วมทจ. ติดปีกอาวุธผู้ประกอบการรุ่นใหม่บนคลื่นความเปลี่ยนแปลงของจีนภิวัฒน์

ปัจจุบันประเทศจีนได้กลายมาเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจสําคัญที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก  ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้จีนอาจก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก  ส่งผลให้จีนกลายเป็นประเทศที่หลายประเทศทั่วโลกอยากสานสัมพันธ์โดยเฉพาะ ด้านการค้ามากที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก

เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการไทยในการสร้างโอกาสการค้ากับผู้ประกอบการจีน  มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.) ซึ่งมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างความเข้มเเข็งด้านจีนศึกษา  และทํานุบํารุงสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย – จีน  ได้เปิดโครงการพัฒนาผู้นําไทย – จีน  หลักสูตรวิทยาการผู้นํารุ่นใหม่ไทย – จีน (วมทจ.) Thai – Chinese Leadership Studies Junior (TCLJ)” เพื่อพัฒนาผู้นํารุ่นใหม่ให้เข้าใจวัฒนธรรมการทําธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศจีน  อันจะนําไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน

จากความสำเร็จของหลักสูตรวิทยาการผู้นำไทย – จีน (วทจ.) หรือ Thai – Chinese Leadership Studies (TCL) อันเป็นความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยปักกิ่ง  โดยได้รับการสนับสนุนจากสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย  และสำนักกิจการชาวจีนโพ้นทะเล  สำนักนายกรัฐมนตรี  สาธารณรัฐประชาชนจีน รุ่นที่  1  และรุ่นที่  2  ซึ่งจัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนซึ่งเป็นกลุ่มนักธุรกิจ  เจ้าของกิจการที่คว่ำหวอดในวงการธุรกิจ  ตลอดจนมีธุรกิจหรือแผนการค้าขายในประเทศจีนได้เข้าใจ    เข้าถึง  และการพัฒนาของประเทศจีน  ไม่ว่าจะเป็น  เศรษฐกิจ  สังคม  วัฒนธรรม  ความมั่นคง  สร้างความเข้าใจ อย่างท่องแท้ในประเด็นความสัมพันธ์ทางการค้าไทย – จีน

 

ล่าสุด  มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติได้ต่อยอดความสำเร็จเปิดโครงการพัฒนาผู้นําไทย – จีน  หลักสูตรวิทยาการผู้นํารุ่นใหม่ไทย – จีน (วมทจ.) Thai – Chinese Leadership Studies Junior (TCLJ)” รุ่นแรก  เพื่อพัฒนาผู้บริหารรุ่นใหม่ที่มอง ปัจจุบันเห็นอนาคตของจีนทั้งด้านเศรษฐกิจ  การเมือง  เทคโนโลยี  และวัฒนธรรมเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับอนาคตจีนภิวัฒน์

ทั้งนี้ ณ กาฬ เลาหะวิไลย ที่ปรึกษาหลักสูตร เปิดเผยว่า   ในปีที่ผ่านมา  มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติได้เปิดหลักสูตร วทจ.รุ่นที่ 1  และรุ่นที่  2  โดยมีกลุ่มผู้บริหารระดับสูงภาคธุรกิจ  ผู้บริหารภาครัฐ  ผู้บริหารองค์กรอิสระ  ผู้บริหารองค์กร ทางสังคม  ผู้บริหารสถาบันการศึกษา  อายุตั้งแต่  40 ปี  ขึ้นไป  ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีอย่างมีนัยสำคัญ  ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงภายในประเทศของจีนที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่าน  กำลังจุดชนวนให้เกิดการเปลี่ยนไปทั่วโลกโดยเฉพาะใน 10 – 20  ปี  ข้างหน้า  นั่นหมายความว่ากลุ่มผู้บริหารระดับสูงซึ่งเข้าร่วมโครงการ วทจ. รุ่นที่ 1  และรุ่นที่  2   ไม่ใช่ผู้จะที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากอนาคตจีนภิวัฒน์  แต่กลุ่มที่จะต้องได้รับผลกระทบ จากคลื่น ความเปลี่ยนแปลงที่จีนเป็นผู้จุดชนวนที่แท้จริงคือกลุ่ม  ผู้ประกอบการรุ่นใหม่   ซึ่งจำเป็นที่จะต้องเตรียบรับมือภายใต้โจทย์สำคัญที่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ทั่วโลก  ต้องทำการบ้านว่าจะปรับตัวและแสวงหาโอกาสจากคลื่นความเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไรเพราะจีนเป็นได้ทั้งคู่แข่ง  คู่ค้าและพันธมิตร  นำมาสู่การพัฒนาหลักสูตรเพื่อผู้ประกอบการรุ่นใหม่  ได้พัฒนาศักยภาพให้มีความพร้อมในการนําองค์กรสู่ยุค 4.0  และขับเคลื่อนไปในแนวทางของเศรษฐกิจโลกและประเทศจีน  จนออกมาเป็นหลักสูตร วมทจ. รุ่นที่  1  โดยยึดแกนหลักสูตรวทจ.รุ่นที่  1  และรุ่นที่  2  เป็นแนวทางพัฒนาและเพิ่มเติมเนื้อหาที่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่จำเป็นต้องรู้ โดยเฉพาะ  4   เรื่องสำคัญ  คือ  เศรษฐกิจ การเมือง  เทคโนโลยี  และวัฒนธรรม  ภายใต้โครงสร้างหลักสูตร 3  กลุ่มสาระ  ได้แก่

