ตลาดที่อยู่อาศัยของไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นหลังจากที่ได้ชะลอตัวในช่วงหลังมาตรการกระตุ้นของภาครัฐได้หมดลง อีไอซีประเมินมูลค่ายอดโอนจะฟื้นตัวราว 7% ในปี 2018 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การขยายตัวของโครงสร้างพื้นฐาน ขนาดครอบครัวที่เล็กลง และความต้องการในทำเลที่มีศักยภาพสูง ซึ่งผลักดันให้เกิดการพัฒนาโครงการใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องและทำให้การแข่งขันรุนแรงขึ้น
นอกจากไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างของผู้บริโภคในแต่ละช่วงอายุ รวมถึงนวัตกรรมเทคโนโลยีล้วนมีอิทธิพลต่อการพัฒนาและการขายโครงการที่อยู่อาศัยในอนาคต ในส่วนของตลาดคอนโดมิเนียม ผู้บริโภคยังให้ความสำคัญกับพื้นที่ส่วนกลาง รวมทั้งอยากอยู่ใกล้แหล่งชุมชน ใกล้แหล่งร้านอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มเติมจากแค่ใกล้รถไฟฟ้า
โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่จะเข้ามามีบทบาททั้งในส่วนของ smart home และ prop tech โดยในส่วนของ smart home แม้ว่ายังไม่แพร่หลายนัก แต่คนรุ่นใหม่ให้ความสนใจมากขึ้น แต่ก็มีแนวโน้มจะกลายเป็น new normal ในอนาคต
จากผลสำรวจพบว่า 90% ของกลุ่มคนที่อายุต่ำกว่า 30 ปีเห็นว่าอุปกรณ์ smart home มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะระบบเตือนภัยและระบบจัดการพลังงาน นอกจากนี้ ช่องทางดิจิทัลจะมีบทบาทในการตัดสินใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัยมากขึ้นเนื่องจากผู้บริโภคมีการเปรียบเทียบข้อมูลมากขึ้น โดยกว่า 50% ของผู้ตอบแบบสำรวจสนใจเข้าชมโครงการหลังได้รับข้อมูลรีวิวออนไลน์
ผู้ประกอบการจึงควรหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาแพลตฟอร์ม prop tech ใหม่ๆ อาทิ การนำเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้บริโภคเปรียบเทียบโครงการได้ง่ายขึ้น รวมถึงการนำเสนอบริการหลังการขายรูปแบบต่างๆ ตลอดจนการนำ prop tech มาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการโครงการ การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องเร่งสร้างความแตกต่างโดย 3 กลยุทธ์สำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
คือ 1) ออกแบบโดยให้ความสำคัญต่อความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมากยิ่งขึ้น อย่างเช่น universal design ที่ตอบโจทย์การใช้งานของผู้บริโภคหลากหลายกลุ่ม
2) จับมือพันธกิจทางธุรกิจเพื่อพัฒนาสินค้า ถ่ายทอดความรู้ เข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มใหม่ และสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ อย่างเช่น จับมือกับสตาร์ทอัพเพื่อนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการอยู่อาศัยอย่างเช่น สมาร์ทโฮม และ
3) พัฒนาแพลตฟอร์มบริการหลังการขายใหม่ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายและต่อยอดนำ Big data มาพัฒนาสินค้า และบริการ อย่างเช่นการพัฒนาแพลตฟอร์มกลางเพื่อรวบรวมบริการหลังการขาย หรือการใช้ประโยชน์จาก Big data ในการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคหรือปัญหาที่พบจากการให้บริการบริการหลังการขายต่างๆ เพื่อนำมาพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยที่ผู้บริโภคมี ความต้องการในอนาคตอีกด้วย