มทร.ธัญบุรี ผลิตสื่อ “Check ก่อน Share วัยรุ่นยุคใหม่ รู้จริง ไม่มี Fake”

คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.ธัญบุรี) ผลิตอินโฟกราฟฟิกแอนิเมชัน และจัดหลักสูตรออนไลน์ ภายใต้โครงการ “Check ก่อน Share วัยรุ่นยุคใหม่ รู้จริง ไม่มี Fake” ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการ จากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประจำปี 2562

อาจารย์เบญนภา พัฒนาพิภัทร อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน เผยว่า โครงการ “Check ก่อน Share วัยรุ่นยุคใหม่ รู้จริง ไม่มี Fake” โครงการในการสร้างสรรค์กลไกในการพัฒนาศักยภาพเยาวชนให้สามารถรู้เท่าทันข่าว และคัดกรองข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ บนสื่อสังคมออนไลน์ เน้นสรุปเนื้อหาให้เข้าใจง่าย และสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง ทางคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการ จากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประจำปี 2562 ออกแบบและสร้างสรรค์เนื้อหาออกมาในรูปแบบอินโฟกราฟิกแอนิเมชัน เพื่อรู้เท่าทันข่าวปลอม มีเนื้อหาจำนวน 3 ตอน ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับข่าวปลอม ประเภทของข่าวปลอม และวิธีการตรวจสอบข่าวปลอม เพื่อให้ความรู้และส่งเสริมให้ประชาชนมีทักษะในการรู้เท่าทันข่าวปลอม โดยเน้นสรุปเนื้อหาให้เข้าใจง่าย และสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง โดยสามารถเข้าไปชมอินโฟกราฟิกแอนิเมชัน ตอนที่ 1 ได้ทาง https://youtu.be/JvyV9cSd9A0 ตอนที่ 2 ทาง https://youtu.be/QLTUb1TvXlE และ ตอนที่ 3 ทาง https://youtu.be/9Q5YtPv_mSo และได้ออกแบบหลักสูตร “การรู้เท่าทันข่าวปลอม (Fake News)” ในรูปแบบออนไลน์ผ่าน RMUTT

MOOC มีทักษะในการคิด วิเคราะห์ แยกแยะเนื้อหาข่าว และรู้เท่าทันข่าวปลอม โดยในหลักสูตรจะเน้นสรุปเนื้อหาให้เข้าใจง่าย พร้อมทั้งมีกิจกรรมร่วมสนุกที่ส่งเสริมทักษะดังกล่าวให้ผู้เรียนสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง วิทยากรโดยอาจารย์กฤษณพงศ์ เลิศบำรุงชัย อาจารย์เบญนภา พัฒนาพิภัทร อาจารย์จากคณะคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ผู้ที่สนใจสามารถเข้ารับการอบรมออนไลน์ฟรีได้ที่www.mooc.rmutt.ac.th หลักสูตรการรู้เท่าทันข่าวปลอม (Fake News) : bit.ly/FakeNewsMOOC     ผู้เข้าร่วมอบรมออนไลน์และทำกิจกรรมครบถ้วน ผู้เข้าอบรมจะได้รับเกียรติบัตรจากโครงการ สำหรับผู้สนใจช่องทางในการส่งเสริมการทำกิจกรรมเช็คข่าว เพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยการเป็นนักตรวจสอบก่อนหลงเชื่อข่าวที่ยังได้กลั่นกรอง ได้ทางเว็บไซต์ www.check-share.com