Renewable

5 ยักษ์ใหญ่พลังงานทดแทนในไทยมีใครบ้าง?

ในช่วงที่ต้นทุนพลังงานฟอสซิล อย่างน้ำมันผันผวนได้ทำให้พฤติกรรมภาคธุรกิจ และครัวเรือนเปลี่ยนแปลงไป ด้วยการหันมาให้ความสนใจกับ “พลังงานสะอาด” มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่โลกของเรากำลังเผชิญกับภาวะโลกร้อน เพราะพลังงานฟอสซิลถือเป็นพลังงานสกปรกที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก และส่งผลเสียต่ออุณหภูมิโลก ซึ่งปัจจัยทั้ง 2 ด้านนี้ได้ทำให้ความต้องการพลังงานทดแทนทั่วโลกสูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งการใช้พลังงานทดแทนนั้น หากเป็นระดับองค์กรก็จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าลงได้อย่างมาก ขณะที่ภาคครัวเรือนที่มีการใช้ไฟฟ้าสูง ในช่วงที่ค่าไฟแพงนี้ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี จึงไม่แปลกที่พลังงานสะอาดได้กลายมาเป็น Mega Trend ของโลก

หากเรามองสัดส่วนของการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทนในประเทศไทยอาจจะยังมีสัดส่วนไม่มากนัก โดยข้อมูลในเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าจำนวน 2,167 กิกะวัตต์/ชั่วโมง คิดเป็น 14% ของการผลิตไฟฟ้าทั่วประเทศ (เดือน ม.ค.66) ถือว่าน้อยมากหากเทียบกับการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุด 8,084 กิกะวัตต์-ชั่วโมง คิดเป็น 51%

อย่างไรก็ตาม เมื่อมองไปถึงโอกาสเติบโตของธุรกิจพลังงานทดแทนในประเทศไทยแล้วนั้น ถือว่ามีโอกาสเติบโตได้สูงมากทีเดียว และที่ผ่านมามีบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานทดแทนหลายรายที่เพิ่งก่อตั้งได้ไม่นาน แต่สามารถสร้างรายได้ทัดเทียมกับบริษัทที่ก่อตั้งมาเกิน 10 ปี และยังมีการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

ทาง ‘Business+’ ได้ทำการสำรวจข้อมูลทางการเงินของ บริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานทดแทนในตลาดหลักทรัพย์ฯ  5 รายแรก โดยเรียงลำดับจากมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Cap.) มาดังนี้

อันดับที่ 1 บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) มีมูลค่าหลักทรัพย์อยู่ที่ 604,257 ล้านบาท โดยโครงสร้างธุรกิจหลักของกัลฟ์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ธุรกิจพลังงาน (Energy Business) ซึ่งประกอบด้วยธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติและธุรกิจให้บริการที่เกี่ยวข้องของกลุ่มบริษัทฯ ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน และธุรกิจก๊าซ, ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค(Infrastructure & Utilities Business) และธุรกิจดิจิทัล (Digital Business) ซึ่งในปี 2565 มีรายได้ 95,076 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 11,418 ล้านบาท เติบโต 48.86%

อันดับที่ 2 บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) มีมูลค่าหลักทรัพย์อยู่ที่ 247,113 ล้านบาท โดยบริษัทได้ดำเนินธุรกิจหลัก 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มธุรกิจไบโอดีเซล กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน-โรงไฟฟ้าพลังงานลม – โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ กลุ่มธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า และระบบกักเก็บพลังงาน- พัฒนา ผลิตและจำหน่ายแบตเตอรี่ -ธุรกิจบริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า (สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า)- ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า และกลุ่มธุรกิจอื่นๆ เช่น ศูนย์ทดสอบแบตเตอรี่ ยานยนต์ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ – วิจัยและพัฒนา ซึ่งในปี 2565 มีรายได้ 27,547 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 7,604 ล้านบาท เติบโต 24.65%

สำหรับแนวโน้มธุรกิจพลังงานทดแทนในอนาคต สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) มองว่าความต้องการใช้พลังงานของประเทศปี 2566 จะเพิ่มสูงขึ้น โดยคาดว่าจะมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น 2.7% จากความต้องการเดินทางที่มีแนวโน้มกลับมาเป็นปกติมากขึ้นทั้งการเดินทางภายในประเทศและการเดินทางระหว่างประเทศ

รวมทั้งการขยายตัวของการลงทุนทั้งการลงทุนภาคเอกชนและภาครัฐ โดยการใช้น้ำมันคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 4.2%  ก๊าซธรรมชาติคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ 1.8% การใช้ถ่านหิน/ลิกไนต์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.1%  และการใช้ไฟฟ้าพลังน้ำและไฟฟ้านำเข้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 4.4%

ซึ่ง ‘Business+’ มองว่า จากความต้องการใช้พลังงานที่สูงขึ้นเพราะอากาศโลกที่แปรปรวน ประกอบเข้ากับแนวโน้มค่าไฟที่ยังคงพุ่งสูง จะทำให้ภาคครัวเรือนหันมาใช้พลังงานทดแทนมากยิ่งขึ้น และส่งผลดีต่อผู้ผลิตพลังงานทดแทน โดยเฉพาะผู้ติดตั้งแผงโซลาร์ โดยหากย้อนดูข้อมูลนับตั้งแต่ปี 2545 แนวโน้มการติดแผงโซล่าเซลล์ในตลาดโลกเติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยการเติบโตเฉลี่ย 48% ต่อปี ส่วนหนึ่งเกิดจากนโยบายการสนับสนุนของรัฐบาลในประเทศ และเทรนด์ของอสังหาริมทรัพย์แบบใหม่ๆ ที่มีแนวคิดด้านการใช้พลังงานหมุนเวียนซึ่งจะมีการติดตั้งโซลาร์บนหลังคามาพร้อมกับตัวบ้านตั้งแต่แรก

ติดตาม Business+ ได้ที่ : https://www.thebusinessplus.com/
Line Business+ ได้ที่ : https://lin.ee/pbIHCuS