ส่องตลาดเบียร์ ‘ฟิลิปปินส์’ ต้นกำเนิดแบรนด์ ‘ซาน มิเกล’

หากพูดถึงเครื่องดื่มประเภทเบียร์ ไม่ว่าใครก็คงนึกถึงประเทศเยอรมัน ซึ่งว่ากันว่าเป็นต้นกำเนิดเบียร์ที่ดีที่สุดในโลก เพราะมีกฏหมายว่าด้วยความบริสุทธิ์ของเบียร์ จึงทำให้เบียร์เยอรมันมีมาตรฐานสูง และรสชาติดีกว่าเบียร์ชาติอื่น โดยปัจจุบันเป็นผู้ผลิตเบียร์มากกว่า 500 ยี่ห้อ และขายเบียร์ได้แบบไม่มีกำหนดเวลาขาย นอกจากนี้ประชาชนเยอรมันสามารถดื่มเบียร์ได้ตั้งแต่อาย 16 ปี หากเทียบกับประเทศอื่นคือ 18 ปี ถึงแม้ปัจจุบัน Reinheitsgebot 1516 ไม่ได้ถูกบังคับใช้แล้ว แต่เบียร์ในเยอรมันก็ยังคงมีชื่อเสียงด้านคุณภาพ โดยเฉพาะที่เป็นเบียร์สูตรต้นตำรับของเยอรมัน

อย่างไรก็ตาม หากวัดกันที่ปริมาณการผลิต จะเห็นได้ว่า ประเทศจีน เป็นผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยกำลังการผลิต 49,781,500 ตันต่อปี ตามมาด้วย สหรัฐอเมริกา มาเป็นอันดับ 2 ด้วยการผลิต 22,600,000 ตันต่อปี และอันดับที่ 3

ส่วนประเทศไทย เป็นผู้ผลิตอันดับที่ 14 ของโลกด้วยกำลังการผลิต 2,237,880 ต่อต่อปี และยังมีอีกประเทศที่การผลิตเบียร์กำลังเป็นทีน่าสนใจ นั่นคือ ‘ฟิลิปปินส์’ แม้เทียบการผลิตเบียร์ของฟิลิปปินส์กับทั่วโลกยังถือว่าไม่ได้โดดเด่นมากนัก ด้วยการผลิตอันดับที่ 29 ของโลก ด้วยกำลังการผลิต 1,033,000 ตัน แต่ด้วยอัตราการเติบโตที่ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว และยังเป็นประเทศที่เป็นต้นกำเนิดของบริษัทเบียร์ชื่อดังอย่าง ‘ซาน มิเกล’ ที่เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นเคยกับชื่อและรสชาติกันเป็นอย่างดี

โดยเบียร์เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่คนฟิลิปปินส์ชื่นชอบมากที่สุด และยังเป็นประเทศที่มี ซาน มิเกล โรงงานผลิตเบียร์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่อีกด้วย โดยที่ ซาน มิเกล จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 1890 โดยชาวสเปน หลังจากนั้นเป็นต้นมา ซาน มิเกลได้เติบโตจนเป็นหนึ่งในบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในฟิลิปปินส์ และเป็นเจ้าของโรงงานผลิตเบียร์หลายแห่ง ซึ่ง ซาน มิเกล เคยติด 10 อันดับแรกของเบียร์ที่มียอดขายมากที่สุดของโลกอีกด้วย

ซึ่งในประเทศฟิลิปปินส์ แล้วนั้น มีเพียงผู้เล่นหลัก 2 เจ้าเท่านั้นที่ครองตลาด นั่นคือ
1. San Miguel Brewery ส่วนแบ่งตลาด 93%
2. Asia Brewery ส่วนแบ่งตลาด 6% (Beer Hausen Pale Pilsen ,Max Premium beer, Manila Beer และ Beer Pale Pilsen
(ปัจจุบันคือ Beer Na Beer)
3. นำเข้า 1% (Heineken ,Tiger Beer ,Budweiser , Singha)

ขณะที่เมื่อดูมูลค่าตลาดเบียร์ในฟิลิปินส์แล้วจะเห็นได้ว่า ปริมาณการบริโภคเบียร์กลับมาฟื้นตัวในปี 2564 และปี 2565 ขณะที่ในปี 2566 จะยังมีการเติบโตเช่นเดียวกัน
– ปี 2561 มูลค่า 156,321.09 ลบ.
– ปี 2562 มูลค่า 182,693.43 ลบ.
– ปี 2563 มูลค่า 137,486.45 ลบ.
– ปี 2564 มูลค่า 153,672.32 ลบ.
– ปี 2565 มูลค่า 172,849.16 ลบ.

ซึ่งนอกจากคนฟิลิปปินส์ จะดื่มเบียร์ท้องถิ่นแล้ว ยังมีแนวโน้มจะนำเข้าเบียร์เพิ่ม ซึ่งหนึ่งในนั้นมีเบียร์สิงห์ของไทยเช่นเดียวกัน แม้ว่าสัดส่วนการนำเข้าจะไม่สูงมาก แต่ก็ถือเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะความนิยมเบียร์รสชาติแปลกใหม่ที่จะทำให้ผู้คนลองเปิดใจกันมากขึ้น

ทีนี้หันมามองส่วนแบ่งการตลาดเบียร์ในไทยกันบ้าง โดยเจ้าแห่งเบียร์ผู้ผลิตและจำหน่ายเบียร์ได้มากที่สุดในประเทศไทย คือ บจก.บุญรอดบริวเวอรี่มีส่วนแบ่งตลาด 57.9% ตามด้วย บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ (34.3%) โดย เบียร์ลีโอมีส่วนแบ่งตลาดสูงสุดที่ 44.8% รองลงมา คือ ‘ช้าง’ (31.2%) ‘สิงห์’ (11.2%)

สำหรับแนวโน้มตลาดเบียร์ทั่วโลกถูกคาดการณ์ว่าจะสูงถึง 989.29 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2571 จาก 768.17 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2564 ตามรายงานฉบับใหม่ของ SkyQuest Technology โดยตลาดคาดว่าจะเติบโตที่ CAGR 3.68% ในช่วงปี 2021 ถึง 2028

ซึ่งมีปัจจัยบางประการที่ผลักดันแนวโน้มนี้ในตลาดเบียร์ทั่วโลก เกิดจากความนิยมของคราฟต์เบียร์ทำให้ผู้คนเปิดใจลองเบียร์สไตล์และรสชาติใหม่ๆ มากขึ้น นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นของโซเชียลมีเดียทำให้ผู้คนเชื่อมต่อกับโรงเบียร์ท้องถิ่น และเรียนรู้เกี่ยวกับเบียร์รุ่นใหม่ได้ง่ายขึ้น

ที่มา : globenewswire , กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

เขียนและเรียบเรียง : พรรณรุ้ง คุ้มพงษ์พันธ์

#Businessplus #Business #นิตยสารBusinessplus #อุตสาหกรรมเบียร์ #ฟิลิปปินส์