กลุ่มสาระที่  1  วัฒนธรรมการทําธุรกิจไทย – จีน  มุ่งเน้นสร้างความเข้าใจในการสืบสานตํานานลอดลายมังกร  สภาพแวดล้อม และปัจจัยในการทําธุรกิจการค้ากับจีน  นโยบายเศรษฐกิจ One Belt One Road  พลังหยินหยางและพลานุภาพหยวน

 

กลุ่มสาระที่  2  การเติบโตของเศรษฐกิจจีนที่เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก  โดยเฉพาะการเมืองและธุรกิจของจีนในปัจจุบัน  (Politics and Business in Today’s China) เคล็ดลับความสําเร็จของผู้ประกอบการยุค 4.0  ภูมิปัญญากับการประกอบธุรกิจจีนยุคใหม่  Trade – War ผลกระทบและโอกาส  จีน 5.0  และนวัตกรรมของผู้ประกอบการใหม่สู่ผู้นําโลก

 

กลุ่มสาระที่  3  ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศของจีน  โดยจะเข้าไปศึกษาดูงานและศึกษาที่ปักกิ่งและมหาวิทยาลัยปักกิ่ง  จํานวน 2 – 3  รายวิชา  ตามความเหมาะสมในประเด็นที่น่าสนใจในแต่ละช่วงเวลา

 

“หลักสูตร วมทจ. รุ่นที่  1 เป็นหลักสูตรที่ออกแบบมาสำหรับผู้บริหารระดับกลางหรือผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่มีความสนใจ ที่จะดําเนินงานด้านต่าง ๆ ร่วมกับจีน  หรือสนใจส่งเสริมความสัมพันธ์ไทย – จีน  โดยเฉพาะในแง่ของเศรษฐกิจและธุรกิจไทย – จีน  และเป็นผู้ที่ต้องการพัฒนาตนเองและองค์กรด้วยกลยุทธ์ระดับสูง  เราเชื่อว่าด้วยหลักสูตรดังกล่าวผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ที่เข้าร่วมหลักสูตรจะสามารถสร้างองค์ความรู้  ความเข้าใจในเรื่องพื้นฐานที่สำคัญของจีนด้านเศรษฐกิจ  การเมือง  เทคโนโลยี  และรากฐานจิตวิญญาณของจีนที่สืบทอดกันมา  ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำไปต่อยอดในการปรับทิศทางธุรกิจและแสวงหาโอกาสทางการค้ากับจีน  ทั้งการขยายธุรกิจไปยังประเทศจีนหรือร่วมลงทุนกับนักธุรกิจจีนรุ่นใหม่ที่เริ่มเข้ามาแสวงหาโอกาสทางการค้าในไทยได้”

ทางด้าน  รองศาสตราจารย์ ดร.อุไรพรรณ  เจนวาณิชยานนท์  อธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  กล่าวเพิ่มเติมว่า จากความสำเร็จของหลักสูตรวิทยาการผู้นำไทย – จีน (วทจ.) รุ่นที่  1  และรุ่นที่  2  มาจนถึงหลักสูตรวิทยาการผู้นํารุ่นใหม่ ไทย – จีน (วมทจ.) ที่ได้รับผลตอบรับล้นหลามจากเจนเนอเรชั่นที่  2  หรือทายาทของผู้ร่วมหลักสูตร  วทจ. ทั้ง  2  รุ่น เป็นการตอกย้ำที่ชัดเจนว่ามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติมีความเข้มแข็งทางด้านจีนศึกษา  ทางมหาวิทยาลัยจึงจัด ตั้งสถาบันวิทยาการผู้นำไทย – จีน  ขึ้น  โดยจะทำหน้าที่  3  ส่วนหลัก  คือ  1. ให้ความรู้  ฝึกอบรมในประเด็นเกี่ยวข้องกับจีน  2. เป็นแหล่งข้อมูลเผยแพร่ทางด้านเศรษฐกิจ ธุรกิจไทย – จีน  และ  3. เป็นที่ปรึกษาให้นักธุรกิจไทยที่ต้องการเข้าไปทำธุรกิจ ในจีนหรือนักธุรกิจจีนที่ต้องการเข้ามาทำธุรกิจในไทย  รวมทั้งทำงานวิจัยตามที่นักธุรกิจไทย – จีนร้องขอ

 

อย่างไรก็ตาม จากความสำเร็จของหลักสูตรวิทยาการผู้นำไทย – จีน (วทจ.) และผลตอบรับที่ดีอย่างมีนัยสำคัญของหลักสูตรวิทยาการผู้นํา รุ่นใหม่ไทย – จีน (วมทจ.) จะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างเครือข่ายการพัฒนานักธุรกิจไทย – จีนทั้งภาครัฐและเอกชน  และ  เพิ่มโอกาสการประสานความร่วมมือและสานสัมพันธ์ไทย – จีน  ที่ยั่งยืนในอนาคตอันใกล้ได้อย่างแน่นอน