Plant Based Food

Plant Based Food Future of Meat เมื่อเนื้อสัตว์ทดแทนมาเร็วกว่าที่คิด

Plant Based Food เนื้อสัตว์เทียม เนื้อไร้เนื้อ เนื้อสัตว์ปลูก หรือเนื้อสัตว์จากพืช เป็นอาหารที่ผลิตขึ้นทดแทนเนื้อสัตว์ ที่ได้จากการเพาะเนื้อเยื่อโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ และแปรรูปมาจากพืชให้มีรสชาติคล้ายเนื้อสัตว์

Plant Based Food ส่วนใหญ่ทำมาจากถั่วและพืชต่างๆ เช่น เห็ด ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา แครอท บีทรูท โดยให้รสชาติและรสสัมผัสใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์จริงๆ เป็นอีกหนึ่งกะแสที่กำลังถูกพูดถึงและจับตามองเป็นอย่างมากในช่วงปี2019

ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจาก Fi Asia ที่ระบุว่าเทรนด์อาหารของปี 2020 คือ โปรตีนแทนเนื้อสัตว์และโปรตีนสายพันธุ์ใหม่ โดยมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 6,725 ล้านบาท และมีแนวโน้มขยายตัว 6.4% ตามความนิยมบริโภคอาหารโปรตีนสูงเพื่อสร้างสมดุลทางโภชนาการทดแทนเนื้อสัตว์ โดยมี Plant Based Food หรือเนื้อไร้เนื้อเป็นดาวรุ่งของเทรนด์นี้ ปัจุบันเนื้อสัตว์เทียมเหล่านี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นและนำมารังสรรค์เป็นหลากหลายเมนู โดยสตาร์ตอัพ Food Tech ไม่ว่าจะเป็น

Plant Based Food

1. Aleph Farms จากอิสราเอล ก่อตั้งโดย Didier Toubia เปิดตัวด้วยสเต๊กเนื้อวัวที่มาจากการเพาะเซลล์ เมื่อเดือนธันวาคม 2018 ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีกล้ามเนื้อเหมือนเนื้อจริง แต่รสชาติและความหนายังไม่เท่ากับเนื้อวัวจริง

ซึ่งต้นทุนการผลิตสูงถึงชิ้นละ 50 ดอลลาร์สหรัฐ ขนาดชิ้นเนื้อพอ ๆ กับหมูปิ้ง 1 ไม้ ชิ้นเนื้อเหล่านี้เกิดจากเซลล์วัวคุณภาพดี เพาะในจานเลี้ยงที่มีของเหลวสีแดงอ่อน ๆ หล่อเลี้ยง เมื่อเซลล์แบ่งตัวขยายจำนวน มันจะเติบโตเป็นสเต๊กเนื้อวัวคุณภาพดี เก็บเกี่ยวได้ภายในเวลาเพียง 3 สัปดาห์เท่านั้น

 

2. Finless Foods จากสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งโดย Michael Selden, Brian Wyrwas ผู้ผลิตเนื้อปลาแท้จากสเต็มเซลล์ ที่มีเทคโนโลยีเพิ่มจำนวนเซลล์สัตว์เลือดเย็น และปรับโครงสร้างเนื้อให้เหมือนสเต๊ก ผลิตภัณฑ์แรกที่บริษัทจะวางจำหน่าย คือเนื้อปลาทูน่าครีบน้ำเงิน และบริษัทตั้งเป้าไปที่การผลิตเนื้อปลาราคาแพงชนิดต่าง ๆ ถือเป็นบริษัทแรกที่เปิดตัวเนื้อจากการเพาะเซลล์ที่เป็นสัตว์เลือดเย็น

 

3. Higher Steaks จากสหราชอาณาจักร ก่อตั้งโดย Benjamina Bollag และ Dr Stephanie Wallis เป็นสตาร์ทอัพที่เน้นไปที่การเพาะเซลล์เนื้อหมูในสเกลขนาดใหญ่และราคาจับต้องได้ ซึ่งผู้ก่อตั้ง Benjamina Bollag เป็นวิศวกรเคมี ส่วน Dr. Stephanie Wallis เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูเซลล์ต้นกำเนิด โดยบริษัทตั้งเป้าที่จะวางขายผลิตภัณฑ์ภายในปี 2021

