กิตติ สิงหาปัด
รัฐบาลประกาศให้การกำจัดขยะเป็นวาระแห่งชาติ เพราะก่อให้เกิดมลภาวะทางน้ำ และอันตรายต่อสัตว์ทะเล อย่างไรก็ตาม ขยะสามารถนำกลับไปรีไซเคิลได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น จึงมีความท้าทายที่จะหมุนเวียนขยะให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่
ธนา ยันตรโกวิท รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
ขยะเป็นปัญหาที่มีมาช้านาน แม้ว่าจะมีหลายกระทรวงที่ออกกฏหมายเกี่ยวข้องกับการบริหาจัดการขยะ เช่น กระทวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข แต่หน่วยงานเหล่านี้ ไม่ใช่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการเก็บขยะ ซึ่งคือ องค์กรส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น 7,851 แห่ง ไม่รวมกรุงเทพฯ ทั้งนี้ องค์กรส่งเสริมการปกครองส่วนท้องมีรายได้จากการเก็บขยะรวม 7 แสนล้านบาท ต่อปี ซึ่งหน่วยจัดการมีศักยภาพต่างกัน รายได้ในแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน และบางพื้นที่ไม่มีรถเก็บขยะ จึงเป็นเหตุให้กระทรวงมหาดไทยวางแผนจัดการขยะแบบองค์รวม โดยพิจารณาจากการจัดการขยะ การจัดการขยะเก่า ระเบียบกฎหมาย และจิตสำนึกประชาชน
ปี 2560 องค์กรส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งเป้า ลดขยะทั่วประเทศลง 5% ตั้งชุมชนต้นแบบให้มีระบบการจัดการขยะมูลฝอยครอบคลุม 40% มีการจัดการขยะอันตรายในชุมชน ครอบคลุม 100% และจัดการขยะอุตสาหกรรม ลดลง 100%
แนวทางความร่วมมือเพื่อนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ คือ
1. การให้ความสำคัญกับต้นทาง (ผู้บริโภค) ด้วยหลักการ ใช้น้อย ใช้ซ้ำ ใช้ใหม่ (3Rs) แล้วให้ชุมชนเป็นตัวเชื่อมระหว่างต้นทาง (ผู้บริโภค) ให้คัดแยกขยะ และเกิดกลไก ไปจนถึงปลายทางในการรีไซเคิล
2. จัดทำโครงการ From Bin to Bag และ fast track to zero waste โดยเชื่อมโยงการคัดแยก และกำหนดวันจัดเก็บขยะ ซึ่งต้องอาศัยแรงผลักดันและแนวปฏิบัติ ผ่าน พระราชัญญัติรักษาความสะอาด 2560 ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย
ปัจจุบัน มีการจัดกลุ่มเพื่อการจัดการขยะ จำนวน 324 กลุ่ม โดยมีกลุ่มที่มีศักยภาพในการนำขยะไปทำพลังงานได้ประมาณ 60 กว่ากลุ่ม (RDF หรือพลังงานป้อนโรงไฟฟ้า) นอกจากนั้น คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กกวล.) ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการจัดการขยะพลาสติก เพื่อเป็นกลไกผลักดันและขับเคลื่อนการปฏิบัติการระดับประเทศ
สุวรรณา จุ่งรุ่งเรือง รองปลัดกรุงเทพมหานคร
กลไกการจัดการของเสียเพื่อนำของเสียกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบ ได้แก่ การรักษาทุนด้านธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการรักษาประสิทธิภาพของระบบ โดยเน้นให้ทุกภาคส่วนมีบทบาท เริ่มจากผู้ผลิต ให้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติน้อยสุด หรือนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก ด้วยหลักการ Eco-design ส่วนผู้บริโภค มีหน้าที่ในการเลือก ผ่านเครื่องมือ ต่างๆ เช่น Eco-label, Green Procurement
การดำเนินงานของกรุงเทพมหานคร (กทม.) เน้นการจัดการขยะ เช่น แก้ปัญหาการเทกอง ด้วยการฝังกลบ โดยข้อมูลขยะของ กทม. ปี 2560 เพิ่มขึ้น 3.9% จากปี 2558 ซึ่งคาดว่า ขยะในช่วง 10 หลังจากนี้ จะสามารถควบคุมให้เพิ่มขึ้นไม่เกิน 1% ของปริมาณขยะในปัจจุบัน ซึ่งขยะประเภทเศษอาหารมีมากที่สุดถึง 47.62 กทม. ส่งเสริมการแยกขยะ ใน 14 กลุ่มเป้าหมาย แบ่งเป็นพื้นที่ 37,189 แห่ง ดำเนินการแล้ว 12,000 แห่ง คิดเป็น 32%
