ส่งออกไทย

ส่งออกไทยต้องรู้! เทคนิคประมงไทย โดน GSP กี่ครั้งก็ไม่ตาย!!

สถานการณ์”ส่งออกไทย” ในตอนนี้ ผู้ประกอบการน้อยใหญ่กังวลกับข่าว ไทยจะโดนสหรัฐฯ ตัดสิทธิ GSP ทั้งที่มีปัญหาค่าเงินบาทแข็งอยู่แล้ว หลายคนเปรียบเสมือนกับผู้ป่วยห้องฉุกเฉินที่โดนเหยียบสายน้ำเกลือมาต่อเนื่อง! แถมหมอก็มาบอกว่า 6 เดือนหน้าจะถอดเครื่องช่วยหายใจนะจ้ะ!

เจอแบบนี้ต้องทำตัวยังไง? บอกหมอเอาหมอนอุดปากเลยดีมั้ย!?…ก่อนไปถึงขั้นนั้นเราลองมาเดินเล่นในทุ่งลาเวนเดอร์ มองหาทางออกด้วยกัน!!

ความหมายและความสำคัญของ GSP

Generalized System of Preferences (GSP) คือระบบที่ประเทศพัฒนาแล้ว ให้สิทธิลดภาษีสินค้านำเข้า แก่ประเทศที่กำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนา เพื่อให้ประเทศเหล่านั้นสามารถส่งออกสู้กับประเทศที่พัฒนาแล้วได้ ด้านไทยเองก็เคยรับสิทธิ GSP จากหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา , ญี่ปุ่น , สวิตเซอร์แลนด์ , นอร์เวย์ , สหภาพยุโรป , ตุรกีแคนาดา รวมไปถึงรัสเซียและเครือรัฐเอกราช 

ที่ใช้คำว่า “เคย” เพราะไทยโดนตัดสิทธิ GSP ไปหลายประเทศแล้ว

  • ปีพ.ศ. 2558 สหภาพยุโรป , ตุรกี และแคนาดา ตัดสิทธิ GSP ไทย
  • เม.. ปี 2562 ญี่ปุ่นก็ตัดสิทธิ GSP ไทย

ล่าสุด! วันที่ 25 เม.ย 2563 สหรัฐอเมริกาจะตัดสิทธิ GSP ยกเลิกการงดเว้นภาษีของสินค้ากว่า 573 รายการ เป็นสินค้าส่งออก 1 ใน 3 ของรายการสินค้าที่ไทยได้รับสิทธิ GSP จากสหรัฐฯ หนักสุดคือกลุ่มสินค้าประมงโดนตัดสิทธิทั้งหมด ส่งผลกระทบรวมเป็นมูลค่ากว่า 1.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 4 หมื่นล้านบาท) เนื่องจากไทยไม่ยกระดับสิทธิแรงงานให้เทียบเท่าสากล

อ่านเพิ่มเติม : รายชื่อสินค้าที่ถูกสหรัฐฯ ตัดสิทธิ GSP

สิทธิแรงงานในระดับสากล

กฎหมายไทยก็มีระเบียบคุ้มครองแรงงานอยู่แล้ว แต่ในทางปฏิบัติยังดูแลไม่ดีเท่าที่ควร เพราะในระดับสากลจะวัดจากการสัตยาบันในอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ที่มีประเทศกว่า 183 ประเทศที่เป็นสมาชิก จากอนุสัญญา ILO ทั้งหมด ๑๘๙ ฉบับ มีอนุสัญญาหลักที่เกี่ยวกับแรงงานอยู่ 8 ฉบับ รัฐบาลไทยให้สัตยาบันไปแล้ว 5 ฉบับ และยังไม่ให้สัตยาบันหลักอีก 3 ฉบับ แต่ 3 ฉบับนั้นเป็นฉบับที่มีประเด็นสำคัญที่สุดอย่าง การเลือกปฏิบัติต่อแรงงาน คือ นายจ้างต้องให้ความเท่าเทียม ไม่แบ่งแยกหรือกีดกันลูกจ้างที่มีเชื้อชาติ สีผิว เพศ ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง สัญชาติ หรือ สถานภาพทางสังคมที่แตกต่างกัน

และประเด็นการให้สิทธิของลูกจ้างในการรวมตัวกันเพื่อจัดตั้งองค์กรหรือสหภาพแรงงาน เมื่อลูกจ้างเรียกร้องเพื่อการต่อรองและการเจรจากับนายจ้าง นายจ้างห้ามแทรกแซงหรือทำการขึ้นบัญชีลูกจ้าง(Blacklist) เพื่อกันไม่ให้ลูกจ้างกล้าต่อรอง

 

ประมงไทย กับ อนุสัญญาILO

 

