okboomer-cover

OK Boomer โอกาสทางการค้า ในการโต้กลับของยุวชน

ถึงแม้เรากำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แต่มีหลายแบรนด์ที่ทำการตลาดแบบ Realtime Content จับสิ่งที่เป็นกระแสในโลกออนไลน์มาเล่นโดยที่ไม่สนใจแรงกระเพื่อมที่อาจเกิดขึ้น เช่น กระแสวลี “OK, Boomer” เป็นวลีเหยียดของเหล่า Gen-Z ที่มีต่อ Gen-B ให้หยุดเพิกเฉยต่อความกังวลของคนรุ่นใหม่ หรือให้หยุดถากถางคนรุ่นใหม่ด้วยแนวคิดที่โบราณคร่ำครึเสียที

ก่อนที่เราจะไปรู้จัก “OK, Boomer” เราต้องรู้ก่อนว่า Boomer คือคำย่อของ Baby Boomers เป็นการเรียกกลุ่มวัยกลางคน จนถึงคนชรา ที่มาจากการแบ่งกลุ่มประชากรตามช่วงอายุ (Generation) ดังนี้

population ok boomer

กลุ่ม Baby Boomers หรือ Gen-B (Baby Boomer Generation) คือคนที่เกิดในช่วง .. 2489-2507 ยุคสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 อยู่ในช่วงอายุ อายุ 55 – 73 ปี คนในยุคนั้นมีค่านิยมที่จะต้องมีลูกหลาย คน เพื่อสร้างแรงงานขึ้นมาพัฒนาประเทศชาติ จึงเป็นที่มาของคำว่า “Baby Boomers” นั่นเอง คนกลุ่มนี้มักมีแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยม

กลุ่ม Gen-X (Generation X) คือ คนที่เกิดในช่วง .. 2508-2522 เท่ากับมีช่วงอายุในระหว่าง 40 – 54 ปี

กลุ่ม Gen-Y  (Generation Y) หรือเรียกอีกอย่างว่า Millennials คือคนที่เกิดในช่วง พ.ศ. 2523-2540 ซึ่งจะเติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีดิจิตัล มีอายุ ระหว่าง 22 – 39 ปี

กลุ่ม Gen-Z (Generation Z) คือคนที่เกิดใน .. 2541-2552 ซึ่งปัจจุบันถือเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่อยู่ในวัยเด็กและวัยรุ่นอายุ 10 – 21 ปี เกิดมาพร้อมกับสังคมดิจิทัลที่ทันสมัย และมีความเป็นตัวของตัวเองสูง จึงมักถูกมองว่ามีความอดทนต่ำ

 

ต้นกำเนิด Ok,Boomer

วลี “OK, Boomer” นี้เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อ 3 กันยายน 2558 โดยบุคคลนิรนามในเว็บบอร์ด 4chan ดินแดนรวมเหล่าผู้ที่พระเจ้าทอดทิ้ง ต่อมาช่วงเมษายน 2561 ก็เริ่มแพร่หลายในทวิตเตอร์ ที่ชาวทวิตGen-Z จะใช้เมื่อพูดถึงเรื่องการเมืองว่าพวกหัวโบราณ กลับไปใช้คอมให้เป็นก่อน

จนกระทั่งดังระเบิดในเดือนตุลาคม 2562 จากแอปพลิเคชั่น TikTok ที่ชาว Gen-Z นิยมอัดและแชร์คลิปลงไปกัน คลิปที่เป็นกระแสมากที่สุด คือคลิปที่แบ่งภาพเป็น 2 ฝ่ายระหว่างชายชราและวัยรุ่น ขณะที่ชายชราบ่นถึงคน Gen-Y และ Gen-Z ว่าเป็นพวกเด็กไม่รู้จักโต มีอาการทางจิตแบบปีเตอร์แพนซินโดรม แม้จะโดนบ่นอยู่นาน แต่ฝั่งวัยรุ่นไม่ได้พูดโต้ตอบไป จนตอนท้ายวัยรุ่นเพียงเขียนคำว่า “OK, Boomer”  ให้ผู้ชมดูเท่านั้น

หลังจากนั้นชาว Gen-Z ก็กระจ่างพร้อมกัน และพากันใช้วลีนี้รัว ในทุกเว็บไซต์ จนเป็นที่รู้จักทั่วสหรัฐและขยายไปยังประเทศอื่น ทั่วโลก

 

Chlöe Swarbrick เจ้าแม่ “OK, Boomer”

ชาวเน็ตได้ยกตำแหน่ง ราชินีแห่งมีม OK, Boomer ให้กับ Chlöe Swarbrick นักการเมืองสาววัย 25 ปี ที่พูดประโยคนี้ในโลกแห่งความจริง เธอพูดคำนี้ต่อ Todd Muller นักการเมืองอาวุโสในการประชุมรัฐสภาประเทศนิวซีแลนด์ เมื่อเขามาขัดเธอตอนกำลังให้ความเห็นสนับสนุนเรื่อง Zero Carbon ให้ผ่านร่างกฎหมาย

ซึ่งเป็นการสื่อทางอ้อมว่าคนยุค Gen-B คือตัวการใหญ่ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ แต่มาไม่พอใจเมื่อฉันพูดถึงประเด็นนี้ เพราะงั้น.. “โอเคจ้า พวกไดโนเสาร์!!”

