตนเองได้ และยังมุ่งส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงความคุ้มครองด้านประกันภัย เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงและบรรเทาค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ไม่คาดคิด ซึ่งมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับฐานรากได้เป็นอย่างดี

TIDLOR

4. ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน และนวัตกรรม ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของ SDGs ข้อ 9

บมจ.เงินติดล้อ ถือเป็นผู้นำที่สร้างมาตรฐานและการเปลี่ยนแปลงให้กับธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถ เช่นบริการสินเชื่อทะเบียนรถรับเงินสดเป็นแสนทันทีที่สาขา รวมไปถึงการผลักดันให้เกิด 5 มาตรฐานการให้บริการสินเชื่อ (ในนามของสมาคมการค้าผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถ VTLA) นอกจากนี้ยังเป็นผู้ผลักดันเรื่องความสำคัญของข้อมูลเครดิตบูโรจะช่วยสร้างประวัติทางการเงินให้ลูกค้าได้ ส่งผลให้ภาครัฐมีแนวทางกำหนดให้ผู้ประกอบการ non-bank ต้องร่วมสมาชิกเครดิตบูโร เพื่อช่วยสร้างประวัติทางการเงินให้กลุ่มลูกค้า underbanked เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นผู้บุกเบิกใช้จุดแข็งด้านนวัตกรรมมาสร้างระบบและแพลตฟอร์มไอที เพื่อยกระดับการให้บริการทั้งด้านสินเชื่อทะเบียนรถและนายหน้าประกันภัย เช่น TIDLOR card ,NTL Application ,Areegator และระบบแพลตฟอร์มเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อธุรกิจเช่าซื้อ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า “เงินติดล้อ” เป็นแบรนด์ที่สร้างโอกาสทางการเงินที่เป็นธรรมและโปร่งใส ให้กับกลุ่มลูกค้ารายย่อย กลุ่มผู้มีรายได้น้อย หรือกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระ อีกทั้งยังมุ่งส่งเสริมให้ผู้คนสามารถเข้าถึงความคุ้มครองด้านประกันภัยผ่าน แบรนด์ “ประกันติดล้อ” นายหน้าประกันภัยเพื่อลูกค้ารายย่อยที่พร้อมให้คำปรึกษาด้านประกันภัยอย่างใกล้ชิดผ่านนายหน้ามืออาชีพที่มีใบอนุญาตถูกต้องกว่า 5,000 คน จากกว่า 1,600 จุดบริการ ที่น่าเชื่อถือทั่วประเทศ และยังมีบริการผ่านช่องทางออนไลน์ และ Call Center ตลอด 24 ชั่วโมง

TIDLOR

นอกจากนี้ ยังมุ่งใช้จุดแข็งด้านนวัตกรรมเพื่อยกระดับมาตรฐานการนำเสนอขายประกันภัยให้กับนายหน้าประกันภัยอิสระ ภายใต้แบรนด์ ‘อารีเกเตอร์’ (Areegator) ระบบแพลตฟอร์มเสนอขายประกันออนไลน์ ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘จริงใจ เข้าใจ เติบโตไปพร้อมกัน’

ทั้งหมดนี้ ทำให้เป้าหมายทั้ง 5 ของ SDGs ได้สำเร็จ และส่งผลดีต่อผลประกอบการที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง เห็นได้ชัดจากธุรกิจนายหน้าประกันภัยเติบโตเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องกว่า 30% ต่อปี ซึ่งมากกว่าภาพรวมการเติบโตของธุรกิจประกันวินาศภัยที่เติบโตเฉลี่ยเพียง 5% ต่อปีเท่านั้น

.

ผู้เขียน : ศิริวรรณ อรรถสุวรรณ

.

ติดตาม Business+ ได้ที่ : https://www.facebook.com/businessplusonline/
Line Business+ ได้ที่ : https://lin.ee/pbIHCuS
.
#Businessplus #thebusinessplus #นิตยสารBusinessplus #เงินติดล้อ #TIDLOR