ถอดเคล็ดลับความสำเร็จ ‘PlayStation’ จากปรากฏการณ์ ‘ได้ดีเพราะโดนเท’ สู่ธุรกิจทำเงิน หนุนความสำเร็จ ‘Sony’

เชื่อว่าบรรดา ‘เกมเมอร์’ ทั้งหลายคงจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีกับ ‘PlayStation’ เครื่องเล่นวิดีโอเกมที่ครองใจผู้คนมายาวนานเกือบ 30 ปี นับตั้งแต่การวางจำหน่ายเครื่องแรกเมื่อปีค.ศ. 1994

 

เมื่อพูดถึง ‘PlayStation’ รุ่นแรก ทุกคนคงนึกถึงเครื่องเล่นวิดีโอเกมแบบใส่แผ่น CD แต่ทราบหรือไม่ว่าในความเป็นจริงแล้วในช่วงแรกของการพัฒนานั้น ‘PlayStation’ เคยเกือบจะเป็นเครื่องเล่นที่สามารถใส่ตลับเกมได้ด้วย โดยเรื่องนี้เริ่มต้นขึ้นในปีค.ศ. 1980 ด้วยความที่ ‘Sony’ เป็นหนึ่งในผู้พัฒนาสื่อบันทึกในรูปแบบ CD-ROM เกิดไปสะดุดตาทาง ‘Nintendo’ ผู้ผลิตเครื่องเล่นเกม ‘Super Famicom’ (SFC) ที่ตอนนั้นกำลังสนใจการนำ CD-ROM มาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์รุ่นต่อไป ขณะเดียวกัน ทาง ‘Sony’ ก็มีความสนใจที่จะผลิตเครื่องเล่นเกมชนิดใหม่ ที่สามารถเล่นเกมจากทั้งตลับของ SFC และจากแผ่น CD-ROM ทั้งสองบริษัทจึงตกลงเซ็นสัญญาร่วมกันในการพัฒนาเครื่องเล่นเกมภายใต้ชื่อ ‘SNES-CD’

 

หากมองเผิน ๆ ทุกอย่างก็เหมือนจะไปได้สวย และทั้งสองบริษัทก็เหมือนจะได้ประโยชน์จากดีลนี้แบบ Win-Win แต่แล้วก็เกิดเหตุการณ์พลิกผันที่จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สำหรับ ‘Sony’

 

เมื่อโครงการผลิตเครื่อง ‘SNES-CD’ ได้มีการประกาศต่อสาธารณชนครั้งแรกในงานแสดงสิค้าอิเล็กทรอนิกส์ Consumer Electronics Show (CES) ในปีค.ศ. 1991 แต่การประกาศความร่วมมือในครั้งนี้กลับนำมาซึ่งการ ‘แตกหัก’ เมื่อประธานบริษัท ‘Nintendo’ ในขณะนั้นเกิดไม่พอใจในเนื้อหาของข้อตกลงในสัญญาฉบับเก่าที่ทำกับ ‘Sony’ เนื่องจากเห็นว่าทาง ‘Sony’ จะได้สิทธิในเกมทุกเกมที่ผลิตออกมาในรูปแบบ CD-ROM ทาง ‘Nintendo’ จึงได้ยกเลิกข้อตกลงการพัฒนาร่วม ‘Sony’ ทั้งหมดกลางงาน CES และได้เปลี่ยนไปเซ็นสัญญากับทาง ‘Philips’ แทน

 