วิธีสู้เมื่อโดนตัดGSP

  • ภาครัฐ

ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศเดียวที่สหรัฐตัดสิทธิ GSP ในปี 2543 ประเทศเบลารุส และในปี 2556 ประเทศบังกลาเทศ ก็โดนมาแล้วเพราะไม่คุ้มครองสิทธิแรงงาน แต่ก็เคยมีประเทศยูเครนที่โดนเพราะปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาแต่พัฒนาตัวจึงได้สิทธิ GSP กลับคืนมา

ดังนั้นใน 6 เดือนต่อจากนี้หากไทยสามารถเจรจาต่อรองให้สหรัฐเห็นว่าเราสามารถทำตามอนุสัญญาได้ เราก็จะไม่ถูกตัดสิทธิ GSP ซึ่งน่าจะยังมีโอกาสอยู่เพราะตอนนี้กระทรวงแรงงานจัดทำโครงการประชาพิจารณ์สำหรับอนุสัญญาฉบับ 87 และ 98 แล้ว

แต่หากถูกตัดสิทธิจริง ๆ ส่งออกไทยเราก็ยังพอมีหนทางอยู่…

ปัจจุบันมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย – สหรัฐฯ อยู่ที่ 30,475 ล้านดอลลาร์ มีมูลค่านำเข้าจากไทย 21,855 ล้านดอลลาร์ มูลค่าส่งออกไปไทย 8,620 ล้านบาท ขาดดุลการค้ากับไทย -13,235 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 1.4% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว 

  • ภาคเอกชน

ยกตัวอย่างภาคเอกชนในส่วนส่งออกสินค้าประมง ที่โดนตัดสิทธิGSPในหลายประเทศมาก่อน แต่ก็ฆ่าไม่ตาย!! พอมาคราวนี้สหรัฐฯ ก็มาตัดสิทธิสินค้าประมงทุกประเภทไปอีก

ตลาดประมงส่งออก

สหรัฐฯไม่รุ่งก็พุ่งไปทางอื่น

สหรัฐฯ ไม่ใช่ตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุด เราส่งออกไปยังสหรัฐคิดเป็น 19.14% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประมงทั้งหมดเท่านั้น เรายังมีประเทศคู่ค้าอื่น ๆ เช่น

  • ญี่ปุ่น คิดเป็น 21.30% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประมงทั้งหมด
  • จีน คิดเป็น 8.44% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประมงทั้งหมด
  • สหภาพยุโรป คิดเป็น 8.05%  ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประมงทั้งหมด

และยังมีตลาดส่งออกสินค้าประมงอื่นที่น่าสนใจ เพราะมีอัตราการขยายตัวสูง อย่างตลาดเปรู ขยายตัว 49.40% และตลาดเยเมน ขยายตัว 31.55% จากปีที่แล้ว หากผู้ส่งออกหาตลาดค้าใหม่ก็จะไม่ต้องง้อสหรัฐฯ!!

สินค้าดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

ถึงแม้ไทยจะโดนสหภาพยุโรปตัดสิทธิ GSP ด้านสินค้าประมงตั้งแต่พ.ศ. 2558 แต่มูลค่าการส่งออกของไทยไปยังยุโรปก็ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง จากมูลค่า 23,319 ล้านดอลลาร์ในพ.ศ.2558 เพิ่มขึ้นเป็น 28,383 ล้านดอลลาร์ ในพ.ศ.2561 

จุดแข็งของการส่งออกประมงไทยคือมีอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องรองรับการผลิตและแปรรูปสินค้าประมงอย่างครบวงจร  มีเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล สามารถแปรรูปสินค้าที่มีคุณภาพสูง ทำความต้องการของตลาดที่หลากหลายได้

ส่วนจุดอ่อนก็จะเป็นด้านปริมาณวัตถุดิบก็แก้ได้โดยไปแสวงหาแหล่งวัตถุดิบใหม่ และปัญหาขาดแคลนแรงงานก็ทำความตกลงกับประเทศเพื่อนบ้านในการจัดหาแรงงาน ทำให้ประมงไทยไม่กลัวเรื่องภาษีสินค้ามากนัก

จะเห็นว่าหากทุกธุรกิจเลิกหวังสิทธิพิเศษนั้น แล้วมาทำให้สินค้าไทยแข่งขันได้แม้เจอกำแพงภาษี  ก็จะยังสามารถอยู่ในตลาดส่งออกนี้ได้ เช่นเดียวกับการส่งออกประมงไทย ถึงตอนนี้เราเองก็สู้ยาก เพราะค่าเงินบาทแข็งที่สุดในรอบ 6 ปี และแข็งกว่าประเทศคู่แข่งหลายเปอร์เซ็นต์…

อ้างอิง : การค้าสินค้าประมงไทย

อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ

 

Business Plus