ช้อปออนไลน์ข้ามประเทศ โอกาสที่ไร้พรมแดน

Pay Pal ผู้ให้บริการระบบชำระเงินออนไลน์แบบดิจิทัลระดับโลกรุกตลาดเมืองไทยรองรับและสนับสนุนการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ

ล่าสุดจับมือกับ อิปซอสส์ (iPsos)เปิดเผยผลงานวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคทั่วโลกปี 2016 ที่เป็นประโยชน์ให้แก่ผู้ประกอบการและผู้ค้าของไทยให้เข้าถึงโอกาสทางการค้าที่สำคัญในตลาดอีคอมเมิร์ซโลก

 
สมหวัง เหลืองไพบูลย์ศรี ผู้จัดการPayPal ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า เทรนด์การใช้จ่ายผ่านอุปกรณ์มือถือของคนไทยกำลังเป็นที่นิยม ทำให้การซื้อขายนั้นไร้พรมแดน ทำให้ช่องทางในการเติบโตนั้นมีอีกมากในการขยายธุรกิจไปสู่ตลาดโลกโดยปราศจากต้นทุนที่สูง ซึ่งผู้ประกอบการสามารถจะนำผลการวิจัยของ Pay Pal ไปต่อยอดและสร้างโอกาสใหม่ๆ ทางการตลาดได้

 
จากผลสำรวจกลุ่มผู้บริโภคราว 28,000 คนจาก 32 ประเทศพบว่ายอดใช้จ่ายออนไลน์ทั้งหมดของนักช้อปชาวไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นประมาณ 16 เปอร์เซ็นต์ จากปี 2559 หรือประมาณ 325.6 พันล้านบาท และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 376.8 พันล้านบาท ในปี 2560ขณะที่ยอดการช็อปออนไลน์ของไทยที่มาจากการซื้อของผ่านเว็บไซต์ภายในประเทศจะเพิ่มขึ้น 84% ในปี 2560 ซึ่งมาจากการซื้อสินค้าประมาณถึง 60.3 พันล้านบาท ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทยมีความกล้าที่จะซื้อและต้องการความสะดวกสบายในการใช้จ่าย

 
โดยในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาหมวดหมู่ของสินค้าที่ผู้บริโภคนิยมช็อปมาที่สุดคือสินค้าแฟชั่น อาทิ เสื้อผ้า รองเท้าและเครื่องประดับ ตามด้วยสินค้าหมวดการศึกษาและสื่อบันเทิง คาดว่าในอนาคตนักชอปชารวไทยจะหันมาใช้ช่องทางอีคอมเมิร์ซในชีวิตประจำวันมากขึ้น ทำให้สินค้า 3 ประเภทนี้มีแนวโน้มการซื้อขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ได้แก่ ของใช้ในครัวเรือน (เติบโต 24 เปอร์เซ็นต์) สินค้าบริโภค (เติบโต 20 เปอร์เซ็นต์) และสินค้าสำหรับเด็ก (เติบโต 18 เปอร์เซ็นต์)

 
นอกจากนี้จากการสำรวจยังพบว่าประเทศจีนและประเทศไทยเป็นมีจำนวนนักช้อปข้ามประเทศที่นิยมซื้อสินค้าผ่านอุปกรณ์มือถือมากที่สุด โดยคนไทยนิยมช็อปออนไลน์ข้ามประเทศผ่านสมาร์ทโฟนถึง 33 เปอร์เซ็นต์และอีก 13 เปอร์เซ็นต์ช้อปผ่านแท็บเล็ต

 
อย่างไรก็ตามผู้บริโภคที่ไม่เคยใช้จ่ายข้ามประเทศบางส่วนมีความกังวลว่าจะไม่ได้รับสินค้าตามที่สั่งถึง 44 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่นักช็อปที่ใช้จ่ายข้ามประเทศอยู่แล้วกังวลในเรื่องของ ค่าส่งของ (45เปอร์เซ็นต์) และการจ่ายค่าภาษีศุลกากร (44 เปอร์เซ็นต์)