การถูกยกเลิกสัญญากะทันหันแบบตั้งตัวไม่ทันนี้ สร้างความลำบากให้กับทาง ‘Sony’ ชนิดที่เรียกว่าถึงกับเกิดอาการ ‘สตั๊น’ เนื่องจากผลงานวิจัยและพัฒนาถูกยกเลิกกลางอากาศ แต่ถึงอย่างนั้น ทาง ‘Sony’ ก็ยังไม่ถอดใจและลุกขึ้นยืนใหม่อีกครั้งด้วยการนำสิ่งที่เหลือจากโครงการที่ยุบไปแล้วมาพัฒนาต่อเป็นเครื่องเกมคอนโซลแบบเดี่ยวภายใต้ชื่อ ‘PlayStation’ โดยเรื่องนี้ทำให้ทาง ‘Nintendo’ เกิดอาการไม่พอใจและได้ฟ้องร้องขอให้ศาลสั่ง ‘Sony’ ระงับการพัฒนาดังกล่าว แต่เนื่องจากศาลไม่รับฟ้อง ส่งผลให่ในปีค.ศ. 1991 เครื่อง ‘PlayStation’ รุ่นต้นแบบก็ถูกผลิตออกมา และมีการเปิดตัวครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 3 ธันวาคม 1994 ขณะที่เปิดตัวครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 9 กันยายน 1995 และเปิดตัวครั้งแรกในยุโรปในวันที่ 29 กันยายน 1995 โดยราคาเปิดตัวครั้งแรกในอเมริกาอยู่ที่ 299 ดอลลาร์สหรัฐ/เครื่อง โดยในการการเปิดตัวดังกล่าวถือว่าประสบความสำเร็จอย่างสูง

 

โดย ‘PlayStation’ เป็นเครื่องเกมคอนโซลเครื่องแรกที่ขายได้มากกว่า 100 ล้านเครื่องทั่วโลกในปี 2008 และมีการประมาณการกันว่าเครื่อง ‘PlayStation’ สามารถขายได้ถึง 102 ล้านเครื่อง สำหรับปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เครื่องเล่นเกมแบบแผ่น CD-ROM เป็นที่นิยมมากกว่าแบบตลับ เนื่องมาจากรูปแบบของเกมได้มีการพัฒนาขึ้น และซับซ้อนมากกว่าเกมยุคก่อน ในขณะที่ตลับเกมมีเนื้อที่จำกัด แต่ CD-ROM มีความจุมากกว่า และด้วยความจุที่มากกว่านี้ช่วยให้ผู้พัฒนาเกมสามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ลงในเกมได้มากขึ้น เช่น การใส่ภาพยนตร์สั้น ๆ ลงในเกม คุณภาพเสียงที่ดีขึ้น

 

ทั้งนี้ หลายคนเชื่อว่า ความสำเร็จของเครื่อง ‘PlayStation’ เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการสิ้นสุดของยุคเกมแบบใช้ตลับ และเป็นเครื่องเกมแบบใช้แผ่น CD เครื่องแรกที่ประสบความสำเร็จ แม้จะไม่ได้เป็นเครื่องเกมคอนโซลเครื่องแรกที่ใช้ CD ก็ตาม นอกจากนี้ เครื่อง ‘PlayStation’ สามารถเอาชนะเครื่องเกมแบบใช้ตลับเครื่องสุดท้ายของ ‘Nintendo’ ได้แก่เครื่อง ‘Nintendo 64’

 

แต่ถ้าหากจะให้พูดถึงเคล็ดลับที่เป็นแรงสนับสนุนให้ ‘PlayStation’ ประสบความสำเร็จและครองใจเหล่า ‘เกมเมอร์’ ได้มากขนาดนี้ คงหนีไม่พ้นการพัฒนาที่ไม่หยุดยั้งของทางผู้ผลิตอย่าง ‘Sony’ ทั้งในส่วนของตัวเครื่องเล่นเกมเองและตัวเกมที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยแบ่งจุดเด่นเป็นหลายส่วน ดังนี้

 

