Superrich Thailand

Superrich Thailand ก้าวผ่านความต่างระหว่างGeneration ด้วยจิตวิทยาการจัดการ

Superrich Thailand หรือซูเปอร์ริช สีเขียว คือ1ใน3แบรนด์ธุรกิจแลกเงินที่กินส่วนแบ่งตลาดแลกเงินมากที่สุดในวงการแลกเงิน ก่อตั้งโดย“อภิชัย สุสมาวัตนะกุล” ซึ่งวันนี้ได้ส่งต่อโจทย์อันท้าทายในการพาSuperrich Thailand เติบโตในเส้นทางที่ไกลและมั่นคงกว่าเดิมให้Generationที่2 นำโดยทายาทคนโต เจน-ธณัทร์ษริน สุสมาวัตนะกุล กรรมการผู้จัดการสายงานพัฒนาองค์กร บริษัท ซูเปอร์ริช (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งสามารถนำพาธุรกิจครอบครัวก้าวผ่านเส้นความต่างของGeneration ได้อย่างสวยงาม

สำหรับ เจน-ธณัทร์ษริน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และปริญญาโท Business Management Kingston University ประเทศอังกฤษ และ Labour Economic and Human Resource Management จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจบการศึกษาได้เข้าทำงานที่ QAD & Consulting Co., Ltd. และธนาคารซิตี้แบงก์

 

Superrich Thailand

แม้ว่าจะมีประสบการณ์จากองค์ชั้นแนวหน้าของไทยมา แต่สำหรับธุรกิจครอบครัวที่ต้องเข้ามาสานต่อนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด ย้อนกลับไปวันแรกที่ก้าวเข้ามาสานต่อธุรกิจครอบครัว เจน-ธณัทร์ษริน พกพาความมั่นใจเต็มร้อยพร้อมเป้าหมายที่ต้องการเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจเดิม100% แต่กำแพงแรกที่ต้องเจอ คือ Superrich Thailand ภายใต้การบริหารของคุณพ่อ อภิชัย นั้นไม่มีระบบการบริหารจัดการ

 

แต่ด้วยความตั้งใจที่ต้องการพัฒนา Superrich Thailand เจน-ธณัทร์ษริน จึงต้องมองหาความรู้เชิงบริหารจัดการ การบริหารคน เรียนรู้ที่จะรับฟังและมองหาวิธีการสื่อสารที่หลากหลาย เช่นใช้ภาษาใหม่ๆ ซึ่งอาจไม่ใช่ภาษาเดิมที่เคยใช้สื่อสารกับGenerationแรก

 

ในช่วงแรกเราใช้วิธีการฉายภาพหรือทำพรีเซนเทชั่นให้คุณพ่อคุณแม่ได้ดูและมองเห็นภาพสิ่งที่เรากำลังจะทำ แต่ก็ไม่สำเร็จเพราะเรามองไม่ครบ เราไม่ใช่เจ้าของธุรกิจ แต่รุ่นคุณพ่อคุณแม่เขาเริ่มสร้างมาตั้งแต่แรก ทุกซอกทุกมุมเขารู้ดี แต่เราไม่รู้ในจุดนั้น พอเข้ามาถึงเราจะทำเลย มันก็เลยล้มเหลว

จนเรามาเจอศาสตร์ของจิตวิทยาการจัดการ ซึ่งบอกว่ามนุษย์มีโลกข้างในกับโลกข้างนอก ข้างในเป็นเรื่องของระบบความคิด ซึ่งบางครั้งชุดความรู้ของมนุษย์ก็ไม่ตรงกัน Generationที่1สร้างธุรกิจจากประสบการณ์ แต่เราGenerationที่2เรียนรู้จากทฤษฎีและกรณีศึกษาจากต่างประเทศ ซึ่งไม่ใช่การลงมือทำงานแบบที่ Generationที่1เจอมา ดังนั้นเมื่อ 2ชุดความรู้มาเจอกัน หูเราก็ฟังแบบเค้าไม่เป็น อย่างเช่นเวลาพ่อพูดว่า เราต้องฟังเสียงลูกค้า เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าฟังเสียงลูกค้าคืออะไร แต่เราพูดถึง ดีมานด์ ซัพพลายซึ่งเขาไม่มีภาษานี้อยู่