 
ในปัจจุบันในการทำธุรกรรมการเงินผ่านเว็บไซต์หรือร้านค้าออนไลน์ต่างๆ ล้วนต้องกรอกข้อมูลบัตร ซึ่งผู้บริโภคไม่อาจรู้ได้เลยว่าร้านค้าที่กรอกข้อมูลไปนั้นจะเก็บข้อมูลทางการเงินของผู้ใช้บริการไว้หรือเปล่า ทำให้มีโอกาสสูงที่จะถูกโกงด้วยการนำบัตรไปใช้ หรือมีโอกาสที่อาจจะไม่ได้รับสินค้าที่ตรงสิ่งที่สั่งซื้อไป

 

 

ดังนั้นร้านค้าต้องเร่งหาช่องทางแก้ไขหรือลดความกังวลของผู้ซื้อในประเด็นดังกล่าว เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคมั่นใจและกระตุ้นการซื้อสินค้ามากขึ้น
ทั้งนี้ Pay Pal เองมีบริการเพื่ออำนวยความสะดวกในด้านของการคุ้มครองผู้บริโภค (Buyer Protection) การคุ้มครองผู้ขายจากการถูกหลอกลวง (Seller Protection) และการคืนเงินค่าจัดส่งสูงสุด 15 ดอลลาร์สหรัฐสำหรับสินค้าที่เข้าร่วมรายการ (Refund Retiurns) และอีกหนึ่งฟังก์ชันที่น่าสนใจคือ PayPal.me สามารถสร้างหน้าจ่ายเงินเป็นลิงก์สั้นและส่งผ่านทางแชทได้อย่างรวดเร็ว บริการ E-invoicing ใบเรียกเก็บเงินและกดจ่ายเงินได้ทันที และบริการ One touch เก็บข้อมูลในอุปกรณ์ที่ใช้เป็นประจำ

 
ก้าวต่อไปของการจับจ่ายออนไลน์ใน 12 เดือนข้างหน้าคาดว่าจำนวนการฃ้อปออนไลน์จะเปลี่ยนไปเนื่องจากการจ่ายเงินออนไลน์จะเพิ่มมากขึ้น (55 เปอร์เซ็นต์) และหากมองถึงปัจจัยในอนาคตที่สนับสนุนให้การใช้จ่ายออนไลน์เพิ่มขึ้น ความสะดวกสบายอย่างไม่ต้องสงสัย (82 เปอร์เซ็นต์) รองลงมาคือการจัดส่งสินค้าที่เร็วขึ้น (37 เปอร์เซ็นต์)

 
อย่างไรก็ดีแม้ในทุกวันนี้แม้ Pay Pal จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกรรมการเงินให้ชีวิตมีความสะดวกสบายมากขึ้นแต่ยังคงแพ้ให้กับเงินสด เป้าหมายสำคัญที่มองไว้คือที่Paypalคือต้องการให้คนที่ใช้เงินสดหันมาใช้เงินแบบดิจิทัลมากขึ้น เปลี่ยนพฤติกรรมคนให้เห็นคุณค่าและประโยชน์ของการทำธุรกรรมผ่านเกตเวย์ดิจิทัล ซึ่งอาจจะไม่ถึงขั้นลงโฆษณาใหญ่โตถึงขั้นให้คนเข้ามาใช้กันอย่างมากมาย

 
อนาคต Pay Pal เตรียมรุกตลาดท่องเที่ยว หลังได้ประกาศความร่วมมือกับโรงแรมและรีสอร์ท สายการบินและแพ็คเกจท่องเที่ยวและบริการต่างๆ นักท่องเที่ยวที่ต้องการจองห้องพักและตั๋วเครื่องบินผ่านเว็บไซต์และแอพพลิเคชันมือถือและสามารถทำการจองได้อย่างปลอดภัยและรวดเร็วยิ่งขึ้นโดยการชำระเงินผ่าน PayPal

 

ผู้เขียน:  ณิชกานต์ อุบล