ฮาร์ดแวร์ขั้นสูง

‘Sony’ ให้ความสำคัญกับการนำคุณสมบัติที่เป็นนวัตกรรมมาสู่ ‘PlayStation’ ตั้งแต่เริ่มต้น ทำให้กราฟิกบน ‘PlayStation’ มีลักษณะที่สามารถใช้สำหรับการเล่นเกมได้เช่นเดียวกับเครื่องเล่น DVD และถือเป็นแรงสนับสนุนหลักที่ส่งผลให้ ‘PlayStation’ เป็นที่นิยมอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ‘Sony’ ให้ความสำคัญกับการออกแบบคอนโซล ‘Playstation’ ในลักษณะที่สามารถรองรับเทคโนโลยีในอนาคตได้ ตัวอย่างเช่น ‘PS5’ จะรองรับจอภาพความละเอียด 8K หรือทีวี อย่างไรก็ตาม จอภาพ 8K และทีวียังไม่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตาม ‘PS5’ ของ ‘Sony’ จะสามารถรองรับความละเอียด 8K ผ่านการอัพเดตซอฟต์แวร์เมื่อใดก็ตามที่จอภาพและทีวี 8K ได้รับความนิยมมากขึ้นในตลาด นอกจากนี้ การวางโลหะเหลวระหว่างโปรเซสเซอร์ AMD และฮีตซิงก์ของ ‘Playstation’ เพื่อให้คอนโซลสามารถลดความร้อนได้เร็วขึ้น และถือปเนจุดเด่นที่ส่งผลให้เหล่า ‘เกมเมอร์’ ชอบ ‘PlayStation’ จากการใช้เทคโนโลยีใหม่ดังกล่าว

 

เกมพิเศษ

เกมพิเศษหรือเกมแบบเอ็กซคลูซีฟมักมีบทบาทที่สำคัญมากบนเครื่องเล่นเกมคอนโซล โดยเกมเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้บนเครื่องเล่นแบบเฉพาะเท่านั้น เช่น เกมเอกสิทธิ์ของ ‘PlayStation’ สามารถเล่นได้บน ‘PlayStation’ เท่านั้น ซึ่งเกมเอ็กซ์คลูซีฟจำนวนมากมักจะถูกซื้อโดยเหล่า ‘เกมเมอร์’ ที่ต้องการเล่นเกมพิเศษเหล่านั้น โดยข้อมูลจาก ‘Techradar’ ระบุว่า ทั้ง Xbox One และ PS4 มีเกมประมาณ 2,000 เกมในคลังเกม แต่ PS4 มีเกมเอกสิทธิ์ประมาณ 300 เกม ในขณะที่ Xbox มีปริมาณน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง ตัวอย่างเช่นเกม ‘Marvel’s Spider-Man’ และ ‘The Last of Us Part II’ ถือเป็นเกมพิเศษที่มีเฉพาะบน ‘PlayStation’ และด้วยความนิยมของเกมพิเศษเหล่านี้ จึงส่งผลต่อความนิยมในเครื่อง ‘PlayStation’ ไปในตัว

 

ราคาที่แข่งขันได้

‘Sony’ เสนอราคาที่แข่งขันได้สำหรับ ‘PlayStation’ ให้กับผู้บริโภคเสมอ โดยคอนโซล ‘PS5’ รุ่นล่าสุดของ ‘PlayStation’ มีราคาเพียง 500 ดอลลาร์ ในขณะที่พีซีสำหรับเล่นเกมที่มีการกำหนดค่าเดียวกันมีราคามากกว่า 1,100 ดอลลาร์ ดังนั้นเกมที่มีการกำหนดค่าสูงสามารถเล่นได้ผ่านคอนโซล ‘PlayStation’ ในราคาที่ค่อนข้างต่ำ นอกจากนี้ยังสามารถเล่นเกมออนไลน์ได้โดยการซื้อการสมัครรับข้อมูลจากคอนโซลเกม บริการสมัครสมาชิก ‘PlayStation’ ภายใต้ ‘PS NOW’ ให้ผู้เล่นได้เล่นเกมมากถึง 800 เกม เพื่อแลกกับการสมัครสมาชิกรายปีในราคา 60 ดอลลาร์ ขณะที่บริการสมัครสมาชิกของ ‘Xbox’ ค่าธรรมเนียมการสมัครสมาชิก Game Pass คือ 10 ดอลลาร์/เดือน และค่าบริการแบบพรีเมียมคือ 15 ดอลลาร์/เดือน อย่างไรก็ตาม Game Pass ของ ‘Xbox’ มีเกมเพียง 100 เกมเท่านั้น ดังนั้น แพ็คเกจการสมัครสมาชิก ‘PlayStation’ ช่วยให้ผู้เล่นสามารถเล่นเกมได้มากขึ้นด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าผู้ให้บริการรายอื่น ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่หนุนให้ ‘PlayStation’ ได้รับความนิยมมากกว่าเจ้าอื่นของเกมคอนโซล