อุปสรรคในการจัดการขยะในพื้นที่ คือ ภาครัฐไม่สามารถสร้างระบบ หรือ สื่อสารไปยังชุมชน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ รวมถึงมีจุดอ่อนของภาครัฐในการกำกับดูแลให้มีการบังคับใช้ตามกฎหมาย
กทม. มีความตั้งใจให้เกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกันเพื่อสร้าง Model ต้นแบบที่ประสบความสำเร็จด้านการจัดการขยะที่มีความต่อเนื่องในระดับชาติ
สินชัย เทียนศิริ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (TIPMSE) การดำเนินงานของสถาบันฯ เน้นความร่วมมือของ 5 ภาคส่วน ได้แก่ ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้บริโภค ผู้แยกขยะ/รับซื้อของเก่า และโรงงานรีไซเคิล โดยมีกระบวนการ Education, Promotion และ Connection เพื่อเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วเป็นวัตถุดิบ รวมถึง สร้างวงจรที่เรียกว่า Closed Loop Packaging (CLP) เพื่อให้การกำจัด ไม่ใช้แค่การทำลาย แต่คือการแก้ปัญหาขยะ โดยทำให้ได้ผลตอบแทน ที่ครบวงจร
ในการขยายแนวคิดเรื่อง CLP สู่วงกว้าง ต้องทำครบทุกมิติผ่าน กลไกทางเศรษฐศาสตร์ (Economy of Scale) เช่น การทำศูนย์รับของเก่าที่ไม่ใช้งานแล้ว โดยเสนอเป็น Business Model ใหม่ เริ่มจากการ Survey รวบรวมข้อมูลปริมาณขยะ และชักชวน Startup มาคิด Application โดยให้ผู้สูงอายุมาร่วมดำเนินการ ในลักษณะ Social Enterprise (SE) ซึ่งได้เริ่มทำที่ จังหวัดลพบุรี และนนทบุรีแล้ว ประเด็นสำคัญ คือ ต้องเก็บข้อมูลทุกอย่างของขยะทุกประเภททั้งกระดาษ แก้ว เหล็ก พลาสติก ฯลฯ เพื่อความคุ้มทุนด้าน Logistic
ศักดิ์ชัย ปฏิภาณปรีชาวุฒิ Vice President, Polyolefins and Vinyl Business, ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี
ในขณะที่สินค้าพลาสติกยังมีความจำเป็นในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป บริษัทฯ ได้มีความพยายามค้นหาเทคโนโลยีในการนำ Single-Use Plastic กลับมาใช้หรือรีไซเคิลได้มากที่สุด เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุด อีกทั้ง ได้พัฒนาสินค้าพลาสติกประเภทที่มีความแข็งแรง คงทน มีความบาและเหนียว เพื่อทดแทนวัสดุธรรมชาติ
เศษพลาสติกที่ไม่ปนเปื้อนมีมูลค่ามากในการนำมารีไซเคิล ส่วนเศษพลาสติกปนเปื้อน หากมีกระบวนการในการจัดการที่ดี ก็มีคุณค่าเช่นกัน เช่น RDF
เพชร มโนปวิตร รองหัวหน้ากลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN)
แนวทางการแก้ปัญหาขยะพลาสติกในทะเล และการส่งเสริม Circular Waste ต้องเริ่มต้นจากการกลับไปมองที่ธรรมชาติ และนำมาเป็นปุ๋ย เช่น Organic ในดินที่สูญหายไปทำให้ดินดูดซับน้ำได้น้อยลง ก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วม
ปัญหาการเสียชีวิตของวาฬ ทำให้เกิดจิตสำนึกในสังคม แม้ว่าจะมีปริมาณของของพลาสติกในตลาดโลกจะเพิ่มขึ้นกว่า 8 พันล้านตัน แต่สามารถรีไซเคิลกลับมาได้เพียงเล็กน้อย IUCN เน้นงานวิจัยเรื่อง Micro Plastic เช่น เสื้อผ้า ยางรถยนต์ และ กลุ่มของ Marine Plastics ที่มuผลกระทบต่อสัตว์ทะเล ปะการัง และน้ำปะปา
แนวทางการแก้ไขเน้นการลดการใช้ Single-Use Plastic และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ปฏิรูปวัฒนธรรมการใช้แล้วทิ้ง เช่น การลดการใช้หลอดพลาสติก การเก็บค่าถุงพลาสติกการลดราคาเครื่องดื่มเมื่อนำแก้วมาเอง การมัดจำขวดพลาสติก ตลอดจนสร้างจิตสำนึกให้คนรุ่นใหม่รู้จักการแยกขยะ มีจิตสำนึกสาธารณะ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมระดับครัวเรือน