โลกยุคโลกาภิวัตน์ที่เราเริ่มคุ้นชินแบบแผนการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและแพลตฟอร์มการใช้งานออนไลน์ ซึ่งทำให้การรับส่งและใช้งานข้อมูลมีการไหลเวียนเข้าออกทั้งในและนอกองค์กร หรือข้ามพรมแดน ด้วยรูปแบบที่หลากหลายทั้งตัวอักษร ไฟล์เสียง ภาพนิ่ง หรือวิดีโอ ยิ่งเมื่อข้อมูลถูกนำขึ้นสู่ระบบบริการคลาวด์โดยเจ้าของข้อมูลโดยตรง เช่น ไลน์ เฟสบุ๊ก อินสตาแกรม ยูทูป โดยมีข้อสงสัยที่ว่า ข้อมูลของเหล่านั้นของตนถูกเก็บ ถูกนำไปใช้หรือกระจายต่อไปเพื่อการใดบ้าง ในมุมมองขององค์กรธุรกิจ ต้องอาศัยข้อมูลลูกค้าเพื่อประกอบการบริการจัดการและวางแผนการดำเนินงาน อาทิ ธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม ธนาคาร สถาบันการเงิน ธุรกิจบริการสุขภาพ โรงพยาบาล เป็นต้น ทำให้ข้อมูลเหล่านี้กลายเป็น ข้อมูลที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ซี่งต่อยอดไปสู่การพัฒนาสินค้าบริการ หรือสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจในอนาคต พอ ๆ กับการตกเป็นเป้าโจมตีของอาชญากรไซเบอร์ที่พร้อมจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้แบบผิดกฎหมาย หรือสร้างความเสียหายย้อนกลับมาสู่เจ้าของข้อมูลหรือองค์กรธุรกิจได้เช่นกัน จาก GDPR และ NIST สู่ พรบ. ไซเบอร์ฯ และ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) เมื่อเราไม่สามารถปิดกั้นการไหลเวียนของข้อมูลไว้เฉพาะในองค์กรหรือในประเทศได้อีกต่อไป จึงจำเป็นที่แต่ละประเทศต้องมีกฎหมายหรือข้อบังคับไว้คุ้มครองข้อมูลประชากรที่ครอบคลุมถึงการนำไปใช้ข้ามพรมแดน และเพื่อเป็นแนวทางกำกับให้องค์กรต้องมีมาตรการความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลที่รอบด้าน ทั้งการใช้งานในและนอกองค์กร และผ่านบริการคลาวด์ โดยต้องกำหนดไว้ในแผนธุรกิจ …
Read More »