Tag Archives: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

“สกาย ไอซีที” ผนึก “มธ.” และ “SenseTime” เสริมแกร่งการศึกษาไทย จัดเวิร์คช็อปติดอาวุธความรู้ด้าน AI แก่บุคลากรด้านการศึกษา

“สกาย ไอซีที” ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับประเทศ จับมือ “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” และพันธมิตรยักษ์ใหญ่ด้าน AI Solutions ระดับโลก “SenseTime” จัดเวิร์คช็อปติดอาวุธความรู้ด้าน AI แก่บุคลากรด้านการศึกษา ช่วยเสริมศักยภาพการเรียนรู้แบบไร้ขีดจำกัด ให้พร้อมส่งต่อองค์ความรู้สู่วงกว้าง พร้อมทั้งมอบหลักสูตรพัฒนาศักยภาพด้าน AI Literacy สำหรับบุคลากรด้านการศึกษา ภายใต้ลิขสิทธิ์ SenseTime รวมมูลค่า 2.5 ล้านบาท นายสิทธิเดช มัยลาภ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) หรือ SKY ผู้นำการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระดับประเทศ กล่าวว่า การขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวสู่เวทีการแข่งขันระดับโลกได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจในเรื่องของปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นสำคัญ เพราะปัจจุบันโลกของเรากำลังเผชิญกับยุคดิจิทัล ดิสรัปชั่น (Digital Disruption) และการแก้ปัญหาที่ตรงจุดก็คือการเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคการศึกษาที่ถือได้ว่าเป็นรากฐานสำคัญของประเทศ บริษัท สกาย …

Read More »

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง: ปัจจัยใหม่ในการเปลี่ยนแปลงวงการอสังหาริมทรัพย์

*บทความโดย รศ.ดร.นิติ รัตนปรีชาเวช ผู้อำนวยการโครงการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นที่เชื่อกันได้ว่าในช่วงสัปดาห์ สองสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ มีข่าวหนึ่งที่ร้อนแรงไม่แพ้ข่าวของนักการเมืองที่เกี่ยวกับการรุกที่ส.ป.ก. หรือที่ป่าสงวน หรือที่ไม่แพ้ข่าวการยุบพรรคอนาคตใหม่ ก็คือข่าวเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ที่มีการขยายเวลาบังคับใช้ออกไปจนทำให้ใครหลายคนหลงดีใจ นึกว่ายกเลิกหรือระงับใช้ก็ตาม) ที่มาแทนที่กฎหมายเดิมอย่าง กฎหมายภาษีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง และกฎหมายภาษีบำรุงท้องที่ โดยแม้ว่าจะไม่ได้เป็นข่าวที่โด่งดังขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์หรือสื่อโทรทัศน์ วิทยุ ก็ตาม แต่หากได้ติดตามผ่านทางสื่อออนไลน์สำนักต่าง ๆ บอร์ด กระทู้แสดงความคิดเห็น หรือกระทั่งในไลน์กลุ่มนิติบุคคลต่าง ๆ ก็จะเห็นได้ว่า ได้มีการสนทนา ถกเถียงกันมากมายเกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนี้ เพราะการบังคับใช้กฎหมายใหม่นี้ ได้เปลี่ยนให้หลายต่อหลายคน จากที่เป็นผู้เฝ้าดูอยู่ขอบสนามต้องกลายมาเป็นผู้ลงสนามเสียเองที่ได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อย เชื่อได้ว่าหลายต่อหลายท่านได้รับเอกสารจากภาครัฐที่ทำให้หวั่นใจ สะพรึงใจอยู่ไม่น้อย เกี่ยวกับการระบุประเภทอสังหาริมทรัพย์ของท่านที่ทำให้จะต้องไปเสียภาษีในอัตราต่าง ๆ และเป็นที่แน่นอนว่าใครหลายคนก็กำลังหาหนทางที่ดีที่สุดในการจัดการกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จะทำให้เสียภาษีในอัตราที่น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จนเชื่อได้ว่าในปัจจุบันนี้ด้วยภาษีใหม่นี้ได้ทำให้กลุ่ม บุคคลต่างขวนขวายที่จะหาความรู้ทางด้านกฎหมายภาษีใหม่นี้โดยไม่ต้องมีการบังคับแต่อย่างใด โดยเฉพาะท่าน ที่มีการลงทุน/ ถือครองในอสังหาริมทรัพย์เป็นจำนวนมาก อันเนื่องจาก การได้รับมาซึ่งมรดกตกทอด เป้าหมายในการหาแหล่งลงทุนที่ปลอดภัย การกระจายความเสี่ยงอันเนื่องจากนโยบายประกันเงินฝากของธนาคาร หรือกระทั่งการพยายามสร้างรายได้เชิงรับ (Passive Income) ก็ตาม …

