การเปลี่ยนแปลงของระบบห่วงโซ่อุปทานโลก หลังความตึงเครียด สหรัฐฯ-จีน และไต้หวัน

ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและจีน รวมถึงไต้หวัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบห่วงโซ่อุปทานโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไต้หวันเป็นผู้ผลิตชิปเซ็ตรายใหญ่ของโลก กุมส่วนแบ่งตลาดถึง 63% ซึ่งชิพเหล่านี้เป็นเทคโนโลยีระดับสูงในการผลิต และแทบจะอยู่ในทุกสินค้าเทคโนโลยี

โดยสงครามการค้าที่เกิดขึ้น ได้ทำให้ผู้ประกอบการไต้หวันจำนวนมากจำเป็นต้องเร่งย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นที่ไม่ใช่จีน ตามนโยบาย New Southbound ของรัฐบาลไต้หวันเพื่อลดการพึ่งพาจีน และหนึ่งในปลายทางที่ไต้หวันมอง คือ ภูมิภาคอาเซียน ที่ในเวลานี้กลายเป็นแหล่งลงทุนที่นักธุรกิจไต้หวันให้ความสนใจมากที่สุด

และการเคลื่อนย้ายนี้ ยังเกิดขึ้นจากความเคยชินด้านการไปลงทุนในต่างประเทศของเหล่านักธุรกิจไต้หวัน จะนิยมชักชวนผู้ประกอบการที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานเดียวกันให้ไปลงทุนร่วมกันเป็น Cluster ในต่างประเทศด้วย

ซึ่งไทยถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นเป้าหมาย โดยมีบริษัทชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของไต้หวันสนใจลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น จากการร่วมทุนของยักษ์ใหญ่ไทยและไต้หวัน คือ PTT และ Foxconn ในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทย ซึ่งจำเป็นต้องใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก

ทั้งนี้สมาคมแผ่นวงจรพิมพ์ไต้หวัน และสมาคมผู้ผลิตไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไต้หวันได้นำสมาชิกกว่า 20 บริษัทรวม 45 รายเดินทางไปเยือนประเทศไทยเพื่อหาลู่ทางในการลงทุนในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา

โดย นายกสมาคมแผ่นวงจรพิมพ์ไต้หวัน เดินทางไปเยี่ยมชมนิคมอุตสาหกรรม 7 แห่งในประเทศไทย คือ Amata City, WHA, Yamato, Pinthong, Asia Suvarnabhumi, Rojana และ 304

ทั้งนี้ไทยเป็นหนึ่งในจุดหมายการลงทุนที่ไต้หวันสนใจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยปัจจัยที่ผู้ประกอบการไต้หวันให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในการพิจารณาลงทุนในไทย คือการบริหารจัดการน้ำเนื่องจากนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งที่ตั้งอยู่ในเขตระเบียเศรษฐกิจภาคตะวัน (EEC) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ของจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง จะมีการจำกัดปริมาณการใช้น้ำ

ส่วนนิคมอุตสาหกรรมที่อยู่นอกเขต EEC ทั้งในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือที่จังหวัดปราจีนบุรี จะไม่มีข้อจำกัดเรื่องน้ำ ซึ่งพื้นที่ทั้งสองแห่งนี้ เป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตแผ่นวงจรพิมพ์ยักษ์ใหญ่หลายราย เช่น KCE ของไทย, WUS ของจีน และ Dynamic Electronics ของไต้หวัน

อนึ่งโรงงานของ APCB Inc. ซึ่งเป็นบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ของไต้หวันที่ลงทุนในประเทศไทย

ที่มา : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา

เขียนและเรียบเรียง : พรรณรุ้ง คุ้มพงษ์พันธ์

ติดตาม Business+ ได้ที่ : https://www.thebusinessplus.com/
Line Business+ ได้ที่ : https://lin.ee/pbIHCuS
IG ได้ที่ : https://www.instagram.com/businessplus.newgen2021/

#Businessplus #Business+ #นิตยสารBusinessplus #จีน #ไต้หวัน #สหรัฐ