‘Salesforce’ เผยผลสำรวจการใช้งาน generative AI พนักงาน 99% ยกเป็นเครื่องมือช่วยทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Salesforce (เซลส์ฟอร์ซ) บริษัท AI CRM อันดับ 1 ประกาศผลสำรวจเรื่องการใช้งาน generative AI ในประเทศไทย ซึ่งได้เปิดเผยมุมมองและพฤติกรรมการใช้งาน AI ในที่ทำงานของพนักงานไทย โดยแบ่งผลการสำรวจออกเป็น 5 หัวข้อ ได้แก่ ด้านการส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงาน ด้านจริยธรรมและความปลอดภัย การเลื่อนตำแหน่งและความก้าวหน้าในหน้าที่ทำงาน การสร้างความดึงดูดและรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กร

จากการสำรวจของ YouGov ภายใต้การดำเนินงานของเซลส์ฟอร์ซ พบว่า พนักงานไทยเห็นถึงประโยชน์ที่ได้จากการใช้งาน generative AI โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และโอกาสที่จะเติบโตก้าวหน้าในอาชีพของตน อย่างไรก็ตาม พนักงานไทยหลายคนยังคงมีข้อจำกัดด้านความรู้ ความเข้าใจในการใช้ AI ให้ปลอดภัยและมีจริยธรรม จนนำไปสู่พฤติกรรมการใช้ AI ที่น่ากังวล

โดยจากผลการสำรวจพบว่า

1. พนักงานไทยมองว่าการมีความเข้าใจและความสามารถในการใช้ generative AI จะสามารถเพิ่มผลิตผลในการทำงาน (productivity) และเป็นเครื่องมือที่ทำให้ตำแหน่งหน้าที่การงานของพวกเขาก้าวหน้าขึ้น อีกทั้ง generative AI ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้การทำงานของพนักงานอันเกิดเป็นประสิทธิผลแก่ธุรกิจ

  •  AI ถูกใช้อย่างแพร่หลายในที่ทำงาน
    • 90% ของพนักงานไทยใช้ AI ในงานทั่วไปที่ทำในแต่ละวัน (daily work tasks)
    • 65% ของพนักงานไทยใช้ generative AI เพื่อทำงานของพวกเขาให้เสร็จสิ้น
  • พนักงานไทยเกือบทุกคน (99%) ที่ได้ใช้งานและกำลังใช้ generative AI อยู่แล้ว กล่าวว่า generative AI ช่วยให้พวกเขาทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย
    • 92% ของผู้ที่ใช้ generative AI ลงความเห็นว่า generative AI ช่วยให้งานของพวกเขาง่ายยิ่งขึ้น
  • พนักงานไทยมากกว่า 60% มองว่า generative AI เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้พวกเขาประสบความสำเร็จในเส้นทางอาชีพ โดย
    • 60% เชื่อว่า หากมีความรู้หรือความเชี่ยวชาญในเรื่อง generative AI ในการทำงานจะส่งผลให้มีความก้าวหน้าหรือได้รับการเลื่อนตำแหน่งในองค์กร
    • 63% เชื่อว่า หากมีความรู้หรือความเชี่ยวชาญในเรื่อง generative AI ในการทำงาน จะส่งผลให้เป็นที่พวกเขาเป็นที่ต้องการในบริษัทต่างๆ
  • 62% เชื่อว่าพวกเขาจะได้รับค่าตอบแทนมากกว่าผู้ที่ไม่มีความรู้หรือเชี่ยวชาญในเรื่อง generative AI

2. ความกังวลของพนักงานไทยเกี่ยวกับข้อจำกัดด้านความก้าวหน้าในอาชีพ ความเสี่ยงด้านจริยธรรม และความปลอดภัยต่อธุรกิจเป็นสิ่งที่ไม่อาจมองข้ามได้

  •  พนักงานไทยมากกว่าสองในห้า (44%) มีความกังวลว่าพวกเขาจะไม่สามารถปรับตัวเข้ากับการใช้  generative AI ในที่ทำงานได้ และอาจทำให้พวกเขาตามไม่ทันเพื่อนร่วมงาน และเกือบหนึ่งในสี่ (23%) รู้สึกไม่มั่นใจเมื่อต้องเปรียบเทียบความสามารถในการใช้ generative AI กับเพื่อนร่วมงานของพวกเขา
  • เก้าในสิบ (90%) ของพนักงานไทยกล่าวว่ายังพบเจอกับอุปสรรค หรือข้อจำกัดในการนำ generative AI มาใช้งานในที่ทำงาน อาทิ
    • ไม่ได้รับการฝึกอบรมการใช้ generative AI ในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ (34%)
    • ขาดการสนับสนุนจากนายจ้างในการใช้ generative AI (29%)
    • กลัวว่าการใช้ generative AI จะนำมาซึ่งความเสี่ยงด้านข้อมูลของทั้งข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลบริษัท (28%)
  • 77% ของพนักงานไทยกล่าวว่าบริษัทของตนไม่มีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับวิธีการนำ generative AI มาใช้ในการทำงาน
  • ด้วยเหตุนี้ พฤติกรรมการใช้ generative AI ของพนักงานไทยในที่ทำงานจึงยังมีบางเรื่องที่น่ากังวล อาทิ
    • พนักงานไทยส่วนใหญ่ไม่สามารถระบุได้ว่า วิธีการทั้งหมดของการใช้งาน AI อย่างมีจริยธรรม (94%) หรือใช้ให้ปลอดภัย (90%) มีอะไรบ้าง
    • 84% ของพนักงานไทยที่ใช้ generative AI ในที่ทำงานยอมรับว่า พวกเขาเคยนำเสนองานที่ทำขึ้นโดย AI ว่าเป็นงานของตนเอง ยิ่งไปกว่านั้น 67%ยอมรับว่าพวกเขาเคยทำมาแล้วหลายครั้ง
    • จำนวนพนักงานไทย 2 ใน 3 (64%) ที่ใช้ generative AI ในที่ทำงานยอมรับพวกเขาแอบใช้แพลตฟอร์ม generative AI ที่นายจ้างสั่งห้ามไม่ให้ใช้ในองค์กร