 

ตัวควบคุมขั้นสูงและความสะดวกสบาย

‘Sony’ พยายามมากขึ้นเสมอในการพัฒนาคอนโทรลเลอร์ ‘PlayStation’ โดยคอนโทรลเลอร์ ‘PS5’ รุ่นล่าสุดใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น การตอบสนองแบบสัมผัส, ทริกเกอร์แบบปรับได้ เซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว, ลำโพงและไมโครโฟน นอกเหนือจากเทคโนโลยีขั้นสูงแล้ว คอนโทรลเลอร์ ‘PlayStation’ ยังใช้งานง่ายอีกด้วย เนื่องจากปุ่มต่าง ๆ อยู่ในตำแหน่งที่สะดวกสบายกว่ามาก ตัวควบคุมจึงใช้งานง่ายสำหรับวัยรุ่น ผู้ใหญ่ และแม้แต่ผู้ใช้ที่พิการ อีกทั้งผู้ใช้ยังรู้สึกสะดวกสบายในการใช้คอนโซล เนื่องจากอินเทอร์เฟซผู้ใช้ ‘PlayStation’ นั้นค่อนข้างง่ายกว่า ‘Xbox’

 

การทำงานร่วมกัน

‘Sony’ มักจะร่วมมือกับแบรนด์อื่น ๆ เพื่อเพิ่มความนิยม ตัวอย่างเช่น Doritos ที่ได้ร่วมมือกับ ‘PlayStation’ ในการเพิ่มโอกาสการเป็นเจ้าของ ‘PS5’ ผ่านการซื้อขนมของ Doritos นอกจากนี้ ‘Playstation’ ยังได้ร่วมมือกับ Kitkat เพื่อเปิดตัวแคมเปญชื่อOne Break Away โดยตลอดแคมเปญนี้ ‘Sony’ ได้เปิดโอกาสให้ผู้ซื้อ Kitkat ได้รับรางวัล ‘PS5’ ด้วย ซึ่งแคมเปญดังกล่าวได้เพิ่มความนิยมให้กับ ‘Playstation’ อย่างมีนัยสำคัญ

 

ฐานแฟนคลับที่ใหญ่กว่า

‘PlayStation’ มีฐานแฟนคลับจำนวนมากที่มีความภักดีต่อคอนโซลนี้ โดยปัจจุบันคอนโซลได้รับความนิยมอย่างมากจน ‘เกมเมอร์’ ทุกคนมักจะยกให้ ‘PlayStation’ เป็นตัวเลือกแรกในการเลือกซื้อเกมคอนโซลเสมอ นอกจากนี้ ผู้ผลิตเกมยังสร้างเกมของตนให้เข้ากันได้กับ ‘PlayStation’ เพื่อให้เกมขายได้ดีขึ้นด้วย ในทางกลับกัน ‘PlayStation’ ได้เพิ่มความนิยมและดึงดูดแฟน ๆ ได้มากขึ้น

 

