นักศึกษาภาควิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี พัฒนาคอนกรีตผสมกระดูกไก่ที่เหลือทิ้งจากกระบวนการกำจัดฟลูออไรด์ในโรงงานอุตสาหกรรม เจ้าของไอเดียประกอบด้วย นายศุภศิษฐ์ สีลา นายคุณานนต์ แซ่บ้าง นายจิรายุส ยีสมัน และ นายนภัสรพี แสงสว่าง โดยมีว่าที่ร้อยเอก ดร.กิตติพงษ์ สุวีโร เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาว่าที่ร้อยเอก ดร.กิตติพงษ์ สุวีโร เล่าว่า กระดูกไก่เป็นวัสดุที่สามารถนำมาบดและเผาเป็นวัสดุสำหรับใช้ในการดูดซึมสารฟลูออไรด์ที่ปนเปื้อนจากกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมและบริเวณแหล่งน้ำต่างๆ ได้ แต่เมื่อกระดูกไก่ดูดซึมสารฟลูออไรด์แล้วจะเป็นวัสดุที่สามารถกำจัดได้ยาก เนื่องจากอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และใช้ต้นทุนในการกำจัดสูง ทางทีมผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะนำกระดูกไก่ที่ปนเปื้อนสารฟลูออไรด์มาผสมลงในคอนกรีต เพื่อเพิ่มมูลค่าและแก้ปัญหากระดูกไก่ที่มีการปนเปื้อนสารฟลูออไรด์ ตลอดจนช่วยพัฒนาคุณสมบัติของคอนกรีต การวิจัยครั้งนี้ได้ทำการศึกษาโดยออกแบบส่วนผสมของคอนกรีตผสมกระดูกไก่บดจากการกำจัดฟลูออไรด์ และขึ้นรูปเป็นคอนกรีตรูปลูกบาศก์ขนาด 15×15×15 เซนติเมตร จากนั้นทำการทดสอบคุณสมบัติทั้งทางกายภาพและทางกลเพื่อเปรียบเทียบกับคอนกรีตทั่วไปตามมาตรฐาน ASTM และ BSI นายศุภศิษฐ์ อธิบายเพิ่มเติมถึงผลที่ได้จากการทดสอบว่า ผลการวิเคราะห์หาส่วนขนาดคละของมวลรวม กระดูกไก่บดมีค่าโมดูลัสความละเอียดใกล้เคียงกันกับทรายและผ่านข้อกำหนดของกรมทางหลวง และคอนกรีตจะมีค่าการยุบตัวที่น้อยลงเมื่อปริมาณของกระดูกไก่ปนเปื้อนสารฟลูออไรด์มากขึ้น ส่วนผลการทดสอบการระยะเวลาการก่อตัวของซีเมนต์เพสต์ พบว่าหากภายในกระดูกไก่มีส่วนผสมของสารฟลูออไรด์อยู่มากก็จะส่งผลให้ระยะเวลาก่อตัวของซีเมนต์เพสต์ใช้เวลาน้อยลง ในขณะที่อุณหภูมิจากปฏิกิริยาไฮเดรชันเพิ่มขึ้นเล็กน้อย นอกจากนี้การที่กระดูกไก่มีลักษณะมีช่องว่างในการดูดซึมสารฟลูออไรด์มาก จะทำให้คอนกรีตที่ได้มีค่าน้ำหนักต่อก้อน และความต้านทานแรงอัดลดลง …
Read More »Tag Archives: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี
มทร.ธัญบุรี พัฒนา ‘เครื่องอบแห้ง’ พร้อมระบบวัดความชื้น
มทร.ธัญบุรี พัฒนาเครื่องอบแห้ง ขนาดความจุ 1 กก. พร้อมระบบตรวจวัดความชื้นที่แสดงผลบนหน้าจอตามเวลาจริงในระหว่างกระบวนการอบ ทีมนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมเกษตร ชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี โดย ‘โมจิ’ – นายกิตติศักดิ์ บรรดาศักดิ์ และ ‘กัน’ – นายสิรวิชญ์ เดชอธิรัชช์ พร้อมด้วย ‘แฟ้ม’ – นายจีรศักดิ์ วงษ์ก่อ ออกแบบและสร้างระบบตรวจวัดความชื้นตามเวลาจริงในระหว่างกระบวนการอบแห้ง ซึ่งมี ผศ.ดร.อภินันท์ วัลภา อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี เป็นที่ปรึกษา ตัวแทนทีม นายกิตติศักดิ์ เผยว่า กระบวนการอบแห้งเป็นหนึ่งในวิธีการช่วยถนอมอาหาร เพื่อพยายามรักษาคุณค่าทางอาหาร ยืดอายุการเก็บรักษาและช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า ในการอบแห้งจะต้องมีการนำน้ำออกจากวัตถุดิบหรือทำให้ความชื้นลดลงจนเหลือในระดับที่จุลินทรีย์ต่าง ๆ ไม่สามารถเติบโตได้ เพราะอาหารที่มีความชื้นหรือปริมาณน้ำที่สูงจะมีสภาวะเหมาะกับการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์และแบคทำให้อาหารเกิดการเน่าเสียและเปลี่ยนสภาพ และความชื้นยังส่งผลต่อลักษณะเนื้อสัมผัสของอาหารอีกด้วย ปัญหาหลักในกระบวนการอบแห้ง คือการตรวจวัดความชื้นของอาหารในระหว่างการอบแห้ง …
Read More »