Plant Based Food

4. IntegriCulture จากญี่ปุ่น ก่อตั้งโดย Yuki Hanyu เป็นบริษัทที่ผลิตตับห่านจากเซลล์ตับไก่ ซึ่ง Yuki Hanyu สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดด้วยปริญญาเอกสาขาเคมี ได้เริ่มต้นเลียนแบบตับและหลอดเลือดด้วยถังและท่อ เป้าหมายหลักของบริษัทคือ เพาะเนื้อสัตว์ให้กับนักบินอวกาศขององค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA) ในปัจจุบันต้นทุนการเพาะตับห่านอยู่ที่กิโลกรัมละ 150-1,500 ปอนด์ บริษัทตั้งเป้าลดต้นทุนการผลิตให้เหลือเพียง 1.5ปอนด์ต่อกิโลกรัม และจะเริ่มจำหน่ายให้ตามร้านอาหารในปี 2021

 

5. Just (ชื่อเดิม Hampton Creek) จากสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งโดยJosh Balk และ Josh Tetrick ผู้ผลิตเนื้อสัตว์จากพืชชื่อดัง ที่มีผลิตภัณฑ์เรือธงอย่าง ไข่จากพืช บริษัทพึ่งเปิดตัวนักเก็ตไก่ที่มาจากการเพาะเซลล์ไก่ (in vitro meat) โดยส่วนหนัง, กลิ่น, รสชาติ เกิดจากเซลล์ขนไก่ ส่วนเนื้อทำจากถั่วเขียว เมื่อลงทอดในกะทะ นำมาชิม รสชาติ, กลิ่น, ความนุ่มของเนื้อ เหมือนกับนักเก็ตไก่ของแม็คโดนัลด์ 100% โดยจะวางขายตามร้านสะดวกซื้อในสหรัฐปีนี้

 

6. Meatable จากเนเธอร์แลนด์ ก่อตั้งโดย Krijn De Nood และ Daan Luining เป็นการเก็บเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด (Hematopoietic stem cells) จากเลือดสายสะดือของลูกวัว และใช้เทคโนโลยี Reprogramming เปลี่ยนเซลล์เหล่านั้นให้กลายไปเซลล์ต้นกำเนิด iPSCs เซลล์นี้จะสามารถเพิ่มจำนวนได้อย่างไม่จำกัด และหลังจากนั้น พวกเขาจะเหนี่ยวนำต่อให้ไปเป็นเซลล์ไขมันและกล้ามเนื้อ ถึงแม้ว่าการทำงานกับเซลล์ต้นกำเนิดชนิด iPSCs จะเป็นงานที่ละเอียดอ่อนและค่อนข้างยาก แต่เทคโนโลยีของ Meatable จะสามารถเปลี่ยนเซลล์ต้นกำเนิด iPSCs ให้เป็นเซลล์กล้ามเนื้อและไขมันได้ภายใน 5 วัน โดยบริษัทจะวางขายเนื้อวัวจากการเพาะเซลล์ในปี 2023

 

7. Memphis Meats จากสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งโดย Dr.Uma Valeti และNicholas Genovese บริษัทเพาะเซลล์เนื้อสัตว์ชื่อดัง ที่มีเจ้าของเป็นมหาเศรษฐีอย่าง Bill Gates, Richard Branson และ Kimbal Mus โดยบริษัทมีผลิตภัณฑ์หลากหลายที่มาจากเซลล์สัตว์ ทั้งไก่, วัว, เป็ด ซึ่งจะวางจำหน่ายในปี 2021

Plant Based Food

8. Mosa Meat จากเนเธอร์แลนด์ ก่อตั้งโดย Dr,Mark Postและ Peter Verstrate เป็นบริษัทผู้บุกเบิกการเพาะเซลเนื้อสัตว์กลุ่มแรก ๆ ที่สร้างความฮือฮาด้วยเบอร์เกอร์เนื้อวัวที่มาจากการเพาะเซลล์ ซึ่งเบอร์เกอร์เนื้อวัวจากการเพาะเซลล์ในปี 2013 นั้น มูลค่ามากถึง 280,000ดอลลาร์/ชิ้น แต่ในปี 2018 ต้นทุนเหลือเพียง 112 ดอลลาร์/ชิ้น ซึ่งบริษัทตั้งเป้าลดต้นทุนให้เหลือ 10 ดอลลาร์/ชิ้น ภายในปี2021 และตั้งเป้าวางจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อในปี2023

 