ด้วยกลยุทธ์ต่าง ๆ เหล่านี้ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งให้ ‘PlayStation’ ประสบความสำเร็จมายาวนานจนถึงปัจจุบันและในอนาคต ด้วยการพัฒนาเครื่องเล่นที่ไม่หยุดนิ่งและตามทันยุคสมัยอยู่เสมอ โดยในปี 2020 ทาง ‘Sony’ ได้เปิดตัว ‘PS5’ ขณะที่ทาง ‘Microsoft’ ได้เปิดตัว ‘Xbox series’ X และ S โดยการเปิดตัว ‘PS5’ ทำให้เกิดกระแสฮือฮาในหมู่ ‘เกมเมอร์’ ทั่วโลก ส่งผลให้ทุกยูนิตของคอนโซลถูกขายออนไลน์จาก ‘Walmart’ ภายใน 5 นาที หลังจากเปิดตัว พร้อม ๆ กับการจำหน่ายเกมต่าง ๆ แยกต่างหากอีกด้วย โดยจากข้อมูลของ ‘Statista’ ระบุว่า ‘Sony’ ขายเกม ‘PS4’ และ ‘PS5’ ได้ 397.3 ล้านเกม ในปีงบประมาณ 2020 เพียงปีเดียว

 

ขณะที่ข้อมูลของ ‘Statcounter’ พบว่า ปัจจุบัน ‘PlayStation’ เป็นผู้นำตลาดเกมคอนโซลระดับโลกด้วยส่วนแบ่งการตลาด 92.24% ในขณะที่ส่วนแบ่งตลาดของ ‘Xbox’ อยู่ที่ 7.72% เท่านั้น นอกจากนี้ ตาม Vgchartz รุ่น ‘PlayStation’ ต่างๆ มียอดขาย 482.48 ล้านเครื่องจนถึงขณะนี้ ในทางกลับกัน ‘Xbox’ มียอดขายเพียง 172.97 ล้านเครื่องในทุกรุ่น อย่างไรก็ตาม ด้วยยอดขายทั่วโลก 157.68 ล้านชุด ‘The PlayStation 2’ ยังคงเป็นเครื่องเล่นเกมที่ขายดีที่สุดในโลก ส่วนในแง่ของยอดขายทั่วโลก เกมคอนโซล 4 ใน 10 อันดับแรกคืออุปกรณ์ ‘PlayStation’ ของ ‘Sony’

 

นอกจากนี้ ‘PlayStation’ ยังถือเป็น ‘ลูกรัก’ คนสำคัญของ ‘Sony’ อีกด้วย เนื่องจากกลุ่มธุรกิจบริการเกมและเครือข่าย ซึ่งแน่นอนว่ามี ‘PlayStation’ เป็นหลักนั้น สามารถทำรายได้ให้กับ ‘Sony’ ในปี 2564 ได้สูงถึง 24.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ธุรกิจหลักอื่น ๆ ได้แก่ บริการเพลงและรูปภาพ ทำรายได้ 9.95 และ 11.03 พันล้านดอลลาร์ตามลำดับ ทั้งนี้ รายได้รวมของ ‘Sony’ ในปี 2564 อยู่ที่ระดับ 88 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และทำให้ ‘Sony’ เป็นหนึ่งใน100 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก

 

จากความสำเร็จที่ชัดเจนจนเป็นที่ประจักษ์สำหรับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับ ‘PlayStation’ นั้น เรียกได้ว่า ‘ได้ดีเพราะโดนเท’ อย่างแท้จริง

 

เขียนและเรียบเรียง : เพชรรัตน์ แสงมณี

 

ที่มา : วิกิพีเดีย, Business Inspection, statista

 

ติดตาม Business+ ได้ที่ : https://www.thebusinessplus.com/

Line Business+ ได้ที่ : https://lin.ee/pbIHCuS

IG ได้ที่ : https://www.instagram.com/businessplus.newgen2021/

 

#Businessplus #Business+ #นิตยสารBusinessplus #Sony #PlayStation #PS5