3. ธุรกิจสามารถรักษาและการดึงดูดพนักงานผู้มีความสามารถ รวมถึงประสิทธิภาพและการเติบโตของธุรกิจได้ โดยการนำ generative AI มาใช้ในองค์กรของพวกเขา ผ่านเทคโนโลยีที่เชื่อถือได้ พร้อมด้วยนโยบายและการฝึกอบรมพนักงานอย่างชัดเจนและครอบคลุม

  • พนักงานไทยต้องการที่จะได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติมเพื่อให้ตามทันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
    • การขาดการฝึกอบรมการใช้ generative AI อย่างมีประสิทธิภาพ (34%) ถือเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้พนักงานไทยไม่สามารถใช้งานได้อย่างหลากหลาย
    • 64% ของพนักงานไทยยังไม่ได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้ generative AI อย่างมีจริยธรรมและปลอดภัยจากนายจ้างของพวกเขา
    • พนักงานไทย 37% เตรียมที่จะย้ายองค์กร หากองค์กรที่พวกเขาอยู่ปัจจุบันไม่มีการฝึกอบรมการใช้งาน generative AI แก่พนักงาน
  • องค์กรสามารถดึงดูดและรักษาผู้มีความสามารถเอาไว้ได้ ด้วยการฝึกอบรมการใช้งาน generative AI  โดย
    • 63% ของพนักงานไทยยอมรับว่า บริษัทที่มีนโยบายเชิงรุกและมีความก้าวหน้าในด้าน generative AI เป็นองค์กรที่น่าร่วมงานมากกว่าองค์กรที่ไม่มีความพร้อมในเรื่องนี้
    • 37% ของพนักงานไทย ลงความเห็นว่าพวกเขาพร้อมที่จะลาออกจากที่ทำงานปัจจุบัน หากนายจ้างไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องการใช้ generative AI ในองค์กร

คุณรบส สุวรรณมาศ, ผู้นำด้านนวัตกรรม, เซลส์ฟอร์ซ ประเทศไทย กล่าวว่า “Generative AI ถูกยกให้เป็นเทคโนโลยีที่จะมาช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลง ซึ่งประโยชน์ของเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ก็เป็นที่ยอมรับของพนักงานไทย ดังนั้น ธุรกิจจึงไม่ควรมองข้ามประโยชน์ที่ generative AI สามารถสร้างให้กับองค์กรและพนักงาน โดยการที่ธุรกิจจะสามารถนำ generative AI  มาสร้างเป็นกลยุทธ์นั้น ควรมีพื้นฐานอยู่บนความไว้วางใจ (trust) เพื่อที่จะป้องกันความเสี่ยงซึ่งมาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ สิ่งนี้เริ่มต้นได้ด้วยการใช้แพลตฟอร์มหรือแอปพลิเคชันที่เชื่อถือได้ ปลอดภัย มีแนวทางและนโยบายที่ชัดเจนในการใช้งาน เสริมด้วยการฝึกอบรมให้พนักงานรู้จักวิธีการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรมและปลอดภัย”

“นวัตกรรม AI ในปัจจุบันมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจสร้างความไม่มั่นใจให้แก่ธุรกิจ ด้วยเหตุนี้เซลส์ฟอร์ซในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรม AI ที่เน้นการสร้างความไว้วางใจและความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญในทุก ๆ ผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมที่เราพัฒนาขึ้น เราพร้อมที่จะมอบแนวทางและผลิตภัณฑ์ที่เชื่อถือได้ให้แก่ธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้ผ่านการใช้งานเทคโนโลยีที่พวกเขาไว้ใจ” คุณรบส กล่าวเสริม

*วิธีการสำรวจ
ข้อมูลในการสำรวจฉบับนี้มาจากการสำรวจออนไลน์ ระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม 2566 โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นชาวไทยจำนวนทั้งสิ้น 1,049 คน ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป เป็นพนักงานออฟฟิศเต็มเวลา และทำงานในธุรกิจที่มีพนักงานอื่นอย่างน้อย 1 คน ในการสำรวจนี้ ผู้ตอบแบบสำรวจจะถูกเรียกสั้นๆ ว่า “พนักงานไทย”