จุดนั้นทำให้เราคิดได้ว่าวิธีแก้ไขมี 2ส่วน คือเขาต้องปรับเข้าหาเรา และเราเองต้องพัฒนาคุณภาพของเราเพื่อที่จะฟังเขาให้รู้เรื่อง ซึ่งก็ต้องใช้เวลามากพอสมควรกว่าจะเดินมาถึงจุดที่เราสามารถผสานความต้องการได้ เพราะว่าประสบการณ์ของรุ่นแรกมันทรงคุณค่าและหาซื้อไม่ได้ ส่วนรุ่นเรามีกำลัง มีเทคโนโลยี ที่ใช้ต่อยอดได้”

 

Superrich Thailand

กำแพงต่อมาที่เป็นบททดสอบของ เจน-ธณัทร์ษริน คือการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้เพื่อให้การให้บริการสะดวก รวดเร็ว ลดข้อผิดพลาด แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้นำมาซึ่งแรงต่อต้านจากพนักงานที่คุ้นชินกับการเขียนข้อมูลการแลกเปลี่ยนลงสมุดและใช้เครื่องคิดเลข ซึ่งความท้าทายก็คือการทำให้พนักงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ไม่เป็นเปิดใจที่จะเอาชนะความคุ้นชินแบบเดิมมาใช้เทคโนโลยี ซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นทันทีทันใดแต่ เจน-ธณัทร์ษริน ใช้วิธีการอธิบายถึงประโยชน์ของการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ว่าจะช่วยให้พนักงานทำงานง่ายขึ้นได้อย่างไร โดยมีทีม ไอที ตามประกบและสอนให้พนักงานใช้งานเป็นจนเกิดเป็นความคุ้นชินขึ้นมาทดแทน

 

“เรามีแพลนที่จะขยายสาขาซึ่งมันไม่สามารถไปต่อได้ถ้ารูปแบบธุรกิจยังเป็นแบบเดิม ปัญหาที่ตามมาก็คือพนักงานใช้งานเทคโนโลยีที่เรานำเข้ามาเพื่อให้การบริการสดวก รวดเร็ว และมีข้อผิดพลาดน้อยที่สุดไม่เป็น ซึ่งตรงนี้ก็ต้องให้ความรู้กันเรื่อยๆ เพราะ เจน เชื่อว่า ในการเปลี่ยนผ่านธุรกิจครอบครัว ไม่ใช่การส่งไม้ต่อเพื่อให้คนต่อไปวิ่งแทน แต่เป็นการวิ่งไปพร้อมกันด้วยประสบการณ์และเทคโนโลยี ความสามารถหรือการบริหารจัดการบวกกับองค์ความรู้ใหม่ๆ”

 

Superrich Thailand

หลังจากSuperrich Thailand เริ่มมีการขยายสาขา เจน-ธณัทร์ษริน เริ่มให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพของพนักงานมากขึ้น เพราะแม้ว่าโพรดักซ์ของSuperrich Thailand จะเป็นเงินสดซึ่งต้องสต็อกเงินให้เพียงพอต่อการซัพพร์อตลูกค้า แต่หัวใจสำคัญของธุรกิจนี้คือการขายประสบการณ์ให้ลูกค้า

 

นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องของความปลอดภัยเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่ง เจน-ธณัทร์ษริน ได้นำระบบเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนแบบเรียลไทม์ ระบบฐานข้อมูลลูกค้า (Database)และระบบความปลอดภัยทางเทคโนโลยี (Technology Security) เข้ามาใช้ควบคู่ไปกับการฝึกอบรมพนักงานให้สามารถตรวจสอบแบงค์ปลอมด้วยตาเปล่าเพื่อป้องกันในกรณีที่เทคโนโลยีอาจเกิดการขัดข้องได้

 

“ความท้าทายของธุรกิจครอบครัวก็คือการสื่อสารให้เข้าใจตรงกัน ในSuperrich Thailand ตอนนี้มีผู้บริหารและพนักงานในองค์กร3 Generation คือ Baby Boomer ,Gen- XและGen-Y เราต้องใช้การสื่อสารคนละแบบ เวลาจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตาม การสื่อสารจะต้องไปทั่วถึงในแต่ละกลุ่ม จึงมีความจำเป็นอย่างมากในส่วนของการฝึกอบรมให้ความรู้บ่อยๆ ทั้งเรื่องของทักษะการทำงาน ฮาร์ดสกิลและซอฟสกิลที่เป็นโครงสร้างของจิตวิทยา ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการพูดคุยและตั้งคำถามกันมากขึ้น ว่าแต่ละฝ่ายแต่ละGenคิดอะไรและต้องการอะไร ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญในองค์กร”