9. Shiok Meats จากสิงคโปร์ ก่อตั้งโดย Dr.Sandhya Sriram และ Dr.Ka Yi Ling เป็นบริษัทเพาะเซลล์เนื้อกุ้ง (Lab-grown meat) ได้เป็นเจ้าแรกในอาเซียน โดยเนื้อกุ้งที่มาจากการเพาะเซลล์ของบริษัทได้นำมาเป็นไส้ในขนมจีบ สำหรับต้นทุนการเพาะเนื้อกุ้งสำหรับเกี้ยว 8 ชิ้นอยู่ที่ 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ บริษัทตั้งเป้าที่จะขายเนื้อกุ้งจากการเพาะเซลล์ในปี 2022 นอกจากกุ้งแล้ว บริษัทยังมีเป้าหมายเพาะเซลล์ปูและล็อบสเตอร์อีกด้วย

 

10. SuperMeat จากอิสราเอล ก่อตั้งโดย Ido Savir, Koby Barak และ Shir Friedman สตาร์ทอัพที่ก่อตั้งในปี 2015 กำลังพัฒนาเนื้อไก่จากการเพาะเซลล์ด้วยสโลแกนอนุรักษ์ธรรมชาติ และดีต่อสุขภาพกว่าปศุสัตว์แบบดั้งเดิม อย่างเช่น ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า 25 เท่า ใช้พื้นที่น้อยกว่า 99%, ใช้น้ำน้อยกว่า 90%, ไม่ใช่ยาปฏิชีวินะ และไม่มีเชื้อ salmonella อีกด้วย

 

และในประเทศไทยที่มองเผินๆ เนื้อสัตว์ปลูกเหล่านี้อาจดูเป็นเรื่องไกลตัวและจับต้องได้ยาก แต่ในความเป็นจริงคนไทยอาจใกล้ชิดกับเนื้อสัตว์ปลูกนี้มากกว่าที่คิดก็เป็นได้ เพราะล่าสุค Sizzler, KFC และร้านอาหารอีกหลายร้านก็เริ่มมีแผนและนำเนื้อสัตว์ทางเลือกเข้ามาทำตลาดในไทยกันบ้างแล้ว

Plant Based Food

ประเดิมเจ้าแรกกับ‘ซิซซ์เล่อร์’ (Sizzler)ร้านสเต็กชื่อดังในเครือไมเนอร์ ฟู้ดส์ ที่อาศัยเทศกาลกินเจ เป็นฤกษ์เปิดตัวเบอร์เกอร์ และสเต็ก 4เมนูใหม่จาก Plant-Based Meat เพื่อลองตลาด แต่เราคาก็ถือว่าสูงเมื่อเทียบกับเมนูปกติ


ทางฝั่งของเคเอฟซี’ (KFC) ก็ได้จับมือกับ Beyond Meat หนึ่งในผู้ผลิต Plant-Based Meatรายใหญ่ เปิดตัวเมนู Beyond Fried Chicken ไก่ทอดที่ผลิตจากพืช 100% เริ่มประเดิมวางขายที่เมืองแอตแลนตาของสหรัฐอเมริกา และได้รับผลตอบรับที่ดีมาก แถมมีความเป็นไปได้สูงที่เมนูนี้จะได้เข้ามาวางจำหน่ายในไทยถ้ากระแสในต่างประเทศได้รับการตอบรับที่ดี

Plant Based Food

และไม่ใช่แค่เนื้อสัตว์ปลูกจากต่างประเทศที่ผ่านการนำเข้าของเชนร้านอาหารชื่อดังเท่านั้น เพราะล่าสุดสตาร์ทอัพไทย Meat Avatar แบรนด์เนื้อสัตว์ปลูกซึ่งเกิดขึ้นภายใต้การวิจัย และพัฒนาโดยใช้วัตถุดิบในประเทศ โดยสองผู้บริหารผู้ร่วมก่อตั้ง วิภู เลิศสุรพิบูล และ วรุตม์ จันทร์โพธิ์ ก็พร้อมจะจำหน่ายอย่างเป็นทางการในช่วงปลายปีนี้ โดยจะส่งผลิตภัณฑ์เนื้อบด และไข่ดาว ออกสู่ตลาดเป็นชุดแรก และจะทะยอยเปิดตัวในอีกหลายโปรดักซ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภค

ด้วยเหตุนี้ เห็นได้ชัดเจนว่า อาหารที่ทุกคนเคยคิดว่าจะไม่เกิดขึ้นในเร็ววันนี้แน่นอน ได้เข้ามาใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด และอีกไม่นานคนไทยจะได้ลิ้มลองอาหารหลากหลายเมนูจากเนื้อสัตว์ปลูกเหล่านี้แน่นอน

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: กฤษฎาพร วงศ์ชัย  (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่