Read More »

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะจัดเก็บทุกปี เริ่มใช้วันที่ 1 มกราคม 2563 มาแทนภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ (คือคนที่เคยเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่นั้น ตั้งแต่ปี 2563 จะไม่ต้องเสียภาษีเหล่านี้ แต่จะเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแทน) เรามาทำความรู้จักกับพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 เพื่อความเข้าใจสามารถแบ่ง ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ ฐานภาษี คือ จำนวนเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษี เกิดจาก มูลค่าที่ดินรวมกับสิ่งปลูกสร้าง ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากกรมธนารักษ์ โดยสามารถค้นหาราคาที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และอาคารชุด จากเว็บไซต์ http://property.treasury.go.th/pvmwebsite/ ซึ่งจะแยกราคาตามประเภทและจังหวัด ผู้เสียภาษี คือ เจ้าของที่ดิน เจ้าของสิ่งปลูกสร้าง เจ้าของห้องชุด หรือผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือทำประโยชน์ในทรัพย์สิน (ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง) ของรัฐ ณ.วันที่ 1 มกราคมของปีใด ต้องสียภาษี ณ.ปีนั้น ผู้จัดเก็บภาษี คือ เทศบาล, องค์การบริหารส่วนตำบล …

Read More »

รวยง่าย รวยเร็ว (จริงหรือ?) จากการสร้างรายได้เชิงรับ (Passive Income) ด้วยคอนโดมิเนียม

บทความโดย รศ.ดร.นิติ รัตนปรีชาเวช ผู้อำนวยการโครงการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นที่เชื่อได้ว่าในปัจจุบันนี้ใครหลายคนคงจะรู้จักกับคำว่า Passive Income หรือที่แปลเป็นไทยได้ว่า รายได้เชิงรับ กันเป็นอย่างดี เพราะใคร ๆ ก็อยากจะรวยแบบง่าย ๆ ไม่ต้องทำงานหนัก นั่งกิน นอนกิน อยากที่จะมีเวลาที่มากขึ้น เกษียณอายุจากการทำงานที่เร็วขึ้น เพื่อสร้างอิสรภาพทางการเงินที่จะส่งผลไปยังความเป็นอิสระของการดำเนินชีวิตของตน โดยรูปแบบการสร้างรายได้เชิงรับที่ได้รับความสนใจมาโดยตลอดทุกยุคทุกสมัยก็คือ การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อการปล่อยเช่า โดยเฉพาะการลงทุนในคอนโดมิเนียม ที่นอกจากจะสามารถเข้าไปใช้งานได้และทำให้เจ้าของดูเท่ดูดีมีระดับแล้ว ยังอาจทำให้ได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่า โดยเฉพาะในภาวะที่ดอกเบี้ยเงินฝากที่ต่ำเตี้ยเรี่ยดินอย่างในปัจจุบัน ที่เป็นเหตุให้เกิดความปั่นป่วนไปทั้งโลกของการมุ่งเสาะแสวงหาการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนที่สูงที่สุดนั่นเอง ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้เองจึงทำให้ใครหลายคนหวังจะรวยเป็นเศรษฐีอย่างรวดเร็วจากการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เองแม้ว่าจะมีข้อดีจำนวนมาก หากแต่ก็มีข้อเสียต่าง ๆ เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสภาพคล่องที่มีจำกัด การไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ การเสื่อมโทรมของอาคาร การใช้ระยะเวลาที่ยาวนานในการลงทุน เป็นต้น ซึ่งก็ล้วนแล้วแต่เป็นองค์ประกอบที่ผู้ที่จะลงทุนจะต้องมีความเข้าใจในการลงทุนในทรัพย์สินประเภทนี้เป็นอย่างดีเสียก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ ในปัจจุบันที่ผู้คนจำนวนมากต่างก็มีแนวคิดที่เหมือนกันในการสร้างรายได้เชิงรับจากอสังหาริมทรัพย์ก็ยิ่งทวีคูณให้มีคู่แข่งที่เพิ่มขึ้นด้วย จนทำให้แนวโน้มของการปล่อยเช่าดูจะยากเย็นมากยิ่งขึ้นทุกวัน ทำให้เกิดการหั่นราคาเช่าแข่งกัน และส่งผลให้ค่าเช่ามีแนวโน้มที่ไม่ค่อยจะสดใสเท่าไรนัก โดยหากคำนวณผลตอบแทนจากการปล่อยเช่าเป็นร้อยละแล้ว อาจจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนี้หากหักค่าใช้จ่ายทุกอย่างออกไปแล้ว ผู้ที่ลงทุนในคอนโดอาจจะได้รับผลตอบแทนสุทธิที่ร้อยละ 5- …

Read More »