 

โอกาสทางการค้า ในวลี OK, Boomer

เพียงวลีสั้น แต่ได้ใจความ!! แม้ตอนนี้ Gen-Y จะเป็นกำลังซื้อใหญ่ที่สุด รองลงมาคือ Gen-B เนื่องจาก Gen-Z ยังไม่มีอำนาจใช้จ่ายด้วยตัวเอง แต่ Gen-Z เป็นกลุ่มประชากรที่จะกลายเป็นกำลังซื้อสำคัญ เป็นผู้กำหนดทิศทางตลาดสินค้าและบริการในอนาคต เพราะเป็นกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ที่สุดในโลก ทำให้นักธุรกิจมากมายที่เห็นโอกาสทางการค้าจากกระแสนี้ และทำเนื้อหาเอาใจ Gen-Z

ok boomer shirt

เช่น Shannon O’Connor สาววัย 19 ปี ขายเสื้อที่สกรีนคำว่า OK, Boomer ได้มากถึง 25,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 7 แสนบาท)

 

ในขณะที่แบรนด์ใหญ่ ก็ลงมาเล่นประเด็นนี้ด้วย 

 

Disney

Abigail Disney หลานสาวอายุ 59 ปีของ Roy O. Disney ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท Walt Disney Company ออกมาสนับสนุนความคิดของคนรุ่นใหม่และตำหนิเพื่อนร่วม Gen-B ว่า ชั้นขอพูดถึงเรื่อง OK, Boomer หน่อยนะเป็นอะไรไปชาวเบบี้บูม คุณถูกกระตุ้นง่ายแบบนี้ตั้งแต่เมื่อไหร่ หันมาเผชิญหน้ากับความจริงได้แล้ว โลกมันหมุนเร็วแต่คุณไม่ใช่ คุณแก่แล้ว และความเกี่ยวข้องของคุณก็น้อยลงทุกที ยิ่งคุณคัดค้านความไม่พอใจของคนรุ่นใหม่ที่มีต่อคนรุ่นเก่าที่วางยาในน้ำของพวกเขา ก็เป็นข้อพิสูจน์แล้วว่าพวกคุณไม่เข้าใจคุณค่าของมันเลย ทั้งที่คุณพร่ำสอนให้พวกเขารักสิ่งเหล่านั้น ลองนั่งลงแล้วปล่อยให้เด็กเป็นผู้ขับเคลื่อนดูก็ดีนะ

 

 
 
 
 
 
View this post on Instagram
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ok boomer

A post shared by Netflix US (@netflix) on

Netflix

ถึงแม้จะมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เป็นชายและหญิงที่มีอายุระหว่าง 17-60 ปี แต่บริษัทสตรีมมิ่งนี้ก็ใช้ OK, Boomer ในการเล่นมุกล้อเลียนเป็นมีมจากซีรีส์เรื่อง Sam and Cat

 

Four loko

แบรนด์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์รสหวาน ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ก็ใช้วลี OK, Boomer ในการเปิดตัวเครื่องดื่มรสชาติใหม่ Bud Light Seltzer ที่ออกมาชนกับแบรนด์ที่มีมานานอย่าง White Claw

 

Indiana Pacers

ทีมบาสเก็ตบอสแห่งรัฐอินดีแอนา สหรัฐอเมริกา ได้โพสต์รูปมาสคอตของทีม ชูป้ายว่าฉันไม่ได้ยินแกหรอกพร้อมแคปชั่น OK, Boomer เพื่อล้อเลียนว่ากลุ่มGen-B ไม่เคยรับฟังใด

 

Vice

นิตยสารชั้นนำของแคนาดา โพสต์ OK, Boomer ต่อบทความที่พิสูจน์ว่าสิ่งที่ Dr.Phil นายแพทย์ Gen-B ผู้บอกว่าการเสพกัญชาทำให้ก้าวราวและมี IQ ต่ำลง นั้นไม่เป็นความจริง

 

okboomertrademark

นอกจากนี้ยังมีคนยื่นคำขอกับสำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าของสหรัฐอเมริกาในวันที่ 31 ตุลาคมเพื่อลงทะเบียนเครื่องหมายการค้า “OK BOOMER” เพื่อใช้เป็นสโลแกนกับเสื้อผ้า รองเท้าและ อุปกรณ์กีฬาแล้ว แต่การอนุมัติจะกินเวลาหลายปี ทำให้ตอนนี้ทุกคนยังสามารถใช้คำว่า OK, Boomer ได้อยู่

 

จะเห็นว่ามีหลายธุรกิจที่จับกระแสการตลาดในโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะด้วยความต้องการเข้าถึงกลุ่มตลาดใหม่ หรือเพียงอยากสร้างพื้นที่ในการโฆษณาให้ตนเอง แต่ทุกกลยุทธ์ก็ได้รับความสนใจจากชาวเน็ตสมใจปรารถนา ส่วนประเทศไทยไม่มีบริษัทใดยกประเด็นนี้มาเล่นเลย

สำหรับมีม OK, Boomer เป็นเพียงจุดเริ่มต้นการต่อสู้ของแต่ละช่วงอายุเท่านั้น ในอนาคตอาจจะมี #SaveBoomer ออกมาต้านกระแสนี้ก็เป็นได้

 

อ้างอิง : สิทธิบัตรอเมริกา , Abigail Disney , สัดส่วนประชากรโลก